ในช่วงสิบห้าปีที่ผ่านมาระบอบปกครองอิสราเอล หรือ ยิวไซออนิสต์ ได้ผนวกรวมดินแดนปาเลสไตน์ขึ้นอีกครั้ง โดยยึดพื้นที่กว้างใหญ่ของฝั่งตะวันตกเข้ากับพื้นที่ที่ถูกยึดครอง
ในปี 2002 ระบอบอิสราเอล ภายใต้ข้ออ้างในการป้องกันการปฏิบัติการพลีชีพของชาวปาเลสไตน์ ได้เริ่มการก่อสร้างกำแพงและผนังแยกระหว่างฝั่งตะวันตก และยึดครองดินแดนในปี 1948 ตามเส้นทางที่เรียกว่า “สายสีเขียว”
ตามที่สื่อของอิสราเอลออกมายอมรับ กำแพงการแบ่งแยกเชื้อชาติมีประตูทหารมากถึง 35 แห่ง เป็นเหตุทำให้เกษตรกรชาวปาเลสไตน์ไม่สามารถเข้าถึงทุ่งนา และพื้นที่เพาะปลูกได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเกษตรกรเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับอนุญาตจากกรมทหารระบอบอิสราเอล เพื่อให้สามารถเข้าไปยังที่ดินเกษตรกรรมของตนได้ ไม่ว่าจะเป็นเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมงก็ตาม โดยจะมีจุดตรวจ 32 จุดและประตูเหล่านี้เรียกว่า ทางผ่าน
TV2 ของอิสราเอลอ้างจากธนาคารโลกว่า ที่ดินทางการเกษตรที่อยู่ด้านหลังกำแพงกั้นในฝั่งดินแดนที่คงเหลืออยู่ มีผลผลิตทางการเกษตรกรรมของชาวปาเลสไตน์เพียง 8% เท่านั้น
โมฮัมหมัด ฮาดียา ที่ปรึกษากฎหมายเพื่อเจรจาต่อรอง ในการสนทนากับสำนักข่าว IRNA กล่าวว่า” 80 เปอร์เซ็นต์ของกำแพงกั้น ส่วนใหญ่สร้างขึ้นในดินแดนที่มีการครอบครองหลังจากปี 1967 และสิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์อันฉ้อโกงที่แท้จริงของระบอบอิสราเอล
โมฮัมหมัด ฮาดียา กล่าวว่า เป้าหมายหลักของระบอบไซออนิสต์ คือการไม่ปล่อยให้มีการจัดตั้งรัฐปาเลสไตน์ขึ้นในอนาคต ดังนี้อิสราเอลจึงพยายามทุกวิถีทางเพื่อสกัดกั้นอิสรภาพ และความเป็นไปได้ในการสื่อสารกับผู้อื่นของชาวปาเลสไตน์
ผนังหรือกำแพงล้อมของอิสราเอลทำให้หลายสิบหมู่บ้านรอบๆบริเวณกลายเป็นเรือนจำ ซึ่งต้องสูญเสียการเชื่อมต่อทางภูมิศาสตร์และทางสังคมกับพื้นที่โดยรอบ
Ibrahim Zayatrih ประธานหมู่บ้าน “Sheikh Saad ” ทางใต้ของเมือง Quds กล่าวกับสำนักข่าว IRNA ว่า การสร้างกำแพงดังกล่าวทำให้หลายครอบครัวชาวปาเลสไตน์ต้องอยู่แบบกระจัดกระจายไปทั่ว ทำให้ต้องได้รับความเสียหายด้านโครงสร้างทางสังคม
เขากล่าวเสริมว่าบางครอบครัวต้องสูญเสียการติดต่อกับญาติชั้นแรกของพวกเขา ตัวอย่างเช่นในหมู่บ้านของ Sheikh Saad สมาชิกครอบครัวส่วนใหญ่จะถูกแบ่งออก บางคนอาศัยอยู่ในหมู่บ้านนี้ และบางคนก็อาศัยอยู่ในหมู่บ้าน “ญะบาลุล มุกับบิร” ซึ่งมีความสะดวกสบายมากกว่าหมู่บ้านอื่น
Zayatrih ชี้ไปที่ผลกระทบด้านลบของการสร้างกำแพงผนังในภาคการศึกษาว่า นักเรียนต้องเดินทางไกลทุกวันเพื่อไปยังโรงเรียนของตนนอกหมู่บ้าน
จุดตรวจของอิสราเอลทั้งสองด้านของกำแพง และปัญหาระยะยาวเรื่องใบอนุญาต ได้กลายเป็นปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นในภูมิภาคนี้
ทั้งนี้เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2547 ศาลกรุงเฮกได้ออกความเห็นเกี่ยวกับความผิด กรณีการก่อสร้างกำแพงกั้นดังกล่าว ซึ่งสมาชิกของสหประชาชาติ 150 คนรวมทั้งประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปทั้งหมด 25 ประเทศได้ลงมติว่าการสร้างกำแพงนั้นเป็นเรื่องผิดกฎหมาย แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีผลในภาคปฏิบัติที่จะอิสราเอลจะปฏิบัติตาม
Source: jamejamonline