ย้อนรอยสัมพันธ์มาเลเซีย –ซาอุฯ  หลัง“นายิบ ราซัก” เยือนริยาด 5 วัน!

331

เมื่อวานนี้ (อังคารที่ 9 มกราคม 61)  นายิบ ตน ราซัก นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เดินทางถึงซาอุดิอาระเบียเป็นที่เรียบร้อยแล้วในการเยือนริยาด 5 วัน

นายิบ ตน ราซัก ได้โพสต์ข้อความบนทวีตเตอร์ของตนเอง ว่า  ได้เดินทางถึงซาอุดิอาระเบียแล้ว ในการปฏิบัติภารกิจ 5 วัน  และได้รับการต้อนรับจากเจ้าชายฟัยซอล บันดาร์ซาอูด เจ้าเมืองริยาด

ตามแถลงการณ์ของกระทรวงต่างประเทศมาเลเซีย ระบุว่า  การเยือนริยาดของ นายิบ ราซัก ครั้งนี้เป็นไปตามคำเชิญของกษัตริย์ซัลมาน แห่งซาอุดิอาระเบีย ซึ่งจะสิ้นสุดการเยือนในวันที่ 12 มกราคม 2561 และในการเยือนครั้งนี้มีนักการเมืองและการทหารจำนวนหนึ่งร่วมติดตามไปด้วย

นายกรัฐมนตรีมาเลเซียจะพบกับกษัตริย์ซัลมานและเจ้าชาย โมฮัมมัด บิน ซัลมาน พูดคุยประเด็นทวิภาคี  ภูมิภาคและระหว่างประเทศ

เมื่อปีที่ผ่านมานายกรัฐมนตรี นายิบ ตน ราซัก ซึ่งเป็นผู้นำคนที่ 6 ของประเทศมาเลเซียได้กล่าว ในการพบปะกับกษัตริย์ซัลมานแห่งซาอุฯที่ได้มาเยือนมาเลเซียว่า ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของเขากับซาอุดีอาระเบียอยู่ในระดับสูงสุด

กษัตริย์ซัลมานแห่งซาอุดิอาระเบียได้เยือนมาเลเซียอย่างเป็นทางการ เมื่อปีที่ผ่านมาพร้อมคณะมากกว่า 600 คน  ตามคำเชิญของสุลต่านโมฮัมเหม็ด ที่5 กษัตริย์แห่งมาเลเซีย  ซึ่งถือว่า เขาเป็นกษัตริย์คนแรกของซาอุดีอาระเบียที่ได้เยือนมาเลเซียในรอบ 10 ปี

มาเลเซียเริ่มมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับซาอุดิอาระเบียในทศวรรษที่ 1960 หลังจากที่ได้รับอิสรภาพจากลัทธิล่าอาณานิคมของอังกฤษในปี 1957

ในปี 1961  ซาอุดิอาระเบียและมาเลเซียได้ริเริ่มเปิดสถานทูตในกรุงกัวลาลัมเปอร์และเจดดาห์ และความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศได้เริ่มขึ้นในยุคสมัยของ ตนกู อับดุล เราะฮ์มาน นายกรัฐมนตรีคนแรกของมาเลเซีย

ถัดจากนั้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้การบริหารของอับดุลลาห์ อาหมัด บาดาวี นายกรัฐมนตรีคนที่ 5 ของมาเลเซียและนายกรัฐมนตรี นายิบ ตน ราซัก ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับซาอุดิอาระเบียเริ่มเข้าสู่ทิศทางที่ดีขึ้นตามลำดับ

รายงานจากสื่อของซาอุดิอาระเบียว่า มาเลเซียเป็นประเทศคู่ค้าอันดับสองของซาอุดิอาระเบียในตะวันออกกลาง ปริมาณการค้าระหว่างสองประเทศในปี 2014 เทียบกับสองปีก่อนหน้า เพิ่มขึ้น 12.4%  หรือเพิ่มขึ้นเป็น 3 พันล้านเหรียญ ซาอุดิอาระเบียได้กลายเป็นหนึ่งในพันธมิตรทางธุรกิจที่ 19 ของมาเลเซีย ซึ่งเป็นปลายทางการส่งออก 21 แห่งแรกและเป็นแหล่งนำเข้าที่ 16 ของประเทศ

ประมาณร้อยละ 60 ของการส่งออกของมาเลเซียคือน้ำมันปาล์มและผลิตภัณฑ์จากวัตถุดิบนี้  เครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์และอาหารก็เป็นสินค้าส่งออกอื่น ๆ ของประเทศนี้

ซาอุดิอาระเบีย เป็นหนึ่งในผู้นำเข้าอาหารฮาลาลของมาเลเซีย ในทางตรงกันข้าม มาเลเซียมีหุ้นส่วนในกิจกรรมด้านสาธารณูปโภคหลายอย่างในซาอุดิอาระเบียในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

การจัดตั้งธนาคารอิสลามที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่ง “อัล – ราจิฮี”  ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากการเยือนมาเลเซียของกษัตริย์อับดุลเลาะห์บิน อับดุลอาซิสแห่งซาอุดิอาระเบีย ในปี 2006   ซึ่งมีบทบาทสำคัญในความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างสองประเทศ ส่งผลทำให้ปัจจุบันธนาคารนี้มีสาขามากกว่า 24 สาขาทั่วประเทศในมาเลเซีย

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา บริษัทของมาเลเซียมีบทบาทมากขึ้นในซาอุดิอาระเบีย เช่น โครงการไฟฟ้าและน้ำมุสตะกีลชุอิบ  ในมหาลับอัลฟัยซอล (Al-Faisal University )กรุงริยาด   มหาวิทยาลัย Abdullah University of Science and Technology ในเขตพื้นที่ “ Thole” ชานเมืองมักกะฮ์  นอกจากนี้ยังมี สะพานญามารอต(ขว้างเสาหิน) และการก่อสร้างหอคอยกษัตริย์  ในริยาดซึ่งเป็นโครงการที่มาเลเซียเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง

ความสัมพันธ์ระหว่างกัวลาลัมเปอร์ – ริยาดแสดงให้เห็นว่า ซาอุดีอาระเบียได้ริเริ่มความสัมพันธ์เหล่านี้เป็นหลัก และพยายามที่จะเข้าไปมีบทบาทในหลาย ๆ ด้านโดยการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่มาเลเซีย

ซาอุดิอาระเบียให้การช่วยเหลือทางการเงินแก่มาเลเซียอย่างเต็มที่ ในการเริ่มต้นแผนพัฒนาเศรษฐกิจ 5 ปี (1976-1980) ในโครงการแผนพัฒนาที่สาม  และนายต่วน ราซัก  บิดาของนายิบ ราซัก  ซึ่งสมัยที่ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีมาเลเซียสามารถระดมทุนและกู้ยืมจากซาอุดิอาระเบียเพื่อสร้างโครงการได้มากถึง 200 ล้านเหรียญ เช่นโครงการสร้างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีและคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยแห่งชาติมาเลเซีย

เงินบริจาคของซาอุดิอาระเบียได้ให้กับ นายิบ ราซัก เมื่อสองปีก่อนเป็นเรื่องที่ฮือฮาและพูดคุยกันอย่างมากในประเทศ

ในความเป็นจริงแล้ว การบริจาคของซาอุดิอาระเบียในการสนับสนุนกิจกรรมทางศาสนาและสถาบันในประเทศมาเลเซียเป็นหัวใจสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างกัวลาลัมเปอร์ – ริยาด ซาอุฯยังมอบเงินบริจาคให้กับ Perkim (องค์การสวัสดิการของชาวมุสลิมมาเลเซีย) รวมทั้งเงินทุนสำหรับการก่อตั้งมหาวิทยาลัยอิสลามระหว่างประเทศมาเลเซีย (IIUM) ในปี 1983 

มหาวิทยาลัยดังกล่าวอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการมูลนิธิ ซึ่งเป็นตัวแทนจากองค์การความร่วมมืออิสลามและ8 รัฐบาลที่ให้การสนับสนุนมหาวิทยาลัยแห่งนี้  ได้แก่ มาเลเซีย ซาอุดีอาระเบีย ตุรกี ปากีสถาน อียิปต์ ลิเบีย บังคลาเทศและมัลดีฟส์ ซึ่งเมื่อปีที่ผ่านมาได้มอบปริญญาเอกกิตติมศักดิ์ให้กับกษัตริย์ซัลมานแห่งซาอุดิอาระเบีย

Source: irna.ir