ความต้องการด้านอาวุธของฟิลิปปินส์และสนามการแข่งขันทางทหารระหว่าง จีน รัสเซียและอเมริกา

252

นโยบายของรัฐบาลฟิลิปปินส์ในปัจจุบันเกี่ยวกับการค้ายาเสพติด การเคลื่อนไหวของผู้ก่อการร้ายในภาคใต้และวิกฤติในเมืองมาราวี ‘Maravi’ และความต้องการใช้อุปกรณ์ทางทหารของกรุงมะนิลาที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ประเทศนี้ได้กลายเป็นสมรภูมิทางทหารของจีน รัสเซียและสหรัฐอเมริกาไปแล้ว

ในเดือนมิถุนายนทางสหรัฐอเมริกาได้มอบอาวุธยุทโธปกรณ์ชิ้นใหม่ให้กับฟิลิปปินส์เพื่อใช้ในการปฏิบัติการในพื้นที่มินดาเนา โดยเฉพาะสำหรับวิกฤตการณ์เมืองมาราวี ( Maravi)

สหรัฐอเมริกา ในการให้ความช่วยเหลือทางทหารของตนให้กับฟิลิปปินส์ ได้ส่งอาวุธปืนไรเฟิล “M4 Carabiner” 300 กระบอก ซึ่งถือเป็นอาวุธหลักของกองทัพสหรัฐฯ  ปืน Golak 21  200  กระบอก   ปืนกล M134D 4 กระบอกที่สามารถยิงกระสุนได้อย่างน้อย 2-600 กระสุนต่อนาทีและระเบิด M203 หนึ่งร้อยลูก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการที่สหรัฐฯช่วยเหลือกองทัพฟิลิปปินส์ในการปราบปรามการก่อการร้ายในประเทศนี้

ในช่วงห้าปีที่ผ่านมา สหรัฐอเมริกาได้ใช้จ่ายงบประมาณสำหรับกรณีดังกล่าวเกือบกว่า 800 ล้านดอลลาร์ รวมการสนับสนุนทางการเงินและการฝึกอบรมช่วยเหลือทางทหารแก่กองทัพฟิลิปปินส์ และในเดือนมิถุนายนปีนี้ ยังได้ส่งยานพาหนะทางทหารจำนวน 25 คันไปยังรัสเซียในความพยายามที่ละทิ้งคู่แข่งขันอย่างจีนและรัสเซีย

ความปรารถนาที่จะขายอาวุธและอุปกรณ์ที่ไม่เคยลดน้อยลงของสหรัฐอเมริกานั้น ในบางครั้งกระทำผ่านการใช้ข้ออ้างที่เป็นเท็จ และข้ออ้างเรื่องการปกป้องสิทธิมนุษยชนลวงโลกต่อเจ้าหน้าที่ฟิลิปปินส์ ส่งผลทำให้เกิดแรงกดดันที่เป็นลบกับสหรัฐฯเอง อย่างเช่น ข้อห้ามขายอาวุธให้กับประเทศนี้ หรือยกเลิกพันธมิตรทางทหารเป็นระยะเวลาหนึ่ง ตัวอย่างนี้สามารถเห็นได้จากการหยุดการค้าขายปืนไรเฟิล 27,000 กระบอกของสหรัฐอเมริกาไปยังฟิลิปปินส์ในปีที่ผ่านมาซึ่งทำให้โรดรีโก ดูแตร์เต ( Rodrigo Dutreto )ยุติความร่วมมือกับสหรัฐฯและหันไปสร้างมิตรภาพกับกรุงมอสโกและกรุงปักกิ่งแทน

โรดรีโก ดูแตร์เตในระหว่างการเยือนรัสเซียของเขา ได้เรียกร้องให้วลาดีเมียร์ ปูติน ( Vladimir Putin )ให้ความช่วยเหลือทางทหารและมอบเงินกู้แก่พวกเขา

ที่จริงแล้วรัฐบาล โรดรีโก ดูแตร์เตถูกวิพากษ์วิจารณ์ในเดือนสุดท้ายของตำแหน่งประธานาธิบดีของ “Barack Obama” ในประเด็นการสังหารผู้ค้ายาเสพติดที่อยู่นอกเหนือกฎหมาย และในเรื่องนี้เองทำให้กรุงมะนิลาสามารถยืนหยัดต่อสู้กับวอชิงตันและแสดงท่าทีโน้มเอียงไปยังปักกิ่งและมอสโก

หลังจากที่ โดนัลด์ ทรัมป์ ขึ้นมาเป็นประธานาธิบดี และจากการเสริมสร้างความเข้มแข็งของกิจกรรมการก่อการร้ายในฟิลิปปินส์ โดยเฉพาะปัญหาวิกฤติเมืองมาราวี   โรดรีโก ดูแตร์เต ได้เปลี่ยนจุดยืนอย่างเห็นได้ชัดในนโยบายต่างประเทศของเขา และแสดงให้เห็นว่า มีแนวโน้มที่จะหันหน้าใกล้ชิดกับวอชิงตันเหมือนเดิมอีกครั้ง

อีกด้านหนึ่งปริมาณการค้าระหว่างฟิลิปปินส์และรัสเซีย เมื่อปีที่แล้วอยู่ที่ 422 พันล้านดอลลาร์ ในปี 2015 ฟิลิปปินส์ยังเป็นพันธมิตรทางธุรกิจลำดับที่ 31 ของรัสเซีย เนื่องจากเป็นปลายทางการส่งออกที่ 44 และเป็นแหล่งนำเข้าของรัสเซียที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 27

รัสเซียยังคงพยายามที่จะเข้าไปมีบทบาทในฟิลิปปินส์  ในวันนี้นอกเหนือจากรถบรรทุกทหาร ยังมอบอาวุธปืนไรเฟิลห้าพันกระบอกให้กับฟิลิปปินส์

ในทางด้านจีน ได้ส่งมอบอาวุธที่ใช้สำหรับจู่โจม 3,000 กระบอกและปืนไรเฟิล 100 ลำ ให้กับฟิลิปปินส์ในเดือนมิถุนายนปีนี้  อีกทั้งได้ส่งปืน 3,000 กระบอกมูลค่า 3,300,000 เหรียญไปให้ฟิลิปปินส์ เมื่อต้นเดือนที่แล้วในการส่งมอบครั้งที่สอง

แม้ว่ารายงานบางฉบับจะชี้ให้เห็นว่า การดำเนินการครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อทำให้ฟิลิปปินส์ใกล้ชิดกับรัสเซียและจีนและออกห่างจากสหรัฐฯ  แต่การประกาศการปรากฏตัวของกองกำลังพิเศษของสหรัฐฯในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้แสดงให้เห็นว่า ขณะนี้ฟิลิปปินส์กลายเป็นจุดสนใจหลักของการแข่งขันทางทหารระหว่างสหรัฐฯ รัสเซียและจีน

สิ่งที่เกิดขึ้นในนโยบายการต่างประเทศของฟิลิปปินส์จนถึงขณะนี้ ทำให้เกิดคำถามกับมหาอำนาจของทั้งสามประเทศนี้ว่า ทั้งสามประเทศนี้จะมีส่วนได้ประโยชน์กับฟิลิปปินส์มากน้อยแค่ไหน ซึ่งเป็นคำถามที่ยากมากต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองสำหรับโรดรีโก ดูแตร์เต ที่จะตอบคำถามนี้….!

Source: irna.ir