การตัดสินใจของโดนัลด์ ทรัมป์ในการย้ายสถานทูตไปยังกรุงเยรูซาเล็ม คือการยอมรับเมืองที่ถูกยึดครองอย่างชัดเจน ในฐานะเมืองหลวงของระบอบยิวไซออนิสต์ เหตุการณ์ความขัดแย้งของชาวปาเลสไตน์กลายเป็นประเด็นในระดับแนวหน้าของปัญหาระดับโลก ส่งผลทำให้กระแสการต่อต้านระดับนานาชาติต่อการตัดสินใจครั้งนี้ทวีความรุนแรงมากขึ้น
หากไม่คำนึงถึงมิติทางกฎหมายและผลกระทบของการตัดสินใจครั้งนี้ในปาเลสไตน์ที่ถูกยึดครองเป็นการเฉพาะ และโดยรวมในระดับโลกแล้ว เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง มันเป็นการยืนยันทฤษฎีการทำสงครามกับศาสนาอิสลาม ภายใต้ชื่อ “การต่อสู้กับกลุ่มอนุรักษ์นิยมศาสนาอิสลาม”
เหตุการณ์ทั้งหมด เช่นการยึดครองดินแดนอาหรับระหว่างแม่น้ำไนล์ถึงยูเฟรติส เกิดขึ้นในหลายขั้นตอน หลังจากการล่มสลายของโครงสร้างพื้นฐานของอิรักและซีเรีย และการเคลื่อนย้ายผู้ก่อการร้ายจากทั้งสองประเทศไปยังไซนาย เพื่อใช้เป็นเครื่องมือรับใช้ระบอบอิสราเอล และเป็นปฐมบทเพื่อขยายอิทธิพลของอิสราเอลในภูมิภาค ดูเหมือนว่าการแทรกแซงของรัสเซียและการเปลี่ยนแปลงจุดยืนของตุรกี ทำให้แผนของอเมริกานี้ต้องเผชิญกับความท้าทาย
ประเด็นนี้เอง ทำให้ความขัดแย้งทางการเมืองในระดับภูมิภาคและวิกฤติด้านความมั่นคง ภายในกรอบการแข่งขันที่สูงของประเทศต่างๆ ในความต้องการใช้ประโยชน์จากสงครามครั้งนี้ จึงเป็นเหตุผลแรกและสำคัญที่สุดสำหรับการตัดสินใจของทรัมป์ ในการยอมรับกรุงเยรูซาเล็มเป็นเมืองหลวงของระบอบยิวไซออนิสต์ เช่นเดียวกับสงครามต่อเนื่องกับ ISIL ซึ่งสร้างโดยประเทศสหรัฐอเมริกาและอิสราเอล ที่เห็นได้อย่างชัดเจน
ส่วนอีก 9 เหตุผลอื่น ๆ มีดังนี้ :
2. ทรัมป์ต้องการตอบโต้ไปยังการคัดค้านของ Mahmoud Abbas ผู้นำปาเลสไตน์ในเรื่องเมืองหลวงของอาบูดาบีส หรือ อาบูดิส ซึ่ง Jarad Kouchner ลูกเขยทรัมป์ได้เสนอผ่านเจ้าชายบิน ซัลมานแห่งวาอุฯ ไปยัง Mahmoud Abbas
3. การล่มสลายของอำนาจทางทหารของประเทศอาหรับ หลังจากการล่มสลายในอิรัก, ซีเรีย, ลิเบีย, เยเมน และก่อนที่พวกเขาจะทำการแบ่งแยกซูดาน และจากนั้นลดอิทธิพลของอียิปต์
4. การขาดความสามัคคีของสภาความร่วมมืออ่าว (GCC) จากความขัดแย้ง ระหว่างซาอุดิอาระเบียและกาตาร์ แม้ว่าทั้งสองจะร่วมมือกับสหรัฐฯ และอ้างว่าได้ยุติการสนับสนุนทางการเงินให้กับกลุ่มก่อการร้ายข้ามชาติ
5. จุดยืนที่อ่อนแอต่อประเด็นปาเลสไตน์ อันเนื่องมาจากการแบ่งแยกของรัฐอาหรับ และการสนับสนุนอย่างจริงจังของรัฐอาหรับได้ลดน้อยลงที่กำลังทำสงครามตัวแทนและอิทธิพลของสหรัฐฯที่ได้รับจากรัฐบาลปาเลสไตน์ผ่านการประสานด้านความมั่นคงเพื่อป้องกันการต้านทานต่อการยึดครอง
6. หมดเงินสนับสนุนจากประเทศซาอุดิอาระเบีย เพราดนำไปใช้จ่ายในสงครามกับเยเมน
7. ความพยายามของอเมริกาในการโหมกระพือความขัดแย้งระหว่างซาอุดีอาระเบียกับอิหร่าน
8. ผลมาจากการต่อสู้ระหว่างซาอุดีอาระเบียและอิหร่าน และการเผชิญหน้าทางทหารในนามของเยเมน อิรักและซีเรีย ทำให้ซาอุดีอาระเบียเรียก ฮิซบุลลอฮ์ นี้ว่า “กลุ่มก่อการร้าย” ขณะที่รัฐมนตรีต่างประเทศ ซาอุดิอาระเบีย Adel al-Jabir เรียกขบวนการฮามาสเป็นองค์กร “ก่อการร้าย” ซึ่งเรื่องนี้ไม่ได้รับการตอบรับที่ดีจากชาวปาเลสไตน์ ทำให้มีการถกเถียงทางการเมือง และสังคมของผู้สนับสนุนและผู้คัดค้านก็ถูกดึงเข้าไปทำสงครามในสื่อ
9. การถ่ายโอนความเป็นผู้นำ หรือการแบ่งแยกระหว่างอียิปต์และซาอุดีอาระเบีย ซึ่งหลังจากยุคอาหรับสปริง และการอ่อนตัวลงของอียิปต์ โดยการเผชิญหน้ากับกลุ่มก่อการร้ายในคาบสมุทรไซนาย ทำให้สหรัฐฯสามารถส่งอิทธิพลต่อผู้มีอำนาจตัดสินใจของอาหรับได้ง่ายขึ้น
10. ความอ่อนแอของสังคมอาหรับที่พวกเขา มีผู้นำหลายคน ซึ่งทำให้ต้องสูญเสียอำนาจในการตัดสินใจอย่างเด็ดขาด