รายงานพิเศษ: สหรัฐฯสังหารประชากรโลกแล้ว 20 ล้านคนใน 37 ประเทศผู้ตกเป็นเหยื่อ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2

2400
Photo: http://awarenessact.com/us-has-killed-more-than-20-million-people-in-37-victim-nations-since-world-war-ii-heres-how/

ภายหลังการโจมตีหายนะเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2001 ความโศกเศร้าซึ่งเป็นอนุสรณ์ และความรู้สึกโกรธเคืองอย่างร้ายแรง และที่สามารถเข้าใจได้ ก็เริ่มครอบงำจิตสำนึกของชาวอเมริกัน

มีผู้คนเพียงน้องนิด ในขณะนั้นที่ได้พยายามส่งเสริมมุมมองที่เป็นกลาง ด้วยการชี้ให้เห็นว่า สหรัฐฯเองก็มีหน้าที่รับผิดชอบสำหรับการก่อให้เกิดความรู้สึกเช่นเดียวกันนั้นกับประชาชนในชาติอื่นๆ เหตุเพราะพวกเขาไม่มีแรงโหมกระเพื่อมข้อเท็จจริงเหล่านี้สู่ประชาคมโลก อีกทั้งสื่อกระแสหลัก ภายใต้อิทธิพลของมหาอำนาจตะวันตก ก็ยังเมินเฉย และแม้แต่บิดเบือนในการนำเสนอเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นกับพวกเขา

แม้ว่า ในเชิงทฤษฎี ชาวอเมริกันจะสามารถเข้าใจได้ถึงสำนึกที่ซึ่งประชากรโลก แสดงความเห็นอกเห็นใจต่อความทุกข์ทรมานของกันและกัน อย่างไรก็ตาม สิ่งช่วยเตือนให้ชาวอเมริกันจดจำถึงความผิดที่ชาติสหรัฐฯได้ก่อไว้กับชาติอื่นๆ กลับได้รับการนำเสนอให้เป็นที่รับรู้น้อยเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ มันยังถูกบดบังด้วยเมฆแห่ง “สงครามต่อต้านการก่อการร้าย” อย่างหนาแน่นและฉับพลันอีกด้วย

ฉะนี้ เราจึงจำเป็นต้องผลักดันความพยายามของเราต่อไป เพื่อพัฒนาความเข้าใจ และความเห็นอกเห็นใจระหว่างมนุษยชนภายในโลก ในประเด็นดังกล่าวนี่เอง ที่บทความชิ้นนี้จะให้การช่วยเหลือคุณ ด้วยการถามไปยังคำถามที่ว่า:

‘มีเหตุการณ์ 11 กันยา กี่ครั้งแล้ว ที่สหรัฐฯ ได้ก่อไว้ในชาติอื่นๆ นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2?’

อันเป็นสาระสำคัญของเรื่องที่จะได้รับการอภิปรายต่อไปในรายงานชิ้นนี้ ซึ่งประกอบไปด้วย ตัวเลขการสูญเสียชีวิตของผู้คนโดยประมาณ จาก 37 ประเทศผู้ตกเป็นเหยื่อ เช่นเดียวกับ คำอธิบายโดยสังเขปที่ว่า ทำไมการกระทำของสหรัฐฯ จึงสมควรถูกประณามจากประชาคมโลกในวันนี้

สาเหตุที่ก่อให้เกิดสงครามที่มากมายนั้น เป็นไปอย่างซับซ้อน ในบางกรณี ชาติต่างๆที่นอกเหนือจากสหรัฐฯ ได้กลายเป็นผู้ที่ต้องแสดงความรับผิดชอบไปยังการสูญเสียชีวิตที่มากกว่า อย่างไรก็ตาม หากการมีส่วนร่วมของสหรัฐฯปรากฏให้เห็นว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดสงคราม หรือ ความขัดแย้ง แน่นอน สหรัฐฯย่อมต้องแสดงความรับผิดชอบต่อการสูญเสียที่มากกว่า หรือในอีกแง่หนึ่ง อาจกล่าวได้ว่า ประเทศอื่นๆเหล่านั้น อาจไม่ต้องถูกกล่าวโทษเสียด้วยซ้ำ หากสหรัฐฯไม่ได้ใช้มือแห่งอำนาจ บิดเบือนข้อเท็จจริงต่างๆ ขณะที่กองกำลังทหาร ผนวกกับอำนาจทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯคือข้อชี้ขาดที่สำคัญของอิทธิพลที่ว่ามานี้

งานศึกษาชิ้นนี้ เผยว่า กองกำลังทหารสหรัฐฯ มีส่วนต้องรับผิดชอบประมาณ 10 ถึง 15 ล้านชีวิตที่เสียชีวิตระหว่างสงครามเกาหลี สงครามเวียดนาม และสงครามอิรักทั้งสองครั้ง ในกรณีนี้ สงครามเกาหลี ยังเหมารวมการตายของชาวจีนด้วย ขณะที่สงครามเวียดนาม ก็เหมารวมไปด้วยหายนะในกัมพูชาและลาว

สาธารณชนชาวอเมริกันน่าจะไม่ทราบถึงจำนวนตัวเลขเหล่านี้ หรือแทบจะไม่รับรู้อะไรเกี่ยวกับสงครามตัวแทน (proxy wars) ที่ซึ่งสหรัฐฯมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบเช่นกัน

ในสงครามช่วงหลังมานี้ มีตัวเลขผู้เสียชีวิตอยู่ที่ 9 – 14 ล้านคน ในอัฟกานิสถาน แองโกลา สาธารรัฐประชาธิปไตยคองโก ติมอร์ตะวันออก กัวเตมาลา อินโดนีเซีย ปากีสถาน และซูดาน

ในการนี้ เหยื่อผู้เคราะห์ร้ายจากสงครามไม่ได้มาจากประเทศใหญ่ๆหรือเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งของโลกเท่านั้น เพราะผู้เสียชีวิตที่มีอยู่ เป็นส่วนประกอบที่มากกว่าครึ่งของจำนวนประชากรทั้งหมดของชาติต่างๆ ดังนี้ จึงกล่าวได้อย่างแท้ที่จริงว่า เกือบทุกภาคส่วนของโลก และทรัพยากรทั้งหลาย คือ เป้าหมายของการแทรกแซงทางการเมืองของสหรัฐฯในประเทศอื่นๆ

ข้อสรุปโดยสังเขปมีอยู่ว่า ประเทศสหรัฐอเมริกา มีส่วนต้องรับผิดชอบอาชญากรรมส่วนมาก นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง ต่อการเสียชีวิตของผู้คน ในจำนวนระหว่าง 20 ถึง 30 ล้านคน จากสงครามและความขัดแย้งที่กระจัดกระจายไปทั่วโลก

ทั้งนี้ ความรู้สึกมันแตกต่างสำหรับครอบครัวและเพื่อนของเหยื่อผู้เคราะห์ร้าย ไม่ว่าบ่อเกิดของสงครามจะมาจากที่ไหน แม้ว่ามันจะเกิดมาจากปฏิบัติการทางทหารของสหรัฐฯ กองกำลังทหารตัวแทน การจัดหาอาวุธหรือที่ปรึกษาโดยสหรัฐฯ หรือวิธีอื่น ๆ เช่น ความกดดันทางเศรษฐกิจ อันเป็นเครื่องมือที่สหรัฐฯใช้กดดันคู่อริ พวกเขาย่อมต้องเผชิญกับความเจ็บปวดที่ไม่อาจเยียวยาได้อย่างง่ายดายไม่ต่างกัน เพราะพวกเขาจำเป็นต้องตัดสินใจ และคำนึงถึงสิ่งอื่นๆที่สำคัญ เช่น การตามหาคนรักที่หายไป ความยากแค้น และที่ต้องกลายมาเป็น ผู้อพยพ รวมไปถึงวิธีเพื่อมีชีวิตรอดต่อไป และแล้วความเจ็บปวด และความโกรธเคืองก็ปกคลุมไปไกลกว่าที่เคยเกิดขึ้นจากสงครามโลกที่ผ่านมา

เจ้าหน้าที่บางฝ่ายประเมินว่า มีบาดแผลมากกว่า 10 แผลต่อ 1 ชีวิต ที่ตายในสงครามต่างๆ ความทุกข์ทรมานที่มองเห็นได้และต่อเนื่องของพวกเขา คือสิ่งเตือนใจต่อไปให้กับเพื่อนร่วมชาติของพวกเขา

มันเป็นสิ่งสำคัญที่ชาวอเมริกันจำเป็นต้องเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับหัวข้อนี้ เพื่อให้พวกเขาสามารถ เริ่มที่จะทำความเข้าใจความเจ็บปวดที่คนอื่นๆรู้สึก คำถามที่กล่าวมาข้างต้นคือ มีเหตุการณ์ 11 กันยา กี่ครั้งแล้ว ที่สหรัฐฯ ได้ก่อไว้ในชาติอื่นๆ นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 ??’ คำตอบคือ: อาจจะมีมากถึง 10,000 ครั้ง

ความเห็นเกี่ยวกับการรวบรวมตัวเลขผู้เสียชีวิต

ประการแรก เราจะกล่าวอย่างทั่วไปก่อนว่า ชาวอเมริกันจำนวนน้อยที่เสียชีวิตจะไม่รวมอยู่ในงานศึกษานี้ ทั้งนี้ไม่ใช่เพราะพวกเขาไม่มีความสำคัญ แต่เป็นเพราะรายงานฉบับนี้ มุ่งเน้นไปที่ผลกระทบจากการกระทำของสหรัฐฯต่อปฏิปักษ์ของตน

อย่างไรก็ดี การนับจำนวนผู้เสียชีวิตอย่างถูกต้องไม่ใช่เรื่องง่าย และการรวบรวมข้อมูลนี้ ดำเนินไปด้วยความตระหนักรู้ถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว ประมาณการเหล่านี้อาจได้รับการแก้ไขในภายหลังโดยผู้อ่านและผู้เขียน แม้จะเป็นไปเช่นนั้น ทว่า จำนวนผู้เสียชีวิตจากสงครามทั้งหมดก็จะยังคงอยู่ในหลักล้านอย่างไม่ต้องสงสัย

ความยากลำบากในการรวบรวมข้อมูลที่น่าเชื่อถือ สามารถแสดงให้เห็นได้ในงานเขียนนี้ ผ่านการอ้างอิงไปยังการประมาณการอย่างน้อยจากแหล่งที่มามากกว่า 1 แหล่งในเนื้อหาส่วนนี้ ตัวอย่างเช่น หลายปีที่ผ่านมา ผู้เขียนได้ยินข่าวในวิทยุว่ามีชาวกัมพูชากว่าสามล้านคนถูกสังหารภายใต้การปกครองของเขมรแดง หรือ กลุ่มนิยมคอมมิวนิสต์ในกัมพูชา(Khmer Rouge) อย่างไรก็ตาม ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ตัวเลขที่ผู้เขียนได้ยินคือ หนึ่งล้านคน อีกตัวอย่างหนึ่งคือ จำนวนผู้เสียชีวิตในอิรัก เนื่องจากการคว่ำบาตรหลังสงครามอิรักในสหรัฐฯโดยประมาณ ครั้งแรกที่มีการค้นหา รายงานระบุจำนวนมากกว่า 1 ล้านคน แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จากผลการศึกษาล่าสุด กลับพบจำนวนที่น้อยกว่า คือ ประมาณกว่าครึ่งล้านคน

บ่อยครั้งที่ข้อมูลเกี่ยวกับสงครามจะถูกเปิดเผยเฉพาะหลังจากนั้นนานเป็นอย่างมาก มันจะถูกเปิดเผยก็ต่อเมื่อมีคนตัดสินใจพูดมันออกมา หรือ หลังจากที่คณะกรรมการพิเศษของรัฐสภาได้ทำการรายงาน หรือ เมื่อมีการเปิดเผยข้อมูลลับมากขึ้น เนื่องจากระยะเวลาภายหลังนั้น มีความเสี่ยงในการเปิดเผยข้อมูลน้อยกว่าช่วงเวลาที่สงครามกำลังคุกรุ่น กล่าวคือ ไม่ค่อยมีฝ่ายใดสนใจที่จะเบี่ยงเบน หรือใช้มันในการแสวงหาข้อได้เปรียบต่างๆ ในช่วงเวลาภายหลังนี้นั่นเอง

ทั้งประเทศที่ได้รับชัยชนะและพ่ายแพ้ อาจมีเหตุผลของตัวเองในการไม่รายงานจำนวนผู้เสียชีวิต นอกจากนี้ ในสงครามที่ผ่านมา ซึ่งสหรัฐอเมริกามีส่วนเกี่ยวข้อง ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะได้ยินคำพูดในทำนอง เช่น “เราไม่ได้นับจำนวนศพ” และการอ้างอิงถึง “ความเสียหายโดยไม่เจตนา” (collateral damage) – คำสละสลวยที่ใช้สำหรับความตายและการได้รับบาดเจ็บของผู้คน เพราะชีวิตมีราคาถูกสำหรับบางคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่จัดการกับคนในสนามรบราวกับว่ามันเป็นกระดานหมากรุก

ทั้งนี้ “ความเสียหายโดยไม่เจตนา” หรือ Collateral damage คือ คำที่เริ่มถูกใช้อย่างเป็นทางการโดยกองทัพบกสหรัฐฯ ซึ่งให้ความหมายถึง ความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินใดๆก็ตามที่เกิดขึ้นกับสิ่งข้างเคียง โดยเป็นผลต่อเนื่องมาจากการต่อตีเป้าหมายหลัก เช่น ความเสียหายจากอุบัติเหตุ อันส่งผลกระทบต่อสิ่งปลูกสร้าง อุปกรณ์หรือบุคคล ซึ่งเราอาจแปลแบบบ้านๆได้ว่า “ลูกหลง” นั่นเอง โดยความเสียหายดังกล่าวนี้เกิดได้จากทั้งการกระทำของฝ่ายเดียวกันและฝ่ายตรงข้าม (อ้างอิงจาก: tacticalthinker)

อย่างไรก็ดี แม้การค้นหาตัวเลขที่แน่นอนจะเป็นสิ่งที่ยากยิ่ง ทั้งนี้ไม่ได้ให้ความหมายว่า เราไม่ควรพยายามที่จะตามหาข้อเท็จจริง ความพยายามเป็นสิ่งจำเป็นในการคำนวณหาตัวเลขชาวยิวผู้เสียชีวิตจำนวน 6 ล้านคนที่ถูกฆ่าตายในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 มันได้ทำให้ ความรู้เกี่ยวกับตัวเลขดังกล่าว ได้รับการแพร่ขยายไปทั่วโลก เป็นเชื้อเพิงที่คอยขับเคลื่อนความมุ่งมั่นในการป้องกันการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ยิว ไม่ให้เกิดขึ้นอีกในอนาคต และทำให้การต่อสู้เพื่อสิทธิของชาวยิวยังคงดำเนินต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

37 ชาติผู้ตกเป็นเหยื่อ

1) Afghanistan – อัฟกานิสถาน

สหรัฐฯมีส่วนต้องรับผิดชอบการเสียชีวิตอยู่ที่ระหว่าง 1 ถึง 1.8 ล้านคน ในช่วงสงครามระหว่างสหภาพโซเวียตและอัฟกานิสถาน โดยพวกเขาได้หลอกล่อให้สหภาพโซเวียตบุกรุกเข้ามาในประเทศดังกล่าว (1,2,3,4)

สหภาพโซเวียตมีความสัมพันธ์ที่เป็นมิตรกับประเทศเพื่อนบ้านอัฟกานิสถาน ซึ่งมีรัฐบาลแบบเซคิวล่าร์ (Secular) ทั้งนี้โซเวียตกลัวว่า รัฐบาลดังกล่าวจะกลายมาเป็น Fundamentalist (ผู้ที่ยึดถือหลักความเชื่อดั้งเดิมของศาสนา) จึงเกรงว่า การเปลี่ยนแปลงนี้อาจลุกลามเข้าสู่สหภาพโซเวียต จนทำให้ความมั่นคงของประเทศต้องสั่นคลอน

ในปี 1998 ในการให้สัมภาษณ์กับ Le Novel Observateur สื่อสิ่งพิมพ์สัญชาติปารีส Zbigniew Brzezinski ที่ปรึกษาของประธานาธิบดี Carter ยอมรับว่า เขาเป็นผู้รับผิดชอบการสังหารอัครราชทูต Mujahadeen ในอัฟกานิสถาน ซึ่งเป็นปฐมเหตุที่ทำให้โซเวียตรุกรานอัฟกานิสถาน เขากล่าวในคำพูดของเขาเองว่า:

ตามเวอชั่นอย่างเป็นทางการของประวัติศาสตร์ ระบุว่า ความช่วยเหลือที่ CIA มีให้กับ Mujahadeen เริ่มต้นขึ้นในช่วงปี 1980 นั่นคือหลังจากที่กองทัพโซเวียตรุกรานอัฟกานิสถาน เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 1979 แต่ความจริงที่ถูกเก็บรักษาไว้อย่างลับๆจนถึงขณะนี้ กลับแตกต่างจากข้อมูลดังกล่าวอย่างสิ้นเชิง อันที่จริง มันคือ วันที่ 3 กรกฎาคม 1979 ที่ซึ่งประธานาธิบดี Carter ลงนามในคำสั่งแรก สำหรับการอนุมัติความช่วยเหลือลับแก่ฝ่ายตรงข้ามของระบอบการปกครองโปร-โซเวียตในกรุงคาบูล และในวันนั้น ผู้เขียนได้เขียนจดหมายถึงประธานาธิบดี ที่ซึ่งได้อธิบายให้เขาฟังว่า ในความคิดเห็นของผม (ผู้เขียน) ความช่วยเหลือนี้กำลังจะชักนำให้เกิดการแทรกแซงทางทหารของโซเวียต (5,1,6)

เหตุผลที่ Brzezinski วางกับดักนี้ เนื่องจากเขากล่าวว่า มันได้ยกเวียดนามให้แก่สหภาพโซเวียต และทำให้เกิดการล่มสลายของสหภาพโซเวียต

“เสียใจอะไร?” เขากล่าว “การดำเนินการลับนั้นเป็นความคิดที่ยอดเยี่ยม มีผลต่อการดึงพวกรัสเซียเข้าสู่กับดักพวกอัฟกัน และคุณต้องการให้ผมเสียใจกับมันหรือ? “(7)

CIA ใช้เงินจำนวน 5 ถึง 6 พันล้านดอลลาร์ในการดำเนินงานในอัฟกานิสถาน เพื่อที่จะทำให้สหภาพโซเวียตเลือดตกยางออก (1,2,3) เมื่อสงคราม 10 ปีสิ้นสุดลง มีการสูญเสียชีวิตของผู้คนกว่าหนึ่งล้านราย และเฮโรอีนในอัฟกานิสถานก็เข้ายึดครองกว่าร้อยละ 60 ของตลาดสหรัฐฯ (4)

สหรัฐฯยังมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้เสียชีวิตประมาณ 12,000 รายในอัฟกานิสถาน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการทิ้งระเบิดในการแก้แค้นการโจมตีทรัพย์สินของสหรัฐฯในวันที่ 11 กันยายน 2011 ส่งผลให้ต่อมา กองกำลังสหรัฐฯได้บุกรุกประเทศดังกล่าว (4)

2) Angola แองโกลา

การต่อสู้โดยกองกำลังพื้นเมืองเพื่อต่อต้านการปกครองของโปรตุเกสในแองโกลา เริ่มเมื่อปี 1961 และในปี 1977 รัฐบาลแองโกลา ได้ถูกทำให้สยบลงโดยสหรัฐฯ แม้ว่าสหรัฐฯจะเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่ต่อต้านการกระทำนี้ ในปี 1986 ทว่าลุงแซมได้ให้การสนับสนุนอุปกรณ์ที่จำเป็นต่างๆแก่ UNITA ซึ่งเป็นกลุ่มที่พยายามโค่นล้มรัฐบาล แม้แต่ในวันนี้ การต่อสู้ครั้งนี้ ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับหลายประเทศขณะนั้น ก็ยังคงดำเนินต่อไป

การแทรกแซงของสหรัฐฯ เป็นไปด้วยความชอบธรรม ตามความเชื่อของสาธารณชนในสหรัฐฯ ในฐานะที่เป็นการตอบสนองไปยังการแทรกแซงกองกำลังทหารคิวบาจำนวน 50,000 นาย ในแองโกลา อย่างไรก็ตาม ตามที่ Piero Gleijeses ศาสตราจารย์ด้านประวัติศาสตร์ที่มหาวิทยาลัย Johns Hopkins University กล่าว เขาบอกว่า สิ่งที่ตรงกันข้ามคือความจริง การแทรกแซงของคิวบาเป็นผลมาจากการบุกรุก ด้านการเงินที่แอบแฝงของ CIA โดยผ่านการเป็นเพื่อนบ้านกับ สาธารณรัฐซาเอียร์ และการขับเคลื่อนของพันธมิตรสหรัฐฯในเมืองหลวงแองโกลา แอฟริกาใต้ (1,2,3) (สามการประมาณการของผู้เสียชีวิต มีจำนวนตั้งแต่ 300,000 ถึง 750,000 ราย (4,5,6))

3) Argentina อาเจนตีนา – ดูอเมริกาใต้: ปฏิบัติการเหยี่ยว
4) Bangladesh บังคลาเทศ – ดูปากีสถาน
5) Bolivia โบลีเวีย

Hugo Banzer เป็นผู้นำของระบอบการปกครองเผด็จการในประเทศโบลิเวียในปี 1970 ที่ซึ่ง ผลประโยชน์ของสหรัฐฯถูกทำให้ขัดข้องก่อนหน้าการดำรงตำแหน่งของเขา เมื่อผู้นำคนก่อน ๆ มีนโยบายทำให้เหมืองแร่ดีบุกกลายเป็นทรัพย์สินของชาติ และแจกจ่ายที่ดินให้แก่ชาวชนบทอินเดีย แต่หลังจากนั้นการกระทำที่เป็นประโยชน์ต่อคนยากไร้ก็ถูกทำให้ล้มเหลว และได้รับการยกเลิก

Banzer ผู้ซึ่งได้รับการฝึกฝนจากโรงเรียนปฏิบัติการอเมริกาในปานามา และต่อมาที่เมือง Fort Hood รัฐ Texas กลับมาจากการเนรเทศ เพื่อหารือกับพลตรีประจำกองทัพอากาศสหรัฐฯ Robert Lundin บ่อยครั้ง

ในปี 1971 เขาได้ทำการรัฐประหารสำเร็จ ด้วยการช่วยเหลือของระบบวิทยุกองทัพอากาศสหรัฐฯ ในปีแรก ๆ ของการปกครองแบบเผด็จการ เขาได้รับความช่วยเหลือทางทหารเป็นสองเท่าจากสหรัฐฯ เช่นเดียวกับในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา

ไม่กี่ปีต่อมาคริสตจักรคาทอลิกประณามการสังหารหมู่ คนงานอุตสาหกรรมแร่ดีบุกโดยกองกำลังทหาร ในปี 1975 Banzer ซึ่งได้รับความช่วยเหลือด้วยข้อมูลจาก CIA สามารถกำหนดเป้าหมายและค้นหาที่อยู่นักบวชและแม่ชีฝ่ายซ้ายได้ ยุทธศาสตร์ต่อต้านพระสงฆ์ของเขา ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อ Banzer Plan ได้รับการรับรองโดยอีก 9 เผด็จการละตินอเมริกัน ในปี 1977 (2) เขาถูกกล่าวว่า เป็นผู้รับผิดชอบต่อการเสียชีวิตของผู้คนกว่า 400 รายในระหว่างดำรงตำแหน่ง (1)

อ่านเพิ่ม: ดูอเมริกาใต้ : ปฏิบัติการเหยี่ยว

6) Brazil: บราซิล – ดูอเมริกาใต้ : ปฏิบัติการเหยี่ยว
7) Cambodia กัมพูชา

การทิ้งระเบิดในกัมพูชาของสหรัฐฯ ได้ดำเนินการเป็นความลับกว่าหลายปี ภายใต้รัฐบาล Johnson และ Nixon แต่เมื่อประธานาธิบดี Nixon เริ่มมีการทิ้งระเบิดอย่างเปิดเผย ในการเตรียมความพร้อมสำหรับการโจมตีประเทศกัมพูชาทางบก เหตุการณ์ดังกล่าว จึงนำไปสู่การประท้วงครั้งใหญ่ในสหรัฐฯต่อสงครามเวียดนาม

มีความตระหนักรู้ในเรื่องขอบเขตของการทิ้งระเบิดของสหรัฐฯ และความทุกข์ทรมานของชีวิตชาวกัมพูชาน้อยเป็นอย่างมากในปัจจุบันนี้

ขณะที่ความเสียหายอย่างยิ่งใหญ่ ประสบกับหมู่บ้านและชุมชนต่างๆในกัมพูชา ส่งผลทำให้ผู้คนจำเป็นต้องกลายสภาพมาเป็นผู้ลี้ภัยนอกประเทศ และผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ สถานการณ์ที่ไม่เสถียรนี้ช่วยให้เขมรแดง ซึ่งเป็นพรรคการเมืองเล็ก ๆ ที่นำโดย Pol Pot สามารถเข้ามามีอำนาจได้ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เราต่างเคยได้ยินเกี่ยวกับบทบาทของเขมรแดงในการสังหารชีวิตประชาชนนับล้านในกัมพูชาซ้ำไปซ้ำมา โดยไม่ตระหนักรู้ หรือยอมรับเลยว่า การสังหารหมู่ครั้งนี้เป็นไปได้ เพราะระเบิดที่สหรัฐฯทิ้งไว้ในประเทศนั้น สหรัฐฯทำให้กัมพูชาล่มสลายลงด้วยความตาย ความบาดเจ็บ ความหิวโหย และความว้าวุ่นใจ ของผู้คนภายในชาติ

ดังนั้นสหรัฐฯจึงไม่ได้แค่มีส่วนต้องรับผิดชอบต่อการเสียชีวิตของผู้คน จากการทิ้งระเบิดเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงผลกระทบต่างๆที่มาจากการกระทำของเขมรแดงอีกด้วย – ทั้งนี้ทำให้มีประชาชนเสียชีวิต รวมประมาณ 2.5 ล้านคน และแม้ในขณะที่เวียดนามใต้บุกกัมพูชาในปี 1979 – CIA ก็ยังไม่วานให้การสนับสนุนไปยังเขมรแดงอีกด้วยเช่นกัน (1,2,3)

อ่านเพิ่ม: ดูเวียดนาม

8.) Chad สาธารณรัฐชาด

ประมาณ 40,000 คนในชาดถูกสังหาร และมากถึง 200,000 คนถูกทำให้ทรมาน โดยรัฐบาลภายใต้การปกครองของ Hissen Habre ซึ่งเข้ามามีอำนาจในเดือนมิถุนายน 1982 ด้วยความช่วยเหลือด้านการเงินและด้านอาวุธของ CIA เขาดำรงอยู่ในอำนาจเป็นระยะเวลากว่าแปดปี (1,2)

Human Rights Watch อ้างว่า Habre เป็นผู้ต้องรับผิดชอบการฆาตกรรมเป็นพันๆชีวิต ในปี 2001 ขณะที่อยู่อาศัยในเซเนกัล เขาเกือบจะพยายามก่ออาชญากรรมในชาด อย่างไรก็ตาม ศาลได้ปิดกั้นการดำเนินการดังกล่าว ทว่าจากนั้นเจ้าหน้าที่ด้านสิทธิมนุษยชนก็ตัดสินใจไล่ติดตามคดีนี้ต่อไปในเบลเยียม เนื่องจากเหยื่อที่ถูกทรมานของ Habre บางรายอาศัยอยู่ที่นั่น สหรัฐฯ ในเดือนมิถุนายน 2003 ได้บอกกับเบลเยียมว่า: สหรัฐฯมีความเสี่ยงจะสูญเสียสถานะความเป็นเจ้าภาพในสำนักงานใหญ่ของ NATO หากยอมอนุมัติให้มีการดำเนินการตามกฎหมายดังกล่าว ผลที่ตามมาก็คือ กฎหมายที่อนุญาตให้ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อยื่นเรื่องร้องเรียนในเบลเยียม จากกรณีความโหดร้ายที่ถูกกระทำในต่างประเทศจำต้องถูกยกเลิกไป อย่างไรก็ตาม อีกสองเดือนต่อมา ได้มีการออกกฎหมายฉบับใหม่ ว่าด้วยการจัดทำบทบัญญัติพิเศษเพื่อความต่อเนื่องของคดีต่อต้าน Habre

9.) Chile ชิลี

CIA เข้าแทรกแซงการเลือกตั้งในปี 1958 และ 1964 ของชิลี ในปี 1970 ผู้สมัครพรรคสังคมนิยม Salvador Allende ได้รับการเลือกตั้งให้เป็นประธานาธิบดี – CIA ต้องการปลุกระดมการรัฐประหารเพื่อป้องกันการเข้ารับตำแหน่งของเขา ทว่าหัวหน้ากองทัพของชิลี นายพล Rene Schneider ได้คัดค้านการกระทำนี้ CIA จึงวางแผนพร้อมกับเจ้าหน้าที่ทหารบางรายในกองทัพ เพื่อลอบสังหาร นายพล Schneider อย่างไรก็ตาม แผนการดังกล่าวเป็นอันต้องล้มเหลว Allende จึงสามารถเข้ารับตำแหน่งภายในทำเนียบรัฐบาล ขณะที่ประธานาธิบดี Nixon ไม่ยอมถูกขัดขวาง เขาจึงสั่งการให้ CIA สร้างสภาวะทางการเมืองให้เอื้อต่อการทำรัฐประหาร ผ่านการกดดันทางเศรษฐกิจ: “ทำให้เศรษฐกิจกรีดร้อง” เขากล่าว

สิ่งที่ตามมาคือ สงครามกองโจร (guerilla warfare) การลอบวางเพลิง การทิ้งระเบิด การก่อวินาศกรรม และความหวาดกลัว

ITT และ บริษัทมหาชนอื่น ๆในสหรัฐฯ ซึ่งมีชาวชิลีเป็นผู้ถือหุ้น ได้ให้การสนับสนุนการชุมนุมและการประท้วง ในที่สุด Allende เสียชีวิต เมื่อวันที่ 11 กันยายน 1973 โดยการฆ่าตัวตาย หรือ โดยการลอบสังหาร อย่างใดอย่างหนึ่ง ในขณะนั้น Henry Kissinger รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ เมื่อคำนึงถึงสถานการณ์ในชิลี ก็ได้ให้ความเห็นว่า: “ผมไม่เห็นเหตุผลที่เราจำเป็นต้องเตรียมความพร้อม และมองดูประเทศหนึ่งเข้าสู่ระบอบการปกครองคอมมิวนิสต์ เพราะความไม่รับผิดชอบของประชาชนของพวกเขาเอง” (1)

ในช่วง 17 ปีแห่งความหวาดกลัว ภายใต้การปกครองของ นายพล Augusto Pinochet ภายหลัง Allende มีชาวชิลีประมาณ 3,000 คนถูกสังหาร และอีกหลายคนอื่น ๆ ถูกทรมานหรือ “หายตัวไป” (2,3,4,5)

อ่านเพิ่ม: ดูอเมริกาใต้ / ปฏิบัติการเหยี่ยว

10.) China จีน

มีชาวจีนกว่า 900,000 คน โดยประมาณเสียชีวิตระหว่างสงครามเกาหลี

อ่านเพิ่ม: ดูสงครามเกาหลี

11.) Colombia โคลัมเบีย

ประมาณการหนึ่ง รายงานว่า มีผู้เสียชีวิตจำนวนกว่า 67,000 คน ระหว่างในช่วงปี 1960 จวบจนถึงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เนื่องมาจากการสนับสนุนของสหรัฐฯต่อการก่อการร้ายโดยรัฐโคลัมเบีย (1)

อ้างอิงจากรายงานของ Amnesty International เมื่อปี 1994 มีผู้คนถูกสังหารมากกว่า 20,000 ราย ด้วยสาเหตุทางการเมืองในโคลัมเบียตั้งแต่ปี 1986 ซึ่งส่วนใหญ่ จะถูกสังหารโดยกลุ่มทหารและพันธมิตรทางทหาร Amnesty อ้างว่า ความช่วยเหลือด้านการจัดหาอุปกรณ์ทางทหารของสหรัฐ – ซึ่งมีการจัดส่งอย่างเห็นได้ชัด เพื่อใช้ต่อต้านผู้ค้ายาเสพติด ถูกนำไปใช้โดยกองกำลังทหารโคลัมเบีย เพื่อกระทำการข่มเหงประชาชน ภายใต้ข้ออ้าง “การปราบปรามการก่อกบฏ” (counter-insurgency) (2) ในปี 2002 การประมาณการอีกชิ้น ได้รายงานว่า มีผู้คนจำนวน 3,500 คน เสียชีวิตในแต่ละปีที่เกิดสงครามกลางเมืองในโคลัมเบีย สงครามที่ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ (3)

ในปี 1996 Human Rights Watch ได้ตีพิมพ์รายงานฉบับหนึ่ง ภายใต้ชื่อ “ทีมลอบสังหารในโคลัมเบีย” ซึ่งเปิดเผยว่า CIA ได้เดินทางไปยังโคลัมเบียในปี 1991 เพื่อช่วยกองกำลังทหารทำการฝึกอบรมตัวแทนสายลับในกิจกรรมต่อต้านการล้มล้าง (4,5)

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา รัฐบาลสหรัฐฯได้ให้ความช่วยเหลือ ภายใต้แผนโคลัมเบีย (Plan Colombia) -ขณะที่รัฐบาลโคลัมเบียถูกดำเนินคดี จากการใช้งบประมาณสนับสนุนส่วนใหญ่เพื่อทำลายพืชผล และสนับสนุนหน่วยทหาร

12.) Cuba คิวบา

ในการรุกรานอ่าวหมูของคิวบา หรือ ปฏิบัติการยกพลขึ้นบกที่อ่าวหมู ด้านตะวันออกเฉียงใต้ของกรุง La Havane โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อโค่นล้มรัฐบาลปฏิวัติของ Fidel Castro ใช้กำลังพลประมาณ 1400 นาย เป็นชาวคิวบาที่ลี้ภัยทางการเมืองและต่อต้านการปฏิวัติ โดยสหรัฐฯ ให้การสนับสนุนทั้งการเงิน การฝึกซ้อม และยุทโธปกรณ์ต่างๆ

การปฏิบัติการเริ่มขึ้นด้วยการโจมตีทางอากาศ ทำลายเครื่องบินรบของคิวบา 2 วัน ก่อนการยกพลขึ้นบกซึ่งมีขึ้นในวันที่ 18 เมษายน 1961 การรบดำเนินต่อไปอีก 3 วัน ก่อนที่กำลังดังกล่าวจะยอมแพ้และถูกจับเป็นเชลย ทั้งนี้จากกองกำลังผู้บุกรุก มียอดผู้เสียชีวิตไป 114 คน ขณะที่อีก 1,189 คนถูกจับเป็นเชลย และมีเพียงไม่กี่สิบคนที่หนีไปรอเรือสหรัฐฯ (1)

ผู้ถูกเนรเทศที่ถูกจับได้ ถูกส่งไปพิจารณาคดีอย่างรวดเร็ว บางรายถูกประหารชีวิต และคนอื่นๆที่เหลือ ถูกตัดสินจำคุกนานถึง 30 ปี ข้อหากบฏ ผู้ถูกเนรเทศเหล่านี้ถูกปล่อยตัวใน 20 เดือนต่อมา โดยแลกกับ ค่าอาหารและยามูลค่า 53 ล้านดอลลาร์

บางคนคาดการณ์ว่า กองกำลังคิวบาที่ถูกสังหารมีจำนวนอยู่ระหว่าง 2,000 ถึง 4,000 ราย ขณะที่รายงานอีกอันประมาณว่า กองกำลังคิวบา 1,800 รายถูกสังหารบนทางหลวงเปิด โดยการโจมตีด้วยระเบิดเชื้อเพลิง (napalm) ดูเหมือนว่า การโจมตีดังกล่าวจะเป็นรุ่นแรกของเหตุการณ์ที่นำไปสู่ “ทางหลวงแห่งความตาย” ของอิรัก ในปี 1991 เมื่อกองทัพสหรัฐฯสังหารชาวอิรักจำนวนมากบนทางหลวงอย่างไร้ความปราณี (2)

13.) Democratic Republic of Congo (formerly Zaire) สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (หรือก่อนหน้านี้ คือ ซาเอียร์)

จุดเริ่มต้นของความรุนแรงครั้งใหญ่เกิดขึ้นในประเทศนี้ เมื่อปี 1879 โดยนักล่าอาณานิคม King Leopold แห่งเบลเยี่ยม ประชากรคองโกลดลง 10 ล้านคนในช่วง 20 ปี ซึ่งบางคนเรียกปรากฏการณ์ดังกล่าวว่า “การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของ Leopold” (Leopold’s Genocide) (1) สหรัฐฯต้องรับผิดชอบประมาณหนึ่งในสามจากผู้เสียชีวิตจำนวนมากในประเทศนี้จากอดีตที่ผ่านมา (2)

คองโกกลายเป็นรัฐอิสระในปี 1960 โดยมี Patrice Lumumba เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรก เขาถูกลอบสังหารโดยความเกี่ยวข้องของ CIA แม้ว่าบางคนกล่าวว่า การตายของเขา แท้ที่จริงแล้วเป็นความรับผิดชอบของเบลเยียม (3) อย่างไรก็ตาม CIA ได้เคยกำลังวางแผนที่จะฆ่าเขา (4) ก่อนจะมีการลอบสังหารเขา CIA ได้ส่งนักวิทยาศาสตร์คนหนึ่งชื่อ ดร. Sidney Gottlieb ไปที่คองโก ด้วยกับ “วัตถุอันตรายทางชีวภาพ” ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการลอบสังหารนายกLumumba ไวรัสตัวนี้สามารถก่อให้เกิดโรคร้ายแรงในพื้นที่บริเวณของประเทศคองโกในแอฟริกา และมันเดินทางผ่านการขนย้ายด้วยกระเป๋าของนักการทูต

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีสงครามกลางเมืองเกิดขึ้นหลายครั้งในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ซึ่งมักเกิดขึ้นโดยฝีมือของสหรัฐฯและประเทศอื่น ๆ รวมถึงประเทศเพื่อนบ้าน (5)

ในเดือนเมษายนปี 1977 Newsday รายงานว่า CIA ได้แอบให้การสนับสนุนความพยายามในการเกณฑ์ทหารรับจ้างหลายร้อยคนในสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักรอย่างลับๆ เพื่อทำหน้าที่ควบคู่ไปกับกองทัพของซาเอียร์ ในปีเดียวกันนั้นสหรัฐฯได้จัดหาอุปกรณ์ทางทหารมูลค่า 15 ล้านเหรียญให้กับประธานาธิบดี Mobutu เพื่อป้องกันการรุกรานของกลุ่มคู่แข่งที่ปฏิบัติการอยู่ในแองโกลา (6)

ในเดือนพฤษภาคม 1979 สหรัฐฯได้ส่งเงินช่วยเหลือจำนวนหลายพันล้านเหรียญดอลลาร์ แก่ Mobutu ผู้ซึ่งถูกประณามเมื่อ 3 เดือนก่อน โดยกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน (7) ในช่วงสงครามเย็น สหรัฐฯได้ส่งอาวุธมูลค่ากว่า 300 ล้านดอลลาร์ไปยังซาเอียร์ (8,9) และ 100 ล้านเหรียญสำหรับการฝึกทหารให้แก่ Mobutu (2) ในปี 2001 มีรายงานไปยังคณะกรรมการรัฐสภาของสหรัฐฯว่า บริษัทอเมริกัน ซึ่งรวมถึงที่มีความเชื่อมโยงกับอดีตประธานาธิบดี George Bush Sr. (ซีเนียร์) กำลังสุมไฟคองโก เพื่อแสวงหาผลกำไรทางการเงิน มีการต่อสู้ระหว่างประเทศเกี่ยวกับแหล่งทรัพยากรในประเทศดังกล่าว ซึ่งมี บริษัท และบุคคลกว่า 125 แห่งมีความเกี่ยวข้องกับกรณีนี้ หนึ่งในทรัพยากรเหล่านี้คือ coltan ซึ่งใช้ในการผลิตโทรศัพท์มือถือ (2)

14.) Dominican Republic สาธารณรัฐโดมินิกัน

ในปี 1962 Juan Bosch ได้กลายเป็นประธานาธิบดีของสาธารณรัฐโดมินิกัน เขาสนับสนุนโครงการต่างๆ เช่น การปฏิรูปที่ดินและโครงการงานสาธารณะ เรื่องนี้ไม่ได้ทำให้อนาคตของเขาในความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ เป็นไปอย่างราบรื่น และหลังจากนั้นเพียง 7 เดือนในทำเนียบรัฐบาล เขาถูกปลดจากตำแหน่งด้วยการรัฐประหารของ CIA

ในปี 1965 เมื่อกลุ่มหนึ่งได้พยายามที่จะส่งเขากลับเข้าไปประจำตำแหน่งในทำเนียบอีกครั้ง ประธานาธิบดี Johnson ได้กล่าวว่า Bosch คนนี้ไม่ดี” ขณะที่ผู้ช่วยเลขาธิการรัฐ Thomas Mann ตอบว่า “เขาไม่ดีเลย ถ้าเราไม่จัดหารัฐบาลเข้าไปที่นั้น เราจะต้องเจอ Bosch อีกคน มันจะเป็นการพบกับหลุมยุบอีกอันเท่านั้น”

สองวันต่อมา การบุกรุกของสหรัฐฯเริ่มต้นขึ้น มีทหารและนาวิกโยธินจำนวน 22,000 นาย เข้าไปในสาธารณรัฐโดมินิกัน และมีชาวโดมินิกันเสียชีวิตประมาณ 3,000 คนในระหว่างการสู้รบ ข้อแก้ตัวสำหรับการกระทำนี้คือ มันเป็นไปเพื่อปกป้องชาวต่างชาติที่นั่น (1,2,3,4)

15.) East Timor ติมอร์ตะวันออก

ในเดือนธันวาคม 1975 อินโดนีเซียบุกรุกติมอร์ตะวันออก การบุกรุกนี้เริ่มขึ้นในวันรุ่งขึ้น หลังจากประธานาธิบดีสหรัฐฯ นาย Gerald Ford และเลขาธิการรัฐ Henry Kissinger เดินทางออกจากประเทศอินโดนีเซีย ภายหลังจากที่ได้อนุมัติให้ประธานาธิบดี Suharto ใช้อาวุธของสหรัฐฯ ซึ่งภายใต้กฎหมายของสหรัฐฯไม่สามารถใช้ในการรุกรานได้ Daniel Moynihan เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำสหประชาชาติ กล่าวว่า สหรัฐฯต้องการให้ “สิ่งต่างๆส่งผลตามที่มันเกิดขึ้น” (1,2) ผลที่ได้คือ การเสียชีวิต ของผู้คนกว่า 200,000 รายโดยประมาณ จากประชากรกว่า 700,000 คน (1,2)

สิบหกปีต่อมา เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 1991 ผู้ประท้วงชาวติมอร์ตะวันออกในเมืองเดลี จำนวนสองร้อยสิบเจ็ดคน โดยส่วนมากของพวกเขาเป็นเด็ก ซึ่งกำลังเดินขบวนจากอนุสรณ์สถานแห่งหนึ่ง ถูกยิงเสียชีวิต โดยฝีมือของกองกำลังพิเศษเพื่อปฏิบัติภารกิจพิเศษของรัฐบาลอินโดนีเซีย ภายใต้การบังคับบัญชาของ นาย Prabowo Subianto (ลูกเขยของนายพล Suharto) และนาย Kiki Syahnakri ผู้บัญชาการที่ได้รับการฝึกฝนโดยสหรัฐฯ นอกจากนี้ ยังมีรายงานกล่าวถึงกรณีที่รถบรรทุกผู้ประท้วงถูกทิ้งลงสู่ทะเลอีกด้วย (5)

16.) El Salvador เอลซัลวาดอร์

สงครามกลางเมืองตั้งแต่ปี 1981 ถึง 1992 ในเอลซัลวาดอร์ มีทุนสนับสนุนรัฐบาลของสหรัฐฯหมุนเวียนอยู่กว่า 6 พันล้านดอลลาร์ ในความพยายามเพื่อบ่อนทำลายขบวนการที่จะนำมาซึ่งความยุติธรรมทางสังคมแก่ประชาชนในประเทศ จำนวนประมาณ 8 ล้านคน (1)

ในระหว่างนั้น ที่ปรึกษาทางทหารจากสหรัฐฯได้แสดงวิธีการทรมานนักโทษวัยรุ่นให้แก่พวกเขา (รัฐบาล) ตามที่มีระบุไว้ในบทสัมภาษณ์ทหารหนีทัพ จากกองทัพเอลซัลวาดอร์ ซึ่งถูกตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ the New York Times อดีตสมาชิกผู้รักษาความปลอดภัยแห่งชาติเอลซัลวาดอร์คนนี้ ได้ให้การว่า เขาเป็นสมาชิกคนหนึ่งในสิบสองคนของหมู่ทหาร ที่ได้พบเจอกับกลุ่มชน ที่พวกเขาได้รับทราบมาว่า เป็นกองโจร และได้ทำการทรมานพวกเขา ส่วนหนึ่งของการฝึกซ้อมที่เขาได้รับ คือ วิธีการทรมาน ซึ่งได้เรียนรู้มาจาก ณ สถานที่หนึ่งของสหรัฐฯ ในปานามา (2)

ชาวบ้านเอลซัลวาดอร์ จำนวนประมาณ 900 คนถูกสังหารในหมู่บ้าน El Mozote ในปี 1981 สิบในสิบสองคนจากหมู่ทหารเอลซัลวาดอร์ที่อ้างว่ามีส่วนร่วมในปฏิบัติการดังกล่าว สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนแห่งอเมริกา ที่ซึ่งดำเนินการจัดการโดยสหรัฐอเมริกา (2) ชาวบ้านเหล่านี้ เป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ ของผู้เสียชีวิตอีก ประมาณ 75,000 คน ที่ถูกสังหารในช่วงสงครามกลางเมืองนั้น (1)

ตามรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบและค้นหาความจริงขององค์การสหประชาชาติ (United Nations’ Truth Commission report) ปี 1993 ระบุว่า การละเมิดสิทธิมนุษยชนกว่าร้อยละ 96 ที่ดำเนินการในช่วงสงคราม ได้กระทำโดยกองทัพเอลซัลวาดอร์ หรือหน่วยทหารจากกลุ่มล่าสังหาร (deaths squads) ที่มีความเกี่ยวข้องกับกองทัพเอลซัลวาดอร์ (3)

The New York Times และ the Washington Post ตามด้วยบทความที่เสียดแทงต่างๆ เขียนรายงาน ระบุถึงการที่ คณะกรรมการได้เชื่อมโยง ผู้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนของอเมริกา เข้ากับเหตุการณ์สังหารที่ฉาวโฉ่มากมาย ในปี 1996 คณะกรรมการกำกับดูแล (Oversight Board) ประจำทำเนียบขาว ได้ออกรายงานสนับสนุนข้อกล่าวหาหลายประการเกี่ยวกับโรงเรียนดังกล่าว เขียนโดย Roy Bourgeois หัวหน้าฝ่ายบริหารโรงเรียน School of the Americas Watch ในปีเดียวกันนั้น กระทรวงกลาโหม ได้เปิดเผยรายงานที่จัดทำขึ้นก่อนหน้านี้ ซึ่งระบุว่า บัณฑิตได้รับการฝึกฝนให้ฆ่า กรรโชกและล่วงละเมิดทางกายเพื่อกระบวนการซักถาม ให้มีการจำคุกโดยมิชอบด้วยกฎหมาย และวิธีการควบคุมอื่น ๆ (4)

16.) Grenada เกรเนดา

CIA เริ่มบ่อนทำลายความมั่นคงในเกรเนดาในปี 1979 หลังจากที่ Maurice Bishop เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเขาปฏิเสธที่จะเข้าร่วมการกักกันคิวบา การรณรงค์ต่อต้านเขา ก่อให้เกิดการล้มล้างรัฐบาล และการบุกรุกโดยสหรัฐฯในประเทศเกรเนดา เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 1983 – เหตุการณ์ดังกล่าว ส่งผลทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวน 277 ราย (1, 2) สาเหตุของการบุกรุกมีหลายปัจจัยด้วยกัน อย่างไรก็ดี มีการตั้งข้อกล่าวหา ที่เป็นเท็จว่า สนามบินที่กำลังถูกสร้างขึ้นในเกรเนดา อาจถูกนำมาใช้ เพื่อทำการโจมตีสหรัฐฯ และยังมีการกล่าวอ้างอย่างผิดๆว่า ชีวิตของนักศึกษาแพทย์อเมริกันบนเกาะแห่งนี้กำลังตกอยู่ในอันตราย ด้วยประการฉะนี้จึงนำไปสู่การทำลายเสถียรภาพทางการเมืองของรัฐบาล Maurice Bishop โดยสหรัฐฯ

17.) Guatemala กัวเตมาลา

ในปี 1951 Jacobo Arbenz ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีของกัวเตมาลา เขาได้จัดสรรที่ดินที่ไม่ได้ใช้แล้วบางส่วน ซึ่งดำเนินการโดย United Fruit Company และทำการชดเชยให้กับบริษัท (1,2) บริษัทนั้น จึงได้เริ่มแคมเปญเพื่อสร้างให้ Arbenz กลายเป็นเครื่องมือของการสมรู้ร่วมคิดระหว่างประเทศ และได้จ้างทหารรับจ้างประมาณ 300 คน ผู้ก่อวินาศกรรมแหล่งจ่ายน้ำมัน และรถไฟ (3) ในปี 1954 การรัฐประหารของ CIA ได้บีบให้เขาต้องออกจากทำเนียบรัฐบาล และเขาได้ออกจากประเทศ ทั้งนี้หลายระบอบการปกครอง (ชุดรัฐบาล) ในช่วง 40 ปีถัดมา ได้สังหารชีวิตประชาชนไปกว่าหลายร้อยคน

ในปี 1999 the Washington Post ได้รายงานว่า คณะกรรมการเพื่อความกระจ่างทางประวัติศาสตร์ (Historical Clarification Commission) ได้สรุปว่า มีผู้คนจำนวนกว่า 200,000 รายถูกสังหาร ในช่วงสงครามกลางเมือง และมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนประชาชนกว่า 42,000 ราย โดย 29,000 คนเสียชีวิต จากจำนวนนี้ ร้อยละ 92 เป็นฝีมือของกองทัพบก คณะกรรมาธิการยังได้รายงานต่ออีกว่า รัฐบาลสหรัฐฯและ CIA ได้กดดันรัฐบาลกัวเตมาลาให้ทำการปราบปรามขบวนการ guerrilla movement หรือ การก่อสงครามกองโจรหรือสงครามจรยุทธ์ ด้วยวิธีที่ไร้ความปรานี (4,5)

จากข้อมูลที่ได้รับมาจากคณะกรรมาธิการระหว่างปี 1981-1983 รัฐบาลทหารกัวเตมาลา ซึ่งได้รับทุนและการสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐฯ ได้ทำลายหมู่บ้านชาวมายันกว่าสี่แสนคนในการรณรงค์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (4)

หนึ่งในเอกสารอ้างอิงของคณะกรรมาธิการ คือ บันทึกประจำปี 1966 จากเจ้าหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯซึ่งอธิบายถึงการจัดตั้ง “Safe house” (ที่หลบภัย) ในพระราชวัง สำหรับคุ้มภัยเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยกัวเตมาลาและข้อมูลติดต่อของพวกเขากับสหรัฐฯ นี่คือที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของ “สงครามสกปรก” ต่อต้านพวกผู้ก่อกบฏฝ่ายซ้ายและกลุ่มพันธมิตรที่ต้องสงสัย ของกัวเตมาลา(2)

18). Haiti เฮติ

ตั้งแต่ปี 1957 ถึงปี 1986 เฮติถูกปกครองโดย Papa Doc Duvalier และต่อมาโดยลูกชายของเขา ในช่วงเวลานั้น กองกำลังก่อการร้ายส่วนตัวของพวกเขาได้สังหารผู้คน ซึ่งมีจำนวนระหว่าง 30,000 ถึง 100,000 ราย (1) เงินอุดหนุนของ CIA จำนวนกว่าหลายล้านดอลลาร์ได้ถูกส่งเข้าเฮติในช่วงเวลานั้น โดยส่วนใหญ่เป็นไปเพื่อปราบปรามขบวนการเคลื่อนไหวที่เป็นที่นิยมต่างๆ (2) แม้ว่าการช่วยเหลือทางการทหารของสหรัฐฯที่มีต่อประเทศส่วนมากจะได้รับการส่งผ่านทางอิสราเอลอย่างลับๆ ตามที่ระบุโดย William Blum

รายงานระบุว่า รัฐบาลหลังจากรัชกาล Duvalier ที่สอง เป็นผู้รับผิดชอบการเสียชีวิตจำนวนมาก และอิทธิพลของสหรัฐฯที่มีต่อเฮติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ่านทาง CIA ยังคงดำเนินต่อไป ในเวลาต่อมา สหรัฐอเมริกาได้บีบบังคับให้ นักบวชคาทอลิกผิวสี Jean Bertrand Aristide ออกจากสำนักงานประธานาธิบดี แม้ว่าเขาจะได้รับเลือกด้วยคะแนนเสียงถึง ร้อยละ 67 ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1990 ก็ตาม คนผิวขาวที่ร่ำรวยในเฮติต่อต้านเขา ในประเทศที่คนผิวสีมีอำนาจเหนือกว่า ทั้งนี้ เป็นเพราะโครงการทางสังคมของเขา ได้ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยคนยากจนและยุติการทุจริต (3) หลังจากนั้นเขาก็กลับเข้ามาในสำนักงานอีกครั้ง แต่อยู่ได้ไม่นานนัก เขาก็ถูกบีบบังคับ โดยสหรัฐฯให้ถอนตัวจากตำแหน่ง ในปัจจุบันนี้ เขาอาศัยอยู่ในแอฟริกาใต้

19.) Honduras ฮอนดูรัส

ในยุค 80 CIA สนับสนุนกองพัน 316 ซึ่งได้ปฏิบัติการลักพาตัว ทรมานและสังหารพลเมืองหลายร้อยคนในฮอนดูรัส อุปกรณ์และคู่มือการทรมานถูกจัดหาให้ผ่านบุคลากรของ CIA จากอาร์เจนตินา ที่ทำงานร่วมกับตัวแทนของสหรัฐฯในการฝึกอบรมฮอนดูรัส ในการนี้ส่งผลทำให้มีผู้คนจำนวนประมาณ 400 คนเสียชีวิต (1,2) นี่เป็นอีกกรณีหนึ่งของการทรมานในโลกที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ (3)

กองพัน 316 ใช้อุปกรณ์สำหรับช็อกและทำให้ไม่สามารถหายใจได้ กับผู้ต้องหาในการสอบสวนต่าง ในช่วงทศวรรษที่ 1980 นักโทษมักถูกขังไว้ในสภาพที่เปลือยเปล่า และเมื่อไม่มีประโยชน์อีกต่อไป ก็จะถูกฆ่าตายและถูกฝังอยู่ในหลุมศพที่ไม่มีเครื่องหมาย เอกสารที่ไม่มีการจัดประเภทและแหล่งข้อมูลอื่น ๆ แสดงให้เห็นว่า CIA และสถานทูตสหรัฐฯมีส่วนรู้เห็นกับอาชญากรรมมากมาย รวมถึงการฆาตกรรมและการทรมาน และแม้จะเป็นเช่นนั้น พวกเขาก็ยังคงสนับสนุนกองพัน 316 และทำงานร่วมกับผู้นำของมัน (4)

ฮอนดูรัส เป็นทุ่งยุทธศาสตร์ในช่วงต้นของยุค 80 สำหรับฝ่ายตรงข้าม ซึ่งกำลังพยายามโค่นล้มรัฐบาลสังคมนิยมของ Sandinista ในประเทศนิการากัว John D. Negroponte ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการแห่งรัฐ เคยเป็นทูตของสหรัฐฯ ในช่วงที่ความช่วยเหลือทางทหารของสหรัฐฯในฮอนดูรัสเพิ่มขึ้นจาก 4 ล้านเหรียญเป็น 77.4 ล้านเหรียญต่อปี Negroponte ปฏิเสธว่ามีส่วนรู้เห็นกับการกระทำโหดร้ายป่าเถื่อนในช่วงที่เขาดำรงตำแหน่งนี้ อย่างไรก็ตาม นาย Jack R. Binns ผู้ดำรงตำแหน่ง ก่อนหน้าเขา ได้รายงานเมื่อปี 1981 ว่า เขาเป็นกังวลอย่างมาก เกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของหลักฐานต่างๆจารกรณีการลอบสังหารที่ได้รับการสนับสนุนอย่างเป็นทางการ หรือ ตามที่ได้รับอนุมัติ (5)

20.) Hungary ฮังการี

ในปี 1956 ฮังการีเป็นหนึ่งในประเทศโซเวียต ที่มีการประท้วงต่อต้านสหภาพโซเวียต บางครั้ง ในระหว่างการออกอากาศการจลาจลโดย U.S. Radio Free Europe ในฮังการี พวกเขาจะใช้สำเนียงส่อความก้าวร้าว เพื่อปลุกระดมให้กลุ่มกบฏเชื่อว่าการสนับสนุนจากตะวันตกกำลังใกล้เข้ามา อีกทั้งยังสอดแทรกคำแนะนำเชิงยุทธวิธี เกี่ยวกับวิธีการต่อสู้กับโซเวียต ความหวังของพวกเขาถูกปั้นขึ้น และทะยานพุ่งสูงขึ้นจากการรับฟังรายการออกอากาศเหล่านี้ มันส่งผลทำให้เกิดเงาดำที่ยิ่งใหญ่กว่า บดบังอยู่เหนือโศกนาฏกรรมของฮังการี (1) ผู้เสียชีวิตจากฮังการีและโซเวียต มีประมาณ 3,000 คนและการปฏิวัติก็ถูกบดขยี้ลงอย่างราบคาบ (2)

21.) Indonesia อินโดนีเซีย

การรัฐประหารในประเทศอินโดนีเซีย เมื่อปี 1965 ได้แทนที่ นายพล Sukarno ด้วยกับการขึ้นมามีอำนาจของนายพล Suharto สหรัฐฯมีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลดังกล่าว Robert Martens อดีตเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำอินโดนีเซียอธิบายว่า นักการทูตของสหรัฐฯและเจ้าหน้าที่ CIA ได้ให้ชื่อหน่วยล่าสังหารแก่กองทัพอินโดนีเซียเป็นจำนวนถึง 5,000 ชื่อภายในปี 1965 และตรวจสอบพวกเขา ขณะที่พวกเขาถูกฆ่าตายหรือถูกจับกุม Martens ยอมรับว่า “มือของผมอาจจะเต็มไปด้วยเลือด แต่นั่นไม่ใช่ความเลวร้ายทั้งหมด มีช่วงเวลาที่คุณต้องทำการโจมตีอย่างหนัก ในชั่วขณะที่ต้องตัดสินใจอย่างเด็ดขาด” (1,2,3) ทั้งนี้ประมาณการจำนวนผู้เสียชีวิตมีตั้งแต่ 500,000 ถึง 3 ล้านคน (4,5,6)

ตั้งแต่ปี 1993 ถึงปี 1997 สหรัฐฯได้ให้การสนับสนุนแก่รัฐบาลจาการ์ตา ผ่านการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจมูลค่ากว่า 400 ล้านดอลลาร์ และการขายอาวุธหลายสิบล้านเหรียญแก่ประเทศดังกล่าว U.S. Green Berets ได้ให้การฝึกอบรมแก่กองกำลังชนชั้นสูงของอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบต่อการทารุณมากมายในติมอร์ตะวันออก (3)

22.) Iran อิหร่าน

อิหร่าน ได้สูญเสียชีวิตผู้คนไปประมาณ 262,000 คนในสงครามกับอิรัก ระหว่างปี 1980 ถึงปี 1988 (1)

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสงคราม: ดูอิรัก

เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 1988 เรือรบสหรัฐฯ Vincennes กำลังปฏิบัติการอยู่ภายในน่านน้ำอิหร่าน เพื่อให้การสนับสนุนทางทหารแก่อิรัก ระหว่างสงครามอิรัก-อิหร่าน ในช่วงระหว่างการสู้รบกับเรือปืนของอิหร่าน เรือรบสหรัฐดังกล่าวได้ยิงขีปนาวุธ 2 ลูกใส่เครื่องบินไอพ่นอิหร่าน ซึ่งขณะนั้นกำลังโดยสารพลเรือนผู้บริสุทธิ์ตามปกติ เหตุการณ์ครั้งนี้ส่งผลทำให้พลเรือนทั้งหมด 290 คนที่กำลังโดยสารอยู่บนเครื่องบินถูกฆ่าตาย (2,3)

23.) Iraq อิรัก

A: สงครามอิรัก – อิหร่าน ดำรงอยู่ตั้งแต่ปี 1980 จนถึงปี 1988 และในช่วงเวลาดังกล่าว ทำให้มีผู้เสียชีวิตชาวอิรักประมาณ 105,000 ราย ตามการรายงานของ the Washington Post (1,2)

Howard Teicher อดีตเจ้าหน้าที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ ได้ให้เงินเป็นจำนวนกว่าหลายพันล้านดอลลาร์แก่อิรักในบัญชีรายรับ และช่วยอิรักในรูปแบบอื่น ๆ เช่น ทำการตรวจสอบให้แน่ใจว่า อิรักมีอุปกรณ์ทางทหาร รวมไปถึง ชีวสาร ทั้งนี้ การช่วยเหลือที่เพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันนี้ มีผลมาจากการที่อิหร่านได้แสดงท่าทีว่าสามารถเอาชนะสงคราม และเข้าใกล้เมือง Basra ได้ (1) สหรัฐอเมริกาไม่ได้ถูกทำให้เสียเปรียบต่อความอ่อนแอของทั้งสองประเทศ อันเนื่องมาจากผลกระทบของสงคราม ทว่ามันก็ไม่ต้องการให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งชนะในภูมิภาคนี้

B: สงครามของสหรัฐฯในอิรัก และการคว่ำบาตรอิรักยืดเวลาออกไปตั้งแต่ปี 1990 ถึง 2003

อิรักรุกรานคูเวต เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 1990 และสหรัฐฯตอบโต้ด้วยการเรียกร้องให้อิรักถอนตัวออกไป และสี่วันต่อมา สหประชาชาติได้เรียกระดมพลให้มีการคว่ำบาตรระหว่างประเทศ

อิรักมีเหตุผลที่เชื่อได้ว่า สหรัฐฯจะไม่คัดค้านการรุกรานคูเวต เนื่องจากเอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำประเทศอิรัก April Glaspie ได้บอกกับ Saddam Hussein ว่า สหรัฐฯไม่มีตำแหน่ง อยู่ระหว่างข้อพิพาทที่ประเทศอิรักมีต่อคูเวต ดังนั้นสหรัฐจึงออกไฟเขียว แต่มันดูเหมือนว่าจะเป็นกับดักเสียมากกว่า

ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การประชาสัมพันธ์ เพื่อกระตุ้นให้ชาวอเมริกันเข้าร่วมในการสนับสนุนการโจมตีอิรักลูกสาวของทูตคูเวตในสหรัฐฯได้ให้การเท็จต่อหน้ารัฐสภาว่า ทหารอิรักได้ดึงปลั๊กตู้บ่มเพาะในโรงพยาบาลอิรัก (1) นี่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดสงครามในสหรัฐอเมริกา

การโจมตีทางอากาศของสหรัฐฯ เริ่มตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม 1991 และใช้เวลาดำเนินการเป็นเวลา 42 วัน เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ประธาน H.W. Bush ได้สั่งให้สหรัฐฯจู่โจมทางบก การบุกรุกเกิดขึ้นด้วยกับการสังหารเจ้าหน้าที่ทหารอิรักอย่างไร้เป้าหมาย (ไม่มีความจำเป็น) มีบุคลากรทหารอเมริกันเพียง 150 คนโดยประมาณเสียชีวิต เมื่อเทียบกับการเสียชีวิตของพลเมืองอิรักประมาณ 200,000 คน ชาวอิรักบางรายถูกฆ่าตายอย่างไร้ความปราณี บนทางหลวงแห่งความตาย (Highway of Death) และประมาณ 400 ตันของยูเรเนียมด้อยสมรรถนะ ถูกทิ้งไว้ในประเทศนั้นโดยฝีมือของสหรัฐฯ (2,3)

ส่วนการเสียชีวิตอื่นๆ ที่ถูกพบ มีสาเหตุมาจากการทนพิษบาดแผลไม่ไหว นอกจากนี้ ยังมีผู้ที่เสียชีวิต โดยผลกระทบจากความเสียหายของอุปกรณ์บำบัดน้ำของอิรัก และด้านอื่น ๆ จากความเสียหายของโครงสร้างพื้นฐาน และโดยมาตรการคว่ำบาตร

ในปี 1995 องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ รายงานว่า การคว่ำบาตรของสหประชาชาติต่ออิรัก เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 560,000 คน ตั้งแต่ปี 1990 (5)

ในปี 1996 Leslie Stahl ได้กล่าวถามไปยัง Madeleine Albright เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำสหประชาชาติ ในรายการทีวี 60 นาทีว่า “เราได้ยินมาว่า มีเด็กกว่าครึ่งล้านคนเสียชีวิต ดิฉันหมายความว่า นี่เป็นจำนวนเด็ก ที่มากกว่าการเสียชีวิตในฮิโรชิมา แล้วคุณคิดว่า มันคุ้มราคาไหม?” ในการนี้ Albright ตอบกลับว่า “ดิฉันคิดว่านี่เป็นทางเลือกที่ยากมาก แต่ราคา เราคิดว่ามันคุ้มค่า” (4)

ในปี 1999 UNICEF รายงานว่ามีเด็กเสียชีวิตจำนวน 5,000 คนในแต่ละเดือน อันเป็นผลมาจากการคว่ำบาตร และการทำสงครามกับสหรัฐฯ (6)

Richard Garfield ได้ประเมินภายหลังว่า จำนวนผู้เสียชีวิตในส่วนเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีนับจากปี 1990 จนถึงเดือนมีนาคม 1998 มีแนวโน้มส่วนใหญ่อยู่ที่จำนวนกว่า 227,000 คน ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า จากช่วงทศวรรษที่ผ่านมา Garfield คาดว่าตัวเลขจะเป็น 350,000 ไปจนสิ้นสุดปี 2000 (7)

อย่างไรก็ตาม มันมีข้อจำกัดอยู่ในงานศึกษาของเขา ตัวเลขของเขาไม่ได้รับการอัพเดทเป็นเวลาสามปีที่เหลืออยู่ของการคว่ำบาตร นอกจากนี้ เขายังไม่ได้ทำการศึกษากลุ่มอายุบุคคลที่มีความอ่อนแอ หรือ มีความเสี่ยงสูงกว่าอีกสองกลุ่ม คือ กลุ่มเด็กที่มีอายุเกิน 5 ขวบและกลุ่มผู้สูงอายุ

รายงานทั้งหมดเหล่านี้เป็นตัวชี้วัดที่สำคัญสำหรับผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ที่สหรัฐฯรับรู้ทุกอย่างเป็นอย่างดี แถมยังเป็นอีกส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ของพวกเขา เพื่อสร้างความเจ็บปวดและความหวาดกลัวที่เพียงพอในหมู่ชาวอิรัก ในการจุดชนวนให้เกิดการประท้วงต่อต้านรัฐบาลของตน

C: สงครามระหว่างอิรัก และ สหรัฐฯ ซึ่งเริ่มขึ้นในปี 2003 และยังไม่ได้รับการสรุป

เหมือนที่ จุดสิ้นสุดของสงครามเย็นได้สร้างแรงบันดาลใจให้สหรัฐฯโจมตีอิรักในปี 1991 เช่นเดียวกัน การโจมตีเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2001 จึงเป็นรากฐานสำหรับสหรัฐฯในการเริ่มต้นสงครามกับอิรักในปัจจุบัน ขณะที่ในสงครามอื่นๆ กว่าเราจะมีโอกาสรับรู้ เรื่องโกหกที่ใช้ในการหลอกลวงเราหลายครั้ง ก็กินเวลานานภายหลังจากนั้นเป็นอย่างมาก ทว่าความตะลบตะแลงบางอย่าง ที่นำเราให้เข้าสู่สงครามครั้งนี้ กลับเป็นที่รู้จักกันเกือบจะทันทีที่พวกเขาขยับปากเปล่งเสียง ไม่มีอาวุธทำลายล้างสหรัฐฯ สหรัฐฯไม่ได้พยายามที่จะส่งเสริมประชาธิปไตย พวกเขาไม่ได้พยายามที่จะช่วยชาวอิรักให้รอดพ้นจากเผด็จการ ตามที่กล่าวอ้างใดๆทั้งสิ้น!

จากวิจัยของ Johns Hopkins ระบุว่า จำนวนผู้เสียชีวิตชาวอิรักทั้งหมด ที่เป็นผลมาจากสงครามอิรักกับสหรัฐฯในปัจจุบันมีจำนวนทั้งสิ้น 654,000 ราย โดย 600,000 คน มีเหตุของการเสียชีวิตมาจากการกระทำที่มีความรุนแรง (1,2)

เมื่อการเสียชีวิตเหล่านี้เป็นผลมาจากการบุกรุกของสหรัฐอเมริกา ดังนั้นผู้นำของพวกเขาจึงสมควรออกมายอมรับความผิด พร้อมกับแสดงความรับผิดชอบต่อการเสียชีวิตของผู้คน

24.) Israeli-Palestinian War สงครามอิสราเอล-ปาเลสไตน์

จำนวนประมาณ 100,000 ถึง 200,000 ราย รวมชาวอิสราเอลและชาวปาเลสไตน์เสียชีวิตจากความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างชนชาติทั้งสองกลุ่มนี้ อย่างไรก็ตาม สหรัฐฯเป็นผู้สนับสนุนที่แข็งแกร่งของอิสราเอล โดยสหรัฐฯ คือผู้มอบเงินกว่าหลายพันล้านดอลลาร์ ทั้งยังสนับสนุนการครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ของอิสราเอลอย่างแข็งขัน (1,2)

25.) Korea, North and South เกาหลีเหนือ และเกาหลีใต้

สงครามเกาหลี เริ่มขึ้นเมื่อปี 1950 อ้างอิงจากคณะบริหารของ Truman เกาหลีเหนือบุกเกาหลีใต้เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่นั้นมา ได้มีคำอธิบายอื่นปรากฏขึ้น โดยกล่าวว่า การโจมตีของเกาหลีเหนือเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่มีการรุกรานชายแดนหลายแห่งโดยทั้งสองฝ่าย ในการนี้ ส่วนมากเกาหลีใต้จะเริ่มต้นการปะทะกันที่ชายแดนกับเกาหลีเหนือ ในปี 1948 รัฐบาลเกาหลีเหนืออ้างว่า ภายในปี 1949 กองทัพเกาหลีใต้กระทำการรุกรานติดอาวุธเป็นจำนวนกว่า 2,617 ครั้ง ขณะที่ เรื่องสหภาพโซเวียตมีคำสั่งให้เกาหลีเหนือโจมตีเกาหลีใต้เป็นเพียงแค่คำเล่าขานที่ไร้แหล่งอ้างอิงเท่านั้น (1,2)

สหรัฐอเมริกาเริ่มการโจมตีก่อนที่มติ U.N ว่าด้วยการสนับสนุนการแทรกแซงของสหรัฐฯจะถูกส่งผ่าน และอนุมัติกองกำลังทหาร ให้เพิ่มการประทุษร้ายในสงคราม ผ่านการแนะนำให้ใช้ระเบิดนาปาล์ม (1)

ในช่วงสงคราม ผู้เสียชีวิต มีชาวเกาหลีใต้ ชาวเกาหลีเหนือ และชาวจีน แหล่งที่มาสี่แห่ง ระบุว่า มีผู้เสียชีวิต เป็นจำนวนนับได้ตั้งแต่ 1.8 ถึง 4.5 ล้านคน (3,4,5,6) แหล่งที่มาอีกอันระบุว่า ตัวเลขทั้งหมดอยู่ที่ 4 ล้าน คน แต่ไม่ได้ระบุถึงเชื้อชาติของผู้ตาย (7)

John H. Kim ทหารผ่านศึกกองทัพสหรัฐฯและประธานคณะกรรมการทหารผ่านศึกเพื่อสันติภาพแห่งสาธารณรัฐเกาหลี กล่าวในบทความว่า ในช่วงสงครามเกาหลี “กองทัพสหรัฐฯ ทั้งกองทัพอากาศ และกองทัพเรือล้วนมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการสังหารพลเรือนราวสามล้านคน – ทั้งในเกาหลีใต้และเกาหลีเหนือ – ในหลายพื้นที่ทั่วเกาหลี … มีรายงานว่า สหรัฐฯทิ้งระเบิดประมาณ 650,000 ตัน ซึ่งรวมถึงระเบิดนาปาล์ม จำนวน 43,000 ตัน ในช่วงสงครามเกาหลี” มันเป็นที่สันนิษฐานว่า ตัวเลขทั้งหมดนี้ยังไม่รวมถึงผู้ที่ได้รับผลกระทบชาวจีน

อีกแหล่งที่มาหนึ่ง ระบุว่า มีผู้เสียชีวิตที่เป็นชาวเกาหลีทั้งสิ้นจำนวน 500,000 คน และโดยการสันนิษฐานระบุว่า ในจำนวนนี้มีเพียงทหารเท่านั้น (8,9)

26.) Laos ลาว

ระหว่างปี 1965-1973 ในช่วงสงครามเวียดนาม สหรัฐฯทิ้งระเบิดมากกว่าสองล้านตันในลาว ซึ่งมากกว่าจำนวนการทิ้งระเบิดจากทั้งสองฝ่ายในสงครามโลกครั้งที่สอง กว่าหนึ่งในสี่ของประชากรกลายสภาพเป็นผู้ลี้ภัย เหตุการณ์นี้ ในภายหลัง ถูกเรียกว่า “สงครามลับ” เนื่องจากว่า สงครามดังกล่าวเกิดขึ้นพร้อมกับสงครามเวียดนาม แต่ไม่ค่อยได้รับความสนใจจากสื่อ มีคนนับแสนถูกสังหาร

Branfman ได้ทำการประมาณการเพียงฉบับเดียวเท่าที่ทราบ ซึ่งระบุว่า มีคนหลายแสนคนเสียชีวิต ทั้งนี้มันสามารถเป็นที่เข้าใจได้ว่า มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อยจำนวน 200,000 ราย (1,2,3)

การแทรกแซงทางทหารของสหรัฐฯในลาว เริ่มมีขึ้นก่อนหน้านี้เป็นระยะเวลานาน สงครามกลางเมืองเริ่มขึ้นในยุค 1950s เมื่อสหรัฐฯทำการคัดเลือกกองทัพลาวจำนวน 40,000 นาย เพื่อใช้ต่อต้านพรรค Pathet Lao พรรคการเมืองฝ่ายซ้าย ที่เข้ามามีอำนาจในที่สุดในปี 1975

อ่านเพิ่ม: ดูเวียดนาม

27.) Nepal เนปาล

จำนวนระหว่าง 8,000 ถึง 12,000 ของชาวเนปาลเสียชีวิตตั้งแต่เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นในปี 1996 อัตราการเสียชีวิตที่ระบุไว้ใน Foreign Policy in Focus พุ่งสูงขึ้นพร้อมๆกับการมาเยือนของอาวุธปืนกล M16 (950 rpm) ของสหรัฐฯกว่า 8,400 กระบอก ผนวกกับที่ปรึกษาจากสหรัฐฯ

ในเนปาลมีพื้นที่ชนบทกว่าร้อยละ 85 และมีความจำเป็นต้องปฏิรูปที่ดินอย่างยิ่ง ไม่น่าแปลกใจทีร้อยละ 42 ของประชาชน จะมีชีวิตอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าระดับความยากจน (1,2)

ในปี 2002 หลังจากสงครามกลางเมืองเกิดขึ้นอีกหน ประธานาธิบดี George W. Bush ได้ผลักดันให้มีการอนุมัติเงินอย่างเป็นทางการจากรัฐสภาคองแกรส เป็นมูลค่ากว่า 20 ล้านดอลลาร์ ในการให้ความช่วยเหลือทางทหารแก่รัฐบาลเนปาล (3)

28.) Nicaragua นิการากัว

ในปี 1981 ขบวนการซานดินิสตา (Sandinistas) ทำการโค่นล้มรัฐบาล Somoza ในประเทศนิการากัว (1) และจนถึงปี 1990 มีรายงานผู้เสียชีวิต ประมาณ 25,000 คน ในนิการากัว ถูกสังหารในการสู้รบระหว่างรัฐบาลซานดินิสตา และกลุ่มกบฏ Contra ที่ตั้งตัวขึ้นจากฝ่ายที่เหลืออยู่ของอดีตรัฐบาลแห่งชาติ Somoza ทั้งนี้การลอบสังหารโดย Contras เกิดขึ้นในปี 1984 (2,3)

สหรัฐฯสนับสนุนระบอบการปกครองของรัฐบาลที่ได้รับชัยชนะ โดยการให้ความช่วยเหลือทางทหารอย่างลับๆแก่ กองกำลังต่อต้านคอมมิวนิสต์ Contras (anti-communist guerillas) ซึ่งเริ่มต้นในเดือนพฤศจิกายน 1981 แต่เมื่อรัฐสภาคองแกรส พบว่า CIA ได้ควบคุม และจัดการการก่อวินาศกรรมในนิการากัวโดยไม่แจ้งให้รัฐสภาทราบ รัฐสภาจึงออกบัญญัติ Boland Amendment ในปี 1983 ซึ่งห้ามมิให้ CIA กระทรวงกลาโหมและหน่วยงานรัฐบาลอื่น ๆ ให้ความช่วยเหลือทางทหารเพิ่มเติมใดๆก็ตาม (4)

แต่พวกเขาก็ยังคงหาวิธีการต่างๆ จากข้อห้ามดังกล่าวนี้ได้ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งไม่ได้รับการคุ้มครองอย่างชัดเจนโดยกฎหมาย ได้ระดมเงินทุนจากภาคเอกชนและต่างประเทศให้แก่กลุ่ม Contras (5) ในที่สุดซานดินิสตา ถูกลงคะแนน ให้ออกจากตำแหน่งในปี 1990 โดยผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่คิดว่าการเปลี่ยนแปลงผู้นำจะทำให้สหรัฐฯสงบลง ชาติมหาอำนาจผู้ซึ่ง ณ ขณะนั้นได้กำลังก่อให้เกิดความทุกข์ยากต่อการเป็นพลเมืองของประเทศนิการากัวผ่านการสนับสนุนฝ่าย Contras

29.) Pakistan ปากีสถาน

ในปี1971 ปากีสถานตะวันตก รัฐเผด็จการที่สหรัฐฯให้การสนับสนุนได้บุกปากีสถานตะวันออกอย่างโหดเหี้ยม สงครามสิ้นสุดลงหลังจากที่อินเดีย ผู้ซึ่ง เศรษฐกิจของตนกำลังถดถอย ภายหลังจากการยอมรับเรื่องผู้อพยพจำนวน 10 ล้านคน ได้รุกรานปากีสถานตะวันออก (ในปัจจุบัน คือ บังกลาเทศ) และทำให้พ่ายแพ้ซึ่งกองกำลังชาวปากีสถานตะวันตก (1)

ผู้คนนับล้านเสียชีวิตในระหว่างการต่อสู้อันโหดร้ายดังกล่าว ซึ่งบางครั้งเรียกว่าการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ โดยปากีสถานตะวันตก ประเทศนั้นเคยเป็นพันธมิตรของสหรัฐฯในระยะเวลานาน โดยความสัมพันธ์เริ่มต้นจากเงินจำนวน 411 ล้านดอลลาร์ ที่ถูกมอบไว้ เพื่อก่อตั้งกองกำลังติดอาวุธ ซึ่งได้ใช้งบประมาณกว่าร้อยละ 80 ไปในการทหาร ทั้งนี้มีเงินจำนวนกว่า 15 ล้านไหลเข้าไปในปากีสถานในระหว่างสงคราม (2,3,4)

แหล่งที่มาสามแห่งคาดว่า มีผู้คนจำนวน 3 ล้านคนเสียชีวิต (5,2,6) และอีกแหล่งหนึ่งระบุว่า มีจำนวนประมาณ 1.5 ล้านคน (3)

30.) Panama ปานามา

ในเดือนธันวาคม 1989 กองทัพสหรัฐฯบุกปานามา ในเจตนา เพื่อจับกุม Manuel Noriega ประธานาธิบดีของประเทศดังกล่าว นี่เป็นตัวอย่างของมุมมองของสหรัฐฯ ที่คิดว่า ตนคือเจ้าโลก ผู้ซึ่งสามารถจับกุมใครก็ได้ตามที่ปรารถนา เป็นเวลาหลายปีก่อนหน้านั้น ที่เขาเคยทำงานให้ CIA แต่ต้องลดบทบาทดังกล่าวลง เขาเป็นที่ไม่ชอบจาก CIA เนื่องมาจากกรณีที่เขาไม่ได้เป็นศัตรูกับซานดินิสตา ในนิการากัว (1) มีการประมาณจำนวนผู้เสียชีวิต อยู่ที่ระหว่าง 500 ถึง 4,000 คน (2,3,4)

31.) Paraguay ปารากวัย : ดูอเมริกาใต้ / ปฏิบัติการเหยี่ยว
32.) Philippines ฟิลิปปินส์

ฟิลิปปินส์ อยู่ภายใต้การควบคุมของสหรัฐฯมานานกว่าร้อยปี ในช่วง 50 ถึง 60 ปีที่ผ่านมา สหรัฐฯได้สนับสนุนด้านการเงินและให้การช่วยเหลือด้านอื่นๆแก่รัฐบาลฟิลิปปินส์หลายชุด ที่มีความพยายามปราบปราม และระงับกิจกรรมของกลุ่มต่างๆที่ทำงานเพื่อสวัสดิการของประชาชน ในปี 1969 คณะกรรมการ Symington ในรัฐสภาสหรัฐฯได้เผยถึง วิธีการที่อาวุธสงครามถูกส่งเข้าไปที่นั้น เพื่อแคมเปญทางการทหารในการต่อต้านการกบฏ

กองกำลัง และหน่วยนาวิกโยธินพิเศษสหรัฐฯ มีบทบาทสำคัญในปฏิบัติการรบต่างๆ (combat operations) จำนวนคนโดยประมาณที่ถูกสังหารและหายตัวไปภายใต้การควบคุมของ Fernando Marcos มีมากกว่า 100,000 คน (1,2)

33.) South America: Operation Condor อเมริกาใต้ ปฏิบัติการเหยี่ยว

ปฏิบัติการเหยี่ยว หรือ Operation Condor คือการดำเนินงานร่วมกันของรัฐบาลเผด็จการแถบเมริกาใต้ ได้แก่ บราซิล โบลิเวีย ชิลี ปารากวัย อุรุกวัย รวมถึงอาร์เจนตินา เพื่อแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองของพวกเขา อันนำไปสู่ปฏิบัติการจัดตั้งหน่วยสังหารร่วมกัน ที่ทำการข้ามแดนเพื่อลักพาตัว ทารุณกรรมและสังหารศัตรูทางการเมืองที่หนีข้ามประเทศ ทั้งนี้มีผู้คนถูกสังหารไปประมาณ 13,000 คน ภายใต้แผนการดังกล่าวนี้ (1)

แผนการนี้ถูกจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 1975 ในประเทศชิลี ผ่านการรวมกลุ่มกันของหน่วยข่าวกรองทางทหารอเมริกันระหว่างประเทศ ตามที่ John Tipton เจ้าหน้าที่สถานทูตสหรัฐฯ ระบุไว้คือ CIA และตำรวจลับของชิลี กำลังทำงานร่วมกันอยู่ แม้ว่า CIA ไม่ได้ตั้งต้น เพื่อทำให้สิ่งนี้ กลายเป็นการทำงานร่วมกัน ทั้งนี้รายงานระบุว่า แผนงานดังกล่าวสิ้นสุดลงในปี 1983 (2)

เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2001 – the New York Times รายงาน ถึงกรณี การมีอยู่ของเอกสารของกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสหรัฐฯ มีส่วนรู้เห็นเกี่ยวกับการสังหารผู้คน ภายใต้ปฏิบัติการเหยี่ยว โดยได้อำนวยความสะดวกด้านการสื่อสาร และให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคสำหรับใช้ในการปฏิบัติการ มีหลักฐานบ่งชี้ว่าหน่วยงานข่าวกรองกลางสหรัฐฯ หรือ CIA ให้คอมพิวเตอร์แก่หน่วยปฏิบัติการเหยี่ยวและติดต่อพวกเขาผ่านทางบริการโทรเลขในกรุงปานามา (3)

34.) Sudan ซูดาน

ตั้งแต่ปี 1955 เมื่อซูดานได้รับเอกราช ก็เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับสงครามกลางเมืองมากที่สุด มีผู้เสียชีวิตจากความขัดแย้งต่างๆ จนถึงปี 2003 เป็นจำนวนกว่า 2 ล้านคนถูกฆ่าตาย ทั้งนี้ไม่เป็นที่แน่ชัดว่า ผู้เสียชีวิตใน Darfur เป็นส่วนหนึ่งของจำนวนรวมดังกล่าวหรือไม่

กลุ่มสิทธิมนุษยชนได้วิจารณ์ว่า นโยบายของสหรัฐฯได้ช่วยยืดระยะเวลาสงครามกลางเมืองซูดาน ผ่านการสนับสนุนความพยายามในการโค่นล้มรัฐบาลกลางใน Khartoum ในปี1999 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ Madeleine Albright ได้พบกับผู้นำกองทัพปลดปล่อยประชาชนซูดาน (SPLA) ซึ่งเธอกล่าวว่า เธอเสนอเสบียงอาหารให้เขา หากเขาปฏิเสธแผนสันติภาพ ซึ่งได้รับการสปอนเซอร์จากอียิปต์และลิเบีย

ในปี 1978 ความหนาแน่นของแหล่งเก็บน้ำมันซูดานถูกค้นพบ และภายในสองปี ซูดานก็กลายมาเป็นผู้รับการช่วยเหลือทางทหารจากสหรัฐฯที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่หก มันย่อมมีเหตุผลเพียงพอที่จะตั้งสมมุติฐานว่า หากรัฐบาลสหรัฐฯให้ความช่วยเหลือรัฐบาลใดให้ขึ้นมามีอำนาจ รัฐบาลนั้นๆ ย่อมรู้สึกว่า จำเป็นต้องแบ่งปันน้ำมันส่วนหนึ่งแก่สหรัฐฯ

กลุ่มชาวอังกฤษชื่อ Christian Aid ได้กล่าวหา บริษัทน้ำมันต่างชาติที่มีส่วนร่วมในแผนการลดจำนวนประชากรของหมู่บ้านต่างๆ บริษัทเหล่านี้ -ไม่ใช่ชาวอเมริกัน- ได้รับความคุ้มครองจากรัฐบาล และในทางกลับกัน พวกเขาก็อนุญาตให้รัฐบาลใช้ทางวิ่งเครื่องบิน และถนนของพวกเขาได้

ในเดือนสิงหาคมปี 1998 สหรัฐฯได้ทิ้งระเบิดใส่ Khartoum ในซูดาน ด้วยขีปนาวุธร่อนจำนวน 75 ลูก รัฐบาลสหรัฐฯ บอกว่า เป้าหมายเป็นโรงงานผลิตอาวุธเคมีที่ Osama bin Laden เป็นเจ้าของ ที่จริงแล้วบินลาเดนไม่ได้เป็นเจ้าของอีกต่อไปแล้ว และโรงงานแห่งนี้ยังเป็น ผู้จัดจำหน่ายด้านเภสัชกรรมแก่ประเทศยากจนเพียงแห่งเดียวเท่านั้นอีกด้วย ทั้งนี้ผลของการทิ้งระเบิด ส่งผลทำให้มีการเสียชีวิตของผู้คนนับนับหมื่นคน เนื่องจากขาดยารักษาโรคมาลาเรีย วัณโรค และโรคอื่น ๆ (1,2)

35.) Uruguay อุรกวัย: ดูอเมริกาใต้/ ปฏิบัติการเหยี่ยว
36.) Vietnam เวียดนาม

ในเวียดนาม ภายใต้ข้อตกลงหนึ่ง ในหลายทศวรรษที่ผ่านมา ระบุว่า มันควรมีการเลือกตั้ง เพื่อเอกภาพของเวียดนามเหนือและใต้ ทว่าสหรัฐฯต่อต้านสิ่งนี้ และสนับสนุนรัฐบาล Diem ในเวียดนามใต้

ในเดือนสิงหาคมปี 1964 CIA และฝ่ายอื่น ๆ ได้ช่วยกันกุเรื่องจอมปลอม กรณีเวียดนามโจมตีเรือสหรัฐฯในอ่าวตังเกี๋ยขึ้น ทำให้เหตุการณ์ดังกล่าวถูกนำไปใช้เป็นข้ออ้างในการมีส่วนร่วม และแทรกแซงทางการเมืองของสหรัฐฯในเวียดนามที่กว้างขวางขึ้น (1)

ในช่วงสงครามดังกล่าว ปฏิบัติการลอบสังหารโดยชาวอเมริกันที่เรียกว่า ปฏิบัติการฟีนิกซ์ (Operation Phoenix) ได้ก่อการร้ายต่อชาวเวียดนามใต้ และในช่วงสงครามดังกล่าว กองทัพอเมริกันมีส่วนรับผิดชอบในการฆ่าล้างผู้บริสุทธิ์ชาวเวียดนาม เป็นจำนวนมากภายในหมู่บ้าน My Lai ในปี 1968

ตามที่ระบุไว้ในคำแถลงของรัฐบาลเวียดนามในปี 1995 มีจำนวนผู้เสียชีวิตจากพลเรือนและบุคลากรทางทหารในช่วงสงครามเวียดนามมากถึง 5.1 ล้านคน (2)

เนื่องจาก ผู้เสียชีวิตในกัมพูชาและลาวมีจำนวนประมาณ 2.7 ล้านคน (ดูประเทศกัมพูชาและลาว) ดังนั้น จึงนับได้ว่า มีผู้สูญเสียชีวิตจากสงครามเวียดนามทั้งสิ้น เท่ากับ 7.8 ล้านคน

ทั้งนี้ คณะกรรมการตรวจสอบและค้นหาความจริง ระบุจำนวนผู้เสียชีวิตจากสงครามดังกล่าวว่ามีอยู่ 5 ล้านคน (3) ขณะที่ Robert McNamara อดีตเลขาธิการกระทรวงกลาโหม ตามที่มีรายงานใน นิตยสาร the New York Times ระบุว่า ชาวเวียดนามที่เสียชีวิตมีทั้งสิ้น 3.4 ล้านคน (4,5)

37.) Yugoslavia ยูโกสลาเวีย

ยูโกสลาเวีย เป็นสหพันธ์สังคมนิยมของสาธารณรัฐหลายแห่ง เนื่องมาจากยูโกสลาเวียปฏิเสธที่จะเชื่อมโยงกับสหภาพโซเวียตในช่วงสงครามเย็น จึงได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ แต่เมื่อสหภาพโซเวียตยุบสลายลง ประโยชน์ของยูโกสลาเวียต่อสหรัฐฯก็สิ้นสุดลงเช่นกัน สหรัฐอเมริกา ผนวกกับเยอรมนี ได้ทำงานรวมกัน ในความพยายามเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมของยูโกสลาเวีย ให้เป็นแบบทุนนิยม ผ่านกระบวนการหลัก คือ ยุทธการแบ่งแยกแล้วปกครอง

ทั้งนี้ สหรัฐฯได้ใช้ความแตกต่างทางเชื้อชาติและศาสนา ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ระหว่างภาคส่วนต่างๆของยูโกสลาเวีย ในการแบ่งแยก ให้ประชาชนเกิดความเกลียดชังซึ่งกันและกัน จนนำไปสู่สงครามหลายครั้ง อันเป็นสาเหตุทำให้ประเทศของตนต้องล่มสลายลง

ตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษที่ 1990 จนถึงขณะนี้ ยูโกสลาเวียแยกออกเป็นประเทศเอกราชหลายแห่ง ซึ่งรายได้ที่ลดลงพร้อมกับการเรียกเก็บเงินจาก CIA ได้ทำให้ยูโกสลาเวีย กลายเป็นเบี้ยหมากหนึ่งที่ตกอยู่ในมือของประเทศทุนนิยม (1) ทั้งนี้การล่มสลายลงของยูโกสลาเวียเป็นผลมาจากการแทรกแซงทางการเมืองของสหรัฐฯเป็นหลัก (2)

และดังต่อไปนี้ เป็นข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนผู้เสียชีวิตจากสงครามภายในของยูโกสลาเวีย

– สงครามทั้งหมด: 107,000 ราย; (3,4)

– บอสเนีย และ ครายีนา: 250,000 ราย; (5) บอสเนีย: 20,000 ถึง 30,000 ราย; (5) โครเอเชีย: 15,000 ราย; (6) และ คอซอวอ: 500 ถึง 5,000 ราย (7)

____________________

อ้างอิง:

Afghanistan

1.Mark Zepezauer, Boomerang (Monroe, Maine: Common Courage Press, 2003), p.135.

2.Chronology of American State Terrorism
http://www.intellnet.org/resources/american_
terrorism/ChronologyofTerror.html

3.Soviet War in Afghanistan
http://en.wikipedia.org/wiki/Soviet_war_in_Afghanistan

4.Mark Zepezauer, The CIA’S Greatest Hits (Monroe, Maine: Common Courage Press, 1994), p.76

5.U.S Involvement in Afghanistan, Wikipedia
http://en.wikipedia.org/wiki/Soviet_war_in Afghanistan)

6.The CIA’s Intervention in Afghanistan, Interview with Zbigniew Brzezinski, Le Nouvel Observateur, Paris, 15-21 January 1998, Posted at globalresearch.ca 15 October 2001, http://www.globalresearch.ca/articles/BRZ110A.html

7.William Blum, Rogue State (Monroe, Maine: Common Courage Press, 2000), p.5

8.Unknown News, http://www.unknownnews.net/casualtiesw.html

Angola

1.Howard W. French “From Old Files, a New Story of the U.S. Role in the Angolan War” New York Times 3/31/02

2.Angolan Update, American Friends Service Committee FS, 11/1/99 flyer.

3.Norman Solomon, War Made Easy, (John Wiley & Sons, 2005) p. 82-83.

4.Lance Selfa, U.S. Imperialism, A Century of Slaughter, International Socialist Review Issue 7, Spring 1999 (as appears in Third world Traveler www. thirdworldtraveler.com/American_Empire/Century_Imperialism.html)

  1. Jeffress Ramsay, Africa , (Dushkin/McGraw Hill Guilford Connecticut), 1997, p. 144-145.

6.Mark Zepezauer, The CIA’S Greatest Hits (Monroe, Maine: Common Courage Press, 1994), p.54.

Argentina : See South America: Operation Condor

Bolivia

  1. Phil Gunson, Guardian, 5/6/02,
    http://www.guardian.co.uk/archive /article/0,4273,41-07884,00.html

2.Jerry Meldon, Return of Bolilvia’s Drug – Stained Dictator, Consortium,www.consortiumnews.com/archives/story40.html.

Brazil See South America: Operation Condor

Cambodia

1.Virtual Truth Commissiion http://www.geocities.com/~virtualtruth/ .

2.David Model, President Richard Nixon, Henry Kissinger, and the Bombing of Cambodia excerpted from the book Lying for Empire How to Commit War Crimes With A Straight Face, Common Courage Press, 2005, paperhttp://thirdworldtraveler.com/American_Empire/Nixon_Cambodia_LFE.html.

3.Noam Chomsky, Chomsky on Cambodia under Pol Pot, etc.,http//zmag.org/forums/chomcambodforum.htm.

Chad

1.William Blum, Rogue State (Monroe, Maine: Common Courage Press, 2000), p. 151-152 .

2.Richard Keeble, Crimes Against Humanity in Chad, Znet/Activism 12/4/06http://www.zmag.org/content/print_article.cfm?itemID=11560&sectionID=1).

Chile

1.Parenti, Michael, The Sword and the Dollar (New York, St. Martin’s Press, 1989) p. 56.

2.William Blum, Rogue State (Monroe, Maine: Common Courage Press, 2000), p. 142-143.

3.Moreorless: Heroes and Killers of the 20th Century, Augusto Pinochet Ugarte,

http://www.moreorless.au.com/killers/pinochet.html

4.Associated Press,Pincohet on 91st Birthday, Takes Responsibility for Regimes’s Abuses, Dayton Daily News 11/26/06

5.Chalmers Johnson, Blowback, The Costs and Consequences of American Empire (New York: Henry Holt and Company, 2000), p. 18.

China: See Korea

Colombia

1.Chronology of American State Terrorism, p.2

http://www.intellnet.org/resources/american_terrorism/ChronologyofTerror.html).

2.William Blum, Rogue State (Monroe, Maine: Common Courage Press, 2000), p. 163.

3.Millions Killed by Imperialism Washington Post May 6, 2002)http://www.etext.org./Politics/MIM/rail/impkills.html

4.Gabriella Gamini, CIA Set Up Death Squads in Colombia Times Newspapers Limited, Dec. 5, 1996,www.edu/CommunicationsStudies/ben/news/cia/961205.death.html).

5.Virtual Truth Commission, 1991

Human Rights Watch Report: Colombia’s Killer Networks–The Military-Paramilitary Partnership).

Cuba

1.St. James Encyclopedia of Popular Culture – on Bay of Pigs Invasionhttp://bookrags.com/Bay_of_Pigs_Invasion.

2.Wikipedia http://bookrags.com/Bay_of_Pigs_Invasion#Casualties.

Democratic Republic of Congo (Formerly Zaire)

1.F. Jeffress Ramsey, Africa (Guilford Connecticut, 1997), p. 85

  1. Anup Shaw The Democratic Republic of Congo, 10/31/2003)http://www.globalissues.org/Geopolitics/Africa/DRC.asp)

3.Kevin Whitelaw, A Killing in Congo, U. S. News and World Reporthttp://www.usnews.com/usnews/doubleissue/mysteries/patrice.htm

4.William Blum, Killing Hope (Monroe, Maine: Common Courage Press, 1995), p 158-159.

5.Ibid.,p. 260

6.Ibid.,p. 259

7.Ibid.,p.262

8.David Pickering, “World War in Africa, 6/26/02,
www.9-11peace.org/bulletin.php3

9.William D. Hartung and Bridget Moix, Deadly Legacy; U.S. Arms to Africa and the Congo War, Arms Trade Resource Center, January , 2000www.worldpolicy.org/projects/arms/reports/congo.htm

Dominican Republic

1.Norman Solomon, (untitled) Baltimore Sun April 26, 2005
http://www.globalpolicy.org/empire/history/2005/0426spincycle.htm
Intervention Spin Cycle

2.Wikipedia. http://en.wikipedia.org/wiki/Operation_Power_Pack

3.William Blum, Killing Hope (Monroe, Maine: Common Courage Press, 1995), p. 175.

4.Mark Zepezauer, The CIA’S Greatest Hits (Monroe, Maine: Common Courage Press, 1994), p.26-27.

East Timor

1.Virtual Truth Commission, http://www.geocities.com/~virtualtruth/date4.htm

2.Matthew Jardine, Unraveling Indonesia, Nonviolent Activist, 1997)

3.Chronology of American State Terrorismhttp://www.intellnet.org/resources/american_terrorism/ChronologyofTerror.html

4.William Blum, Killing Hope (Monroe, Maine: Common Courage Press, 1995), p. 197.

5.US trained butchers of Timor, The Guardian, London. Cited by The Drudge Report, September 19, 1999. http://www.geocities.com/~virtualtruth/indon.htm

El Salvador

1.Robert T. Buckman, Latin America 2003, (Stryker-Post Publications Baltimore 2003) p. 152-153.

2.William Blum, Rogue State (Monroe, Maine: Common Courage Press, 2000), p. 54-55.

3.El Salvador, Wikipediahttp://en.wikipedia.org/wiki/El_Salvador#The_20th_century_and_beyond)

4.Virtual Truth Commissiion http://www.geocities.com/~virtualtruth/.

Grenada

1.Mark Zepezauer, The CIA’S Greatest Hits (Monroe, Maine: Common Courage Press, 1994), p. 66-67.

2.Stephen Zunes, The U.S. Invasion of Grenada,http://wwwfpif.org/papers/grenada2003.html .

Guatemala

1.Virtual Truth Commissiion http://www.geocities.com/~virtualtruth/

2.Ibid.

3.Mark Zepezauer, The CIA’S Greatest Hits (Monroe, Maine: Common Courage Press, 1994), p.2-13.

4.Robert T. Buckman, Latin America 2003 (Stryker-Post Publications Baltimore 2003) p. 162.

5.Douglas Farah, Papers Show U.S. Role in Guatemalan Abuses, Washington Post Foreign Service, March 11, 1999, A 26

Haiti

1.Francois Duvalier,http://en.wikipedia.org/wiki/Fran%C3%A7ois_Duvalier#Reign_of_terror).

2.Mark Zepezauer, The CIA’S Greatest Hits (Monroe, Maine: Common Courage Press, 1994), p 87.

3.William Blum, Haiti 1986-1994: Who Will Rid Me of This Turbulent Priest,http://www.doublestandards.org/blum8.html

Honduras

1.William Blum, Rogue State (Monroe, Maine: Common Courage Press, 2000), p. 55.

2.Reports by Country: Honduras, Virtual Truth Commissionhttp://www.geocities.com/~virtualtruth/honduras.htm

3.James A. Lucas, Torture Gets The Silence Treatment, Countercurrents, July 26, 2004.

4.Gary Cohn and Ginger Thompson, Unearthed: Fatal Secrets, Baltimore Sun, reprint of a series that appeared June 11-18, 1995 in Jack Nelson-Pallmeyer, School of Assassins, p. 46 Orbis Books 2001.

5.Michael Dobbs, Negroponte’s Time in Honduras at Issue, Washington Post, March 21, 2005

Hungary

1.Edited by Malcolm Byrne, The 1956 Hungarian Revoluiton: A history in Documents November 4, 2002http://www.gwu.edu/~nsarchiv/NSAEBB/NSAEBB76/index2.htm

2.Wikipedia The Free Encyclopedia,
http://www.answers.com/topic/hungarian-revolution-of-1956

Indonesia

1.Virtual Truth Commission http://www.geocities.com/~virtualtruth/.

2.Editorial, Indonesia’s Killers, The Nation, March 30, 1998.

3.Matthew Jardine, Indonesia Unraveling, Non Violent Activist Sept–Oct, 1997 (Amnesty) 2/7/07.

4.Sison, Jose Maria, Reflections on the 1965 Massacre in Indonesia, p. 5.http://qc.indymedia.org/mail.php?id=5602;

5.Annie Pohlman, Women and the Indonesian Killings of 1965-1966: Gender Variables and Possible Direction for Research, p.4,http://coombs.anu.edu.au/SpecialProj/ASAA/biennial-conference/2004/Pohlman-A-ASAA.pdf

6.Peter Dale Scott, The United States and the Overthrow of Sukarno, 1965-1967, Pacific Affairs, 58, Summer 1985, pages 239-264.http://www.namebase.org/scott.

7.Mark Zepezauer, The CIA’S Greatest Hits (Monroe, Maine: Common Courage Press, 1994), p.30.

Iran

1.Geoff Simons, Iraq from Sumer to Saddam, 1996, St. Martins Press, NY p. 317.

2.Chronology of American State Terrorismhttp://www.intellnet.org/resources/american_terrorism/ChronologyofTerror.html.

3.BBC 1988: US Warship Shoots Down Iranian Airlinerhttp://news.bbc.co.uk/onthisday/default.stm )

Iraq

Iran-Iraq War

1.Michael Dobbs, U.S. Had Key role in Iraq Buildup, Washington Post December 30, 2002, p A01 http://www.washingtonpost.com/ac2/wp-dyn/A52241-2002Dec29?language=printer

2.Global Security.Org , Iran Iraq War (1980-1980)globalsecurity.org/military/world/war/iran-iraq.htm.

U.S. Iraq War and Sanctions

1.Ramsey Clark, The Fire This Time (New York, Thunder’s Mouth), 1994, p.31-32

2.Ibid., p. 52-54

3.Ibid., p. 43

4.Anthony Arnove, Iraq Under Siege, (South End Press Cambridge MA 2000). p. 175.

5.Food and Agricultural Organizaiton, The Children are Dying, 1995 World View Forum, Internationa Action Center, International Relief Association, p. 78

6.Anthony Arnove, Iraq Under Siege, South End Press Cambridge MA 2000. p. 61.

7.David Cortright, A Hard Look at Iraq Sanctions December 3, 2001, The Nation.

U.S-Iraq War 2003-?

1.Jonathan Bor 654,000 Deaths Tied to Iraq War Baltimore Sun , October 11,2006

2.News http://www.unknownnews.net/casualties.html

Israeli-Palestinian War

1.Post-1967 Palestinian & Israeli Deaths from Occupation & Violence May 16, 2006 http://globalavoidablemortality.blogspot.com/2006/05/post-1967-palestinian-israeli-deaths.html)

2.Chronology of American State Terrorism

http://www.intellnet.org/resources/american_terrorism/ChronologyofTerror.html

Korea

1.James I. Matray Revisiting Korea: Exposing Myths of the Forgotten War, Korean War Teachers Conference: The Korean War, February 9, 2001http://www.truman/library.org/Korea/matray1.htm

2.William Blum, Killing Hope (Monroe, Maine: Common Courage Press, 1995), p. 46

3.Kanako Tokuno, Chinese Winter Offensive in Korean War – the Debacle of American Strategy, ICE Case Studies Number 186, May, 2006http://www.american.edu/ted/ice/chosin.htm.

4.John G. Stroessinger, Why Nations go to War, (New York; St. Martin’s Press), p. 99)

5.Britannica Concise Encyclopedia, as reported in Answers.comhttp://www.answers.com/topic/Korean-war

6.Exploring the Environment: Korean Enigmawww.cet.edu/ete/modules/korea/kwar.html)

7.S. Brian Wilson, Who are the Real Terrorists? Virtual Truth Commissonhttp://www.geocities.com/~virtualtruth/

8.Korean War Casualty Statistics www.century china.com/history/krwarcost.html)

9.S. Brian Wilson, Documenting U.S. War Crimes in North Korea (Veterans for Peace Newsletter) Spring, 2002) http://www.veteransforpeace.org/

Laos

1.William Blum Rogue State (Maine, Common Cause Press) p. 136

2.Chronology of American State Terrorismhttp://www.intellnet.org/resources/american_terrorism/ChronologyofTerror.html

3.Fred Branfman, War Crimes in Indochina and our Troubled National Soul

www.wagingpeace.org/articles/2004/08/00_branfman_us-warcrimes-indochina.htm).

Nepal

1.Conn Hallinan, Nepal & the Bush Administration: Into Thin Air, February 3, 2004

fpif.org/commentary/2004/0402nepal.html.

2.Human Rights Watch, Nepal’s Civil War: the Conflict Resumes, March 2006 )

http://hrw.org/english/docs/2006/03/28/nepal13078.htm.

3.Wayne Madsen, Possible CIA Hand in the Murder of the Nepal Royal Family, India Independent Media Center, September 25, 2001http://india.indymedia.org/en/2002/09/2190.shtml.

Nicaragua

1.Virtual Truth Commission
http://www.geocities.com/~virtualtruth/.

2.Timeline Nicaragua
www.stanford.edu/group/arts/nicaragua/discovery_eng/timeline/).

3.Chronology of American State Terrorism,
http://www.intellnet.org/resources/american_terrorism/ChronologyofTerror.html.

4.William Blum, Nicaragua 1981-1990 Destabilization in Slow Motion

www.thirdworldtraveler.com/Blum/Nicaragua_KH.html.

5.Wikipedia, the Free Encyclopedia,
http://en.wikipedia.org/wiki/Iran-Contra_Affair.

Pakistan

1.John G. Stoessinger, Why Nations Go to War, (New York: St. Martin’s Press), 1974 pp 157-172.

2.Asad Ismi, A U.S. – Financed Military Dictatorship, The CCPA Monitor, June 2002, Canadian Centre for Policy Alternatives http://www.policyaltematives.ca)www.ckln.fm/~asadismi/pakistan.html

3.Mark Zepezauer, Boomerang (Monroe, Maine: Common Courage Press, 2003), p.123, 124.

4.Arjum Niaz ,When America Look the Other Way by,

www.zmag.org/content/print_article.cfm?itemID=2821&sectionID=1

5.Leo Kuper, Genocide (Yale University Press, 1981), p. 79.

6.Bangladesh Liberation War , Wikipedia, the Free Encyclopediahttp://en.wikipedia.org/wiki/Bangladesh_Liberation_War#USA_and_USSR)

Panama

1.Mark Zepezauer, The CIA’s Greatest Hits, (Odonian Press 1998) p. 83.

2.William Blum, Rogue State (Monroe, Maine: Common Courage Press, 2000), p.154.

3.U.S. Military Charged with Mass Murder, The Winds 9/96,www.apfn.org/thewinds/archive/war/a102896b.html

4.Mark Zepezauer, CIA’S Greatest Hits (Monroe, Maine: Common Courage Press, 1994), p.83.

Paraguay See South America: Operation Condor

Philippines

1.Romeo T. Capulong, A Century of Crimes Against the Filipino People, Presentation, Public Interest Law Center, World Tribunal for Iraq Trial in New York City on August 25,2004.
http://www.peoplejudgebush.org/files/RomeoCapulong.pdf).

2.Roland B. Simbulan The CIA in Manila – Covert Operations and the CIA’s Hidden Hisotry in the Philippines Equipo Nizkor Information – Derechos, derechos.org/nizkor/filipinas/doc/cia.

South America: Operation Condor

1.John Dinges, Pulling Back the Veil on Condor, The Nation, July 24, 2000.

2.Virtual Truth Commission, Telling the Truth for a Better Americawww.geocities.com/~virtualtruth/condor.htm)

3.Operation Condorhttp://en.wikipedia.org/wiki/Operation_Condor#US_involvement).

Sudan

1.Mark Zepezauer, Boomerang, (Monroe, Maine: Common Courage Press, 2003), p. 30, 32,34,36.

2.The Black Commentator, Africa Action The Tale of Two Genocides: The Failed US Response to Rwanda and Darfur, 11 August 2006http://www.truthout.org/docs_2006/091706X.shtml.

Uruguay See South America: Operation Condor

Vietnam

1.Mark Zepezauer, The CIA’S Greatest Hits (Monroe, Maine:Common Courage Press,1994), p 24

2.Casualties – US vs NVA/VC,
http://www.rjsmith.com/kia_tbl.html.

3.Brian Wilson, Virtual Truth Commission
http://www.geocities.com/~virtualtruth/

4.Fred Branfman, U.S. War Crimes in Indochiona and our Duty to Truth August 26, 2004

www.zmag.org/content/print_article.cfm?itemID=6105&sectionID=1

5.David K Shipler, Robert McNamara and the Ghosts of Vietnamnytimes.com/library/world/asia/081097vietnam-mcnamara.html

Yugoslavia

1.Sara Flounders, Bosnia Tragedy:The Unknown Role of the Pentagon in NATO in the Balkans (New York: International Action Center) p. 47-75

2.James A. Lucas, Media Disinformation on the War in Yugoslavia: The Dayton Peace Accords Revisited, Global Research, September 7, 2005 http://www.globalresearch.ca/index.php?context=
viewArticle&code=LUC20050907&articleId=899

3.Yugoslav Wars in 1990s
http://en.wikipedia.org/wiki/Yugoslav_wars.

4.George Kenney, The Bosnia Calculation: How Many Have Died? Not nearly as many as some would have you think., NY Times Magazine, April 23, 1995

http://www.balkan-archive.org.yu/politics/
war_crimes/srebrenica/bosnia_numbers.html
)

5.Chronology of American State Terrorism

http://www.intellnet.org/resources/american_terrorism/
ChronologyofTerror.html.

6.Croatian War of Independence, Wikipedia
http://en.wikipedia.org/wiki/Croatian_War_of_Independence

7.Human Rights Watch, New Figures on Civilian Deaths in Kosovo War, (February 7, 2000) http://www.hrw.org/press/2000/02/nato207.htm.

____________________

Source: The original source of this article is Popular Resistance

Copyright © James A. Lucas, Popular Resistance, 2017