รัฐบาลสหรัฐอเมริกา หลังจากที่ได้จัดตั้งกลุ่ม “อาหรับนาโต้” ก็ได้เปิดเผยเป้าหมายดังกล่าว นั่นคือ การต่อต้านอิหร่าน และกำจัดการขยายอิทธิพลของอิหร่าน ในตะวันออกกลาง แต่เมื่อพิจารณาให้ละเอียดมากกว่านี้ จะเห็นได้ว่า การรีดเงินของอเมริกาจากรัฐบาลชาติอาหรับนั้นถือเป็นเป้าหมายหลักของรัฐบาลทรัมป์
ล่าสุดเจ้าหน้าที่ชาติอาหรับและอเมริกาเปิดเผยว่า สหรัฐฯ กำลังใช้ความพยายามอย่างเงียบๆ ในการดึง 6 รัฐอ่าวอาหรับ รวมถึงอียิปต์และจอร์แดน ให้ร่วมกันเป็นกลุ่มพันธมิตรต่อต้านการขยายอิทธิพลของอิหร่านในตะวันออกกลาง
ทำเนียบขาวระบุว่า แผนกระชับความร่วมมือกับกลุ่มประเทศเหล่านี้ เป็นไปเพื่อสนับสนุนในด้านการป้องกันขีปนาวุธ การฝึกยุทธวิธี และงานต่อต้านก่อการร้าย รวมถึงยกระดับความสัมพันธ์ทั้งในด้านเศรษฐกิจและการทูต
สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานเมื่อปลายเดือนกรกฎาคม กรณีที่สหรัฐอเมริกามีการจัดตั้งกลุ่ม “อาหรับนาโต้” เพื่อกำจัดการขยายอิทธิพลของอิหร่าน ในตะวันออกกลาง
กลุ่มพันธมิตร ซึ่งเจ้าหน้าที่ทำเนียบขาวและตะวันออกกลางให้ฉายาว่า ‘อาหรับนาโต้’ นั้นจะยิ่งกระพือความเป็นศัตรูระหว่างสหรัฐฯ และอิหร่าน หลังจากที่ความสัมพันธ์ย่ำแย่ลงมากในยุคของทรัมป์
แหล่งข่าวระบุว่า สหรัฐฯ เตรียมหยิบยกเรื่องการตั้งกลุ่มพันธมิตรทางยุทธศาสตร์ตะวันออกกลาง (Middle East Strategic Alliance – MESA) ขึ้นมาหารือระหว่างการประชุมซัมมิตที่วอชิงตันในวันที่ 12-13 ต.ค. นี้
ทำเนียบขาวยืนยันว่า รัฐบาลสหรัฐฯ ได้หารือกับหุ้นส่วนในตะวันออกกลางเพื่อกำหนดแนวทางของกลุ่มพันธมิตรมานานหลายเดือนแล้ว
หากไม่คำนึงถึงเป้าหมายของทำเนียบขาวที่ได้ประกาศในบริบทของ “โรคกลัวอิหร่าน” แล้ว ดูเหมือนว่าหนึ่งในเป้าหมายที่สำคัญที่สุดของสหรัฐฯสำหรับแผนการอาหรับ – นาโต้คือการรีดเงินจากกระเป๋าของชาติอาหรับ
สหรัฐฯ ซาอุดีอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กล่าวหาอิหร่านว่าเป็นตัวการบ่อนทำลายความมั่นคงของภูมิภาค สนับสนุนกลุ่มติดอาวุธให้ทำสงครามตัวแทนในประเทศเพื่อนบ้าน และยังข่มขู่อิสราเอลมากขึ้นเรื่อยๆ
แม้จะยังไม่ชัดเจนว่ากลุ่มพันธมิตรมีแนวทางตอบโต้อิหร่านอย่างไรบ้าง แต่สหรัฐฯ และประเทศมุสลิมในตะวันออกกลางต่างมีผลประโยชน์ร่วมกันในสงครามเยเมนและซีเรีย และต้องการปกป้องเส้นทางเดินเรือในอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งใช้ในการขนส่งน้ำมันส่วนใหญ่ออกสู่ตลาดโลก
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาและโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหลายปีที่ผ่านมาตั้งแต่ที่ทรัมป์ขึ้นเป็นประธานาธิบดีของ สหรัฐอเมริกาก็ได้มีการรีดเงินจากประเทศเหล่านี้มากขึ้นเรื่อย ๆ และนับหลายต่อหลายครั้ง โดยการใช้ข้ออ้างสโลแกน “โรคกลัวอิหร่าน” ได้เซ็นสัญญาเป็นจำนวนหลายพันล้านดอลลาร์กับประเทศอาหรับเพื่อขายอาวุธและอุปกรณ์เครื่องมือทางทหาร ครั้งล่าสุดคือ ทรัปม์ได้เซ็นสัญญากับซาอุดีอาระเบียมูลค่า 460 พันล้านเหรียญ โดยมีมูลค่าการซื้อขายอาวุธมูลค่า 110 พันล้านเหรียญซึ่งเป็นสัญญาที่แพงที่สุดในประวัติศาสตร์
ทั้งนี้ไม่ควรลืมคำพูดของทรัมป์ที่กล่าวในระหว่างการเยือนทำเนียบขาวของ Mohammad bin Salman มกุฎราชกุมารแห่งซาอุฯ เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ว่า: “ซาอุดิอาระเบียเป็นประเทศที่ร่ำรวยมาก และทำให้ประเทศของเรามีความหวังสำหรับการขายอาวุธและอุปกรณ์ทางทหาร”
อีกด้านหนึ่ง เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา นายทรัมป์กล่าวว่า “ประเทศในตะวันออกกลาง หากไม่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯจะไม่สามารถอยู่ได้แม้แต่หนึ่งสัปดาห์” และประเทศของตนในช่วง 18 ปีที่ผ่านมาได้ใช้จ่ายงบประมาน 7,000 ล้านล้านดอลลาร์ในตะวันออกกลางและประเทศที่ร่ำรวย(ชาติอาหรับ)ต้องเสียค่าใช้จ่ายเหล่านี้
กาตาร์ได้ลงนามบันทึกมูลค่า 12 พันล้านดอลลาร์กับสหรัฐฯ ในบริบทของวิกฤติสภาความร่วมมือชาติอาหรับซึ่งเป็นวิกฤตการณ์ที่อเมริกันวางแผนมาก่อน เพื่อทรัมป์สามารถที่จะรีดเงินจากยูเออีและประเทศอาหรับอื่น ๆของสมาชิก GCC เพื่อรับค่างวดในการสนับสนุนของพวกเขาจากประเทศเหล่านี้ ที่กลัวภัยคุกคามจากอิหร่าน ซึ่งเป็นสิ่งที่อุปโลกน์ขึ้นมา
การตัดสินใจของอเมริกาในรูปแบบการจัดตั้ง “อาหรับนาโต้” ในความเป็นจริงแล้วเกิดขึ้นหลังจากความล้มเหลวของรัฐบาลทรัมป์ในการ “โดดเดียวอิหร่าน” และการถอนตัวออกจากข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่านที่ลงนามระหว่างอิหร่านกับหกประเทศมหาอำนาจโลก และการคุกคามของทรัมป์ในการห้ามอิหร่านส่งออกน้ำมัน และการตอบสนองของอิหร่านต่อการคุกคามเหล่านี้คือสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความล้มเหลวของอเมริกาในการโดดเดียวอิหร่าน
Source: fa.alalam.ir