อิหร่านเป็นเจ้าภาพจัดเสวนา พุทธ-อิสลาม ในการเผชิญหน้ากับความรุนแรง

5527

การเสวนาทวิภาคีระหว่างศาสนาอิสลามกับพุทธศาสนาในการเผชิญหน้าต่อสู้กับความรุนแรง ได้จัดขึ้น ณ. เมืองกุมอันศักดิ์สิทธิ สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน โดยมีนักวิชาการ มุสลิมและพุทธจากประเทศศรีลังกา ไทย และพม่าเข้าร่วม ณ. วิทยาลัยศาสนาและมัศฮับ เมืองกุม อิหร่าน ระหว่างวันที่ 30-31 ธันวาคม 2557

อาลี มุฮัมมัด ฮัมลี ประธานสถาบันเสวนาสานสัมพันธ์ศาสนาและอารยะธรรมเปิดเผยว่า ประเด็นหลักในการเสวนาครั้งนี้ คือ การต่อสู้กับความสุดโต่งและความรุนแรง ความจำเป็นสำหรับความร่วมมือระหว่างชาวมุสลิมและผู้นำชาวพุทธ เพื่อส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างสันติระหว่างชาวมุสลิมและชาวพุทธและเพื่อเป็นการปูทางสร้างความสงบสันติควบคู่กับความยุติธรรม อันเป็นคุณค่าทางศาสนา

n00429629-r-s-019
ผู้เข้าร่วมในการเสวนาระหว่างศาสนาอิสลามและศาสนาพุทธในตอนท้ายของการประชุมได้ออกแถลงการณ์ร่วมประณามพฤติกรรมที่รุนแรงป่าเถื่อนที่เกิดขึ้นในโลก และมีความพยายามร่วมกันที่จะวางรากฐานสำหรับสันติภาพและความยุติธรรมในสำนักคิดต่างๆของทุกศาสนา

เช่นเดียวกัน ยังได้เน้นย้ำในประเด็น การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และพยายามกำจัดความรุนแรงและความสุดโต่งต่างๆเพื่อให้โลกปลอดจากเรื่องเหล่านี้ การให้ความสำคัญและความเคารพต่อคำสอนที่ศักดิ์สิทธิ์และศาสนสถานของทุกศาสนา ประณามการก่อความรุนแรงและความสุดโต่งในนามของศาสนาที่เกิดขึ้นทั่วโลก และเน้นย้ำในประเด็น แสดงจุดยืนร่วมในการต่อต้านบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาและให้ความสำคัญกับความเป็นเอกภาพและความสามัคคีระหว่างศาสนาและสำนักคิด ในการแก้ปัญหาของโลกในปัจจุบัน ซึ่งทั้งหมดเป็นประเด็นหัวข้อที่มีการพิจารณา ในการเสวนาทวิภาคีระหว่างศาสนาอิสลามและศาสนาพุทธครั้งนี้

 

n00429629-r-s-033
อะบู ซัร อิบรอฮีม ตุรกะมอน ประธานองค์การความสัมพันธ์และวัฒนธรรมอิสลามอิหร่าน ได้ให้สัมภาษณ์ ในการเสวนาเรื่องนี้ โดยชี้ถึง การใช้ความรุนแรงที่เกิดขึ้นทั่วโลก ว่า ในการเสวนาครั้งนี้ทางเราพยายามที่จะนำเสนอและชี้ให้เห็นว่า ความรุนแรงและความคลั่งไคล้ ไม่มีรากฐานและรากเหง้าใดๆจากทุกศาสนา

เขากล่าวเสริมว่า วันนี้ทุกความรุนแรงที่เกิดขึ้นต่อมนุษยชาติ ล้วนเป็นร่องรอยของแนวความคิดและค่านิยมแห่งความเขลาของมนุษย์ ในการพยายามทำความเข้าใจความคิดและค่านิยมที่ถูกต้องสูงส่ง และการตกอยู่ภายใต้การถูกครอบงำของอารมณ์ใฝ่ต่ำของมนุษย์ จนกระทั้งมันสามารถครอบงำมนุษย์ให้ปฏิเสธในการยอมรับสัจธรรมและกลายเป็นคนที่เขลาไร้เหตุและผล

n00429629-r-s-029
เขากล่าวเสริมว่า วิธีเดียวที่สามารถจัดการกับปรากฏการณ์อันเลวร้ายที่มีอยู่ในโลก คือ ต้องให้ตัวเองหลุดพ้นจากการถูกพันธนาการ และแปรเปลี่ยนจากการถูกจองจำทางความคิด เหมือนกับข้อเสนอของประธานาธิบดีอิหร่านในที่ประชุมสมัชชาใหญ่ในหัวข้อที่เสนอว่า “โลกต่อต้านความรุนแรงและความสุดโต่ง” เพื่อนำเสนอกรอบคิดสำหรับอนาคตที่สดใสของมนุษย์ชาติ

ฮุจญตุลอิสลาม ซัยยิด อบู ฮะซัน นาวาบ อธิการบดี วิทยาลัยศาสนาและมัศฮับ เมืองกุม อิหร่าน ได้กล่าวว่า “ชาวมุสลิมและชาวพุทธมีมากกว่าหนึ่งในสามของประชากรโลกทั้งหมด” และกล่าวย้ำว่า ทั้งสองศาสนาควรมุ่งมั่นที่จะนำเสนอเรื่องนี้เพื่อนอนาคตที่สดใสของเพื่อนมนุษย์

อธิการบดีวิทยาลัยกล่าวเสริมว่า ประวัติความสัมพันธ์ระหว่างศาสนาอิสลามกับศาสนาพุทธมันชัดเจนยิ่งนัก ไม่ว่าในประเทศที่มีชาวมุสลิมเป็นส่วนใหญ่หรือในประเทศที่มีชาวพุทธเป็นส่วนใหญ่ และสิ่งที่สำคัญในวันนี้คือการนำเสนออนาคตที่สดใสและชัดเจนปราศจากความรุนแรง

เขากล่าวเสริมว่า อิสลามคือศาสนาแห่งสันติ มิตรภาพและย้ำในการดำเนินชีวิตแบบสันติวิธีและยึดความสบงสุขของมนุษย์เป็นที่ตั้ง และความรุนแรงที่เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในนามของศาสนาในโลกวันนี้ มันไม่มีพื้นฐานและรากฐานใดๆทางศาสนา

บนพื้นฐานความบิดเบือนอันนี้ หากกลุ่มหัวรุนแรงที่แอบอ้างศาสนา ได้ใช้คมดาบของพวกเขาในนามของศาสนาในการสังหารพี่น้องผู้บริสุทธิ์ นั้นเกิดจากความไม่รู้และความโง่เขลาของพวกเขาที่ถูกครอบงำ ดังนั้นวิธีการที่ดีสุดในการเผชิญหน้ากับกลุ่มนี้ คือ การพิจารณารากเหง้าและที่มาของอวิชชาเชิงศาสนา จากนั้นต้องกำหนดแผนการะยะยาวในการเผชิญหน้ากับกลุ่มหัวรุนแรง

ความรุนแรงที่เกิดขึ้นล่าสุดในพม่า ระหว่างชาวมุสลิมและชาวพุทธในพม่า เป็นความหวาดวิตกและกังวลอย่างมากสำหรับทุกคนที่คิดคำนึงในความสงบสุขของมวลมนุษยชาติ

 

 

n00429629-r-s-001 n00429629-r-s-006 n00429629-r-s-011 n00429629-r-s-013 n00429629-r-s-003 n00429629-r-s-000 n00429629-r-s-005 n00429629-r-s-004 n00429629-r-s-015 n00429629-r-s-021 n00429629-r-s-025 n00429629-r-s-020 n00429629-r-s-014 n00429629-r-s-026 n00429629-r-s-023 n00429629-r-s-016

 

http://www.islamtimes.org/fa/doc/gallery/429629/1/گفت-وگوهای-چند-جانبه-اسلام-بودیسم-مقابله-خشونت