ขบวนรถไฟ “ผู้ก่อการร้ายไอซิส” ณ ปลายทางภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ !!

499

ชะตากรรมของผู้ก่อการร้าย “ตักฟีรี” โดยเฉพาะ “ไอซิส” ในประเทศซีเรียและอิรักนั้นกำลังจะจบสิ้นลง เนื่องจากแรงต่อต้านจากบรรดาอาสาสมัครและเหล่ากองกำลังฝ่ายต่างๆ ซึ่งบรรดานักวิเคราะห์ต่างก็มองไปในทิศทางเดียวกันว่า แนวคิดของกลุ่มก่อการร้ายไอซิสจะไม่สูญหายไปในระยะสั้นนี้อย่างแน่นอน

อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่า สถานการณ์ในตะวันออกกลางจะไม่เหมาะสมอีกต่อไป สำหรับการรวมตัวและการชุมนุมของกลุ่มดังกล่าว ดังนั้นจุดศูนย์กลางของการเคลื่อนไหวที่รุนแรง จึงถูกเคลื่อนไปสู่อีกด้านหนึ่งของโลก แม้นว่าไอซิสได้ดำเนินการการก่อการร้ายในหลายภาคส่วนของโลก แต่ในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน กลุ่มก่อการร้าย มีการดำเนินงานในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และในเมืองมาราวี ซึ่งเป็นเมืองหนึ่งในฟิลิปปินส์ ก็ถูกไอซิสยึดครอง และทำให้รัฐบาลต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินขึ้นในประเทศนี้ ขณะที่สถานการณ์เช่นนี้ทำให้หลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นสถานีต่อไปของกลุ่มก่อการร้ายไอซิส สำหรับการวิเคราะห์เรื่องดังกล่าวสามารถระบุถึงรากฐานที่เหมาะสมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีไว้สำหรับกลุ่มก่อการร้ายและแนวคิดของพวกเขา ดังนี้:

ตำแหน่งทางภูมิรัฐศาสตร์และจำนวนประชากรขนาดใหญ่

ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนามและบรูไน มีประชากรรวมกันกว่า 600 ล้านคน โดยมีประชากรประมาณ 40% เป็นมุสลิม ภูมิภาคนี้ มีเกาะแก่งกระจัดกระจายมากมาย อันเป็นลักษณะที่ก่อให้เกิดตำแหน่งทางภูมิศาสตร์เฉพาะ  มีเกาะที่ไม่มีผู้คนอยู่อาศัยประมาณ 6,000 -10,000 เกาะที่กระจายอยู่ทั่วทั้งภูมิภาค ซึ่งเอื้อต่อการให้ผู้ก่อการร้ายไอซิสใช้เป็นที่หลบภัยและเตรียมการสำหรับการโจมตีรัฐใกล้เคียง และอีกด้านหนึ่งประชากรมุสลิมจำนวนมากในภูมิภาคก็เป็นข้ออ้างที่เหมาะสมสำหรับไอซิสและองค์กรก่อการร้ายอื่นๆ ในการย้ายศูนย์บัญชาการมายังภูมิภาคนี้

ช่องว่างทางการเมือง

ชาวมุสลิมในภูมิภาคนี้จำนวนมากที่อาศัยอยู่เคียงข้างกลุ่มศาสนาอื่นๆ รวมถึงชาวพุทธและ….นอกจากนั้น ยังสร้างช่องว่างในสังคมให้กับชนชาติต่าง ๆ เหล่านี้ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีส่วนร่วมของชาวมุสลิมในโครงสร้างทางการเมืองอยู่ในระดับต่ำสุดเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มศาสนาอื่นๆ ซึ่งแน่นอนว่าจากความไม่พอใจทางการเมืองนี้จะเอื้อให้เกิดความโน้มเอียงไปสู่ความคลั่งไคล้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่เยาวชนคนหนุ่มสาว  กรณีนี้เห็นได้ชัดเจนมากในประเทศอินโดนีเซีย  ซึ่งชุมชนมุสลิมขนาดใหญ่ได้ให้การสนับสนุนกลุ่มตักฟีรีโดยชักจูงคนหนุ่มสาวออกไปร่วมรบกับไอซิสจำนวนมากซึ่งเป็นเหตุให้เกิดปัญหาและความไม่สงบในประเทศมาแล้ว ตัวอย่างเช่น กลุ่มอันศอรุตเตาฮีด (Ansar Al-Tawhid) และกลุ่มเล็กๆต่างๆที่เติบโตขึ้นมาเคียงข้างพรรคแบบจารีตนิยมและมีแนวโน้มที่เป็นกลุ่มโปรไอซิสที่มีอิทธิพลในประเทศนี้

ช่องว่างทางอัตลักษณ์

จุดที่โดดเด่นของความขัดแย้งทางศาสนา และชาติพันธุ์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกปรากฏขึ้นที่ “พม่า” ซึ่งกลุ่มหัวรุนแรงกำลังมีส่วนร่วมในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชนกลุ่มน้อยมุสลิมโรฮิงญา ซึ่งการดำเนินการที่รุนแรงดังกล่าวกับมุสลิมในประเทศนี้มีประวัติความเป็นมามาก่อน  ความโหดเหี้ยมนี้เกิดขึ้นจากความแตกต่างระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ที่ยุยงให้มีการลบหลู่อัตลักษณ์ของกลุ่มหนึ่งโดยกลุ่มอื่นๆ  พฤติกรรมดังกล่าว(การลบหลู่)ในท้ายที่สุดนำไปสู่การปราบปรามอย่างหนัก ก่อให้เกิดความเกลียดชังต่อกลุ่มชาติพันธุ์ที่ถูกกดขี่ ทำให้มุสลิมโรงฮิงญาใช้วิธีการที่ไม่สมควรตอบสนองต่อความโหดร้ายดังกล่าว นั่นคือ การเข้าร่วมกลุ่มตักฟีรีเพื่อแก้แค้น

ช่องว่างทางเศรษฐกิจ

การพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ แม้จะมีความก้าวหน้าเกิดขึ้น แต่มันก็ได้แพร่กระจายผลกระทบต่อประชากรมุสลิมของตน และเงื่อนไขเหล่านี้ก็มีผลกระทบที่สำคัญตามมาอย่างมาก  ตัวอย่างเช่น ผู้คนจำนวนมากได้อพยพไปยังประเทศในตะวันออกกลาง และที่นั้น พวกเขาจึงถูกชักจูง และเชิญชวนเข้าร่วมกลุ่มก่อการรายตักฟีรี ซึ่งการกลับสู่บ้านเกิดเมืองนอนของตนก็ได้เพิ่มแรงจูงใจในการก่อการร้าย  ในขณะเดียวกันภูมิภาคที่มีชาวมุสลิมอาศัยอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็ประสบกับปัญหาความยากจน แม้จะมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ก็ตาม ตัวอย่างเช่น ในกรุงมะนิลา เมืองหลวงของฟิลิปปินส์ รายได้ต่อหัวจะสูงถึง 17 เท่าของรายได้สาธารณะเมื่อเทียบกับเมืองมินดาเนา ที่มีชาวมุสลิมเป็นชนส่วนใหญ่ และด้วยเหตุนี้เอง ทางกลุ่มก่อการร้ายไอซิส จึงฉวยโอกาสจากความไม่พอใจต่อรายได้ที่ได้รับ เป็นเครื่องมือชักชวนฝ่ายต่อต้านเข้าร่วมขบวนการ และในที่สุดกลุ่มนักรบไอซิสก็ได้ยึดเมืองมาราวีในภูมิภาคนี้สำเร็จ  คนงานชาวมาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์และอื่นๆ ที่เชื่อในอุดมการณ์สุดโต่ง ขณะนี้มีอยู่ในฮ่องกง ไต้หวัน และออสเตรเลีย ซึ่งพวกเขาก่อให้เกิดความเสี่ยง โดยตรงกับประเทศเหล่านี้ โดยที่รัฐบาลไม่น่าจะมีศักยภาพเพียงพอเพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของวิกฤตนี้ได้

ตามรายงานของสถาบันการศึกษานานาชาติเซี่ยงไฮ้ ระบุว่า “ผู้ก่อการร้ายในเอเชียถูกฟูมฝัก ด้วยปัจจัยต่างๆ อย่างเช่น การกีดกันทางสังคม ความยากจน และความผิดหวัง” ในการนี้ จึงควรกำหนดมาตรการป้องกันความเสี่ยง เช่น   เร่งการเติบโต และการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กระชับความพยายามทั้งหมด ในการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยรวมเมืองที่มีอยู่ และพื้นที่สำคัญ และจัดลำดับความสำคัญทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ต่างๆเช่น -เกาะบอร์เนียวที่ครอบคลุมเกาะซาบาห์ของมาเลเซีย และเกาะกาลิมันตัน เกาะสุลาเวสี เกาะปาปัว และเกาะมัลลูของอินโดนีเซีย- การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระดับกลาง และยุทธศาสตร์ระดับภูมิภาค ตลอดจนความร่วมมือในระยะยาวกับอำนาจสำคัญของเอเชียและแปซิฟิก เพื่อนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจที่เป็นเนื้อเดียวกันและเท่าเทียมกัน

การสนับสนุนจากต่างประเทศ

ทุกๆปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในด้านของการก่อการร้าย หากปราศจากการคำนึงถึงและให้ความสำคัญต่อมิติด้านนอก(ต่างประเทศ)ก็ไม่สามารถที่จะแก้ไขปัญหาได้  ไม่ต้องสงสัยว่า ชาติมหาอำนาจเอง ก็ต้องการฉวยโอกาสจากความขัดแย้งและความรุนแรงต่างๆ เพื่อตอบสนองผลประโยชน์ของตน ให้สามารถมีอิทธิพลอย่างมากในภูมิภาคนี้ได้ หนึ่งในนั้น คือ สหรัฐอเมริกา การเกิดวิกฤตดังกล่าวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถือเป็นประโยชน์ต่อประเทศนี้(อเมริกา)เช่นเดียวกับในตะวันออกกลางซึ่งประโยชน์ที่สำคัญที่สุดคือความเป็นไปได้ในการปรากฏตัวและมีอิทธิพลในตะวันออกเนื่องจากเหตุผลในการควบคุมกลุ่มสุดโต่งในภูมิภาคนี้และเงื่อนไขความวุ่นวายช่วยให้วอชิงตันสามารถขยายอิทธิพลในตะวันออกภายใต้ข้ออ้างของการรณรงค์ต่อต้านการก่อการร้าย

การปรากฏตัวของกองกำลังตักฟีรี ในตะวันออกกลาง ทำให้สหรัฐอเมริกา มีเงื่อนไขดังกล่าวเพื่อป้อนสมการของตนอีกครั้ง และขณะนี้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็จะเป็นเป้าหมายของการกระทำดังกล่าวในขณะเดียวกันนักวิเคราะห์หลายคนกล่าวว่า การแข่งขันระหว่างมหาอำนาจของโลกกำลังหันไปทางทิศตะวันออก ขณะนี้เศรษฐกิจของจีนและการทหารของรัสเซียกำลังเป็นคู่แข่งที่สำคัญของสหรัฐฯ การปะทุของวิกฤตก่อการร้ายในพื้นที่อิทธิพลต่างๆ ของชาติมหาอำนาจทั้งสอง (จีนและรัสเซีย) จะสร้างความยุ่งยาก และกัดกร่อนความแข็งแกร่งของพวกเขา สิ่งนี้ถูกนำมาใช้เสมือน เป็นเครื่องกดดันในมือของอเมริกัน เพื่อตรวจสอบอำนาจอันรุ่งเรืองของคู่ต่อสู้ทั้งสองชาติ ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องไร้เหตุผลแต่อย่างใด หากการแพร่กระจายของกลุ่มก่อการร้ายตักฟีรี ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนใหญ่นั้นเป็นผลมาจากสหรัฐฯ

โดยภาพรวมแล้ว ขนวนรถไฟของการก่อการร้ายได้แล่นสู่สถานีเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว และคาดว่าขบวนดังกล่าวจะหยุด ณ สถานีปลายทางแห่งนี้  โดยจะเกิดขึ้นผ่าน 2 วิธีด้วยกัน คือ การย้ายฐานไอซิสและศูนย์บัญชาการของกลุ่มผู้ก่อการร้ายอื่น ๆ ไปยังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และวิธีที่สอง การรับคนใหม่จากชนกลุ่มน้อยที่มีความไม่พอใจ หรือ มีกระแสต่อต้านรัฐบาลในประเทศของตน ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงเหล่านี้ ควรมีการแก้ไขช่องว่างทางสังคมและเศรษฐกิจ อีกทั้งจะต้องก้าวผ่านชนวนหลัก ด้วยการกำจัดการเลือกปฏิบัติต่อชาวมุสลิม นอกเหนือจากนี้แล้ว รัสเซียและจีนต้องประสานงานอย่างใกล้ชิดเพื่อยับยั้งการก่อการร้ายที่ถูกส่งต่อไปยังภูมิภาคนี้ และยืนหยัดต่อสู้กับสหรัฐฯในเรื่องนี้ 

Source: islamtimes alwaght