8 แบบฉบับด้านจริยธรรมของศาสดาอิสลามในการทำ“ศึกสงคราม” ตอนที่ 3

220

เมื่อเอ่ยถึงสงครามภาพที่นึกถึงมันเป็นเรื่องโหดร้าย, การสูญเสีย, ความเคียดแค้น และน่าหดหู่ และสิ่งที่หลีกหนีไม่พ้นเลยก็คือพลเรือนที่ตกเป็นเหยื่อหลักของสงคราม แต่ในคำสอนของอิสลามพลเรือนจะต้องอยู่ในความปลอดภัยและได้รับการคุ้มครองอย่างสมบูรณ์ และไม่มีใครมีสิทธิ์ที่จะทำอันตรายและทำร้ายพวกเขาได้

 แบบฉบับทางด้านจริยธรรมในการทำสงครามของท่านศาสดา(ศ)

4. การห้ามฆ่าพลเรือน

อิสลามเป็นศาสนาแห่งความเป็นสุภาพบุรุษและความจริงข้อนี้ถูกสำแดงให้เห็นเป็นการเฉพาะในวิถีการดำเนินชีวิตของท่านศาสดา(ศ)และบรรดาผู้นำทางศาสนา โดยปกติพลเรือนจะตกเป็นเหยื่อหลักของสงคราม แต่ในคำสอนของอิสลามพลเรือนจะต้องอยู่ในความปลอดภัยและได้รับการคุ้มครองอย่างสมบูรณ์ และไม่มีใครมีสิทธิ์ที่จะทำอันตรายและทำร้ายพวกเขาได้ เมื่อท่านศาสดาจะส่งกองย่อยออกไปปฏิบัติภารกิจ ท่านจะเรียกพวกเขามาพบกำชับสั่งเสียสิ่งต่างๆที่มีความจำเป็นแก่พวกเขา อย่างเช่น ท่านจะกล่าวว่า “และจงอย่าฆ่าคนชราและเด็ก”

ยิ่งไปกว่านั้นในสงคราม หากพลเรือนถูกฆ่าตายอย่างไม่เป็นธรรม ค่าทำขวัญจะต้องถูกจ่ายจากกองคลังของอิสลาม

อิบนุอิสหาก ได้เขียนว่า “ในเหตุการณ์การพิชิตนครมักกะฮฺ ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺได้ส่งกองทหารไปยังพื้นที่รอบๆนครมักกะฮฺ  เพื่อให้พวกเขาประกาศเชิญชวนประชาชนมาสู่ศาสนาอิสลาม และท่านไม่ได้ออกคำสั่งให้พวกเขาทำสงครามและการต่อสู้  ตัวอย่างเช่น ท่านศาสดา(ศ)ส่ง คอลิด บิน วะลีด ไปยังเผ่าบนีชุชัยมะฮฺ เพื่อเรียกร้องเชิญชวนพวกเขามาสู่ศาสนาอิสลาม และไม่ได้ส่งเขาให้ไปทำการต่อสู้กับบุคคลเหล่านั้น  แต่วะลีดได้ทำสงครามกับพวกเขาและได้ฆ่าเชลยจำนวนหนึ่ง ด้วยพฤติกรรมดังกล่าวเขาได้ละเมิดกฎเกณฑ์และพันธสัญญาทั้งหมดของอิสลามและได้แสดงให้เห็นถึงภาพลักษณ์ของความรุนแรงและการละเมิดพันธสัญญาของชาวมุสลิม ด้วยเหตุนี้เองการกระทำที่น่าเกลียดและความโหดร้ายของเขาได้ล่วงรู้ถึงท่านศาสดา(ศ)  ท่านได้ยกมือขึ้นสู่ฟากฟ้าท่ามกลางบรรดาผู้ที่เข้าร่วมอยู่ในมักกะฮฺทั้งหมดและกล่าวขึ้นด้วยเสียงดังว่า

“โอ้ อัลลอฮฺ แท้จริงข้าพระองค์ ขอออกห่างจากสิ่งที่คิดลิด บินวะลีด ได้กระทำ”

จากนั้นท่านได้ออกคำสั่งแก่อิมามอาลี(อ)ให้ไปยังเผ่าดังกล่าวเพื่อจ่ายค่าชดเชยความเสียหายจากสงครามและจ่ายค่าทำขวัญแก่ทายาทของผู้ถูกฆ่า ท่านอิมามอาลี(อ)ได้จัดการในเรื่องนี้อย่างระมัดระวัง กระทั้งว่าแม้แต่ภาชนะไม้ที่คนเผ่านี้ใช้ในการดื่มน้ำที่คอลิด บินวะลิด ทำแตก ท่านก็จ่ายเงินชดเชยมัน จากนั้นท่านเรียกบรรดาหัวหน้าเผ่าที่ได้รับความเสียหายทั้งหมดมาพบและกล่าวถามพวกเขาว่า” ความเสียหายจากสงครามและเงินค่าทำขวัญผู้บริสุทธิ์ที่เสียชีวิตทั้งหมดได้ถูกจ่ายอย่างครบถ้วนแล้วใช่ไหม?”  พวกเขากล่าวว่า ใช่

จากนั้นท่านอิมามอาลี(อ)เนื่องจากเกรงว่าอาจมีความสูญเสียบางอย่างที่พวกเขาไม่รู้  ดังนั้นท่านจึงมอบเงินอีกส่วนหนึ่งให้แก่พวกเขา และได้เดินทางกลับสู่มักกะฮฺ และได้รายงานให้ท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ)ได้รับทราบการปฏิบัติของท่าน  ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺได้กล่าวชื่นชมการกระทำของท่านแล้วลุกขึ้นยืนหันหน้าไปทางกิบลัต พร้อมกับยกมือขึ้นสู่ฟากฟ้าและกล่าววิงวอนสามครั้งว่า โอ้อัลลอฮฺ แท้จริง ข้าพระองค์ ขอออกห่างจากสิ่งที่ตอลิด บิน วะลิดได้กระทำ… ๑

(๑ อ้างอิง.. ชีรอฮฺ อิบนุฮิชาม เล่ม 4 หน้า 73 )

5.  การห้ามวางยาพิษในแหล่งน้ำ

ศาสนาอิสลามให้ความสำคัญต่อหลักการทางศีลธรรมและมนุษยธรรม และจะกำชับสั่งเสียอยู่เสมอว่ามุสลิมจะต้องระวังรักษาหลักการทางศีลธรรมอยู่ตลอดเวลาในทุกสภาพการณ์ แม้แต่ในสนามรบและศึกสงครามก็ตาม

อิสลามได้อธิบายปัญหาต่างๆทางด้านจริยธรรมของการทำสงครามและการแสดงออกด้านมนุษยธรรมไว้อย่างดีที่สุด และตัวท่านศาสดาเองก็ได้ปฏิบัติสิ่งเหล่านี้ทั้งหมดต่อบรรดาศัตรูอิสลามถือว่าการใช้อาวุธเคมีและการใช้อาวุธที่มีอำนาจทำลายล้างสูงทุกชนิดที่ก่อให้เกิดการล้างฆ่าเผ่าพันธุ์และการทำลายพืชพันธุ์นั้นเป็นสิ่งต้องห้าม

ท่านอิมามอาลี(อ) กล่าวว่า “ท่านศาสนทูตของอัลลอฮ์ ได้ห้ามการเทยาพิษในแผ่นดินของผู้ตั้งภาคี”

แต่ในปัจจุบัน เราจะเห็นว่าการใช้ก๊าซพิษและเคมีในสงครามต่างๆได้กลายเป็นเรื่องปกติ และอเมริกาซาตานตัวใหญ่ผู้สวาปามโลกได้สร้างโศกนาฏกรรมต่อต้านประชาชนผู้บริสุทธิ์ผู้ถูกกดขี่ของอัฟกานิสถานและในอิรักไม่เว้นแต่ละวัน และได้ทำการสังหารหมู่ประชาชนด้วยวิธีการที่ผิดนี้ ซึ่งในด้านกฎหมายระหว่างประเทศและศาสนาอิสลามได้ห้ามและประณามการกระทำเช่นนี้ด้วยเช่นกัน