เหตุความไม่สงบในภาคใต้ของประเทศไทย: ธงดำ ISIL แห่งปัตตานีหมายความว่าอย่างไร?

8218

พฤติกรรมล่าสุดในโลกออนไลน์โดยผู้ก่อการร้ายหัวรุนแรงในภาคใต้ของไทย ส่องไฟให้เห็นถึงการเกิดขึ้นของภัยคุกคามใหม่ ที่มีอุดมการณ์ ISIL เป็นแรงขับเคลื่อนอยู่เบื้องหลัง ขณะที่การโปรโมท ให้มีการประกาศเอกราช แก่จังหวัดที่มีประชากรมุสลิมเป็นส่วนมาก ผ่านกระบวนการสร้างความรุนแรงสุดโต่งออนไลน์ มีศักยภาพพอจะเป็นหัวเชื้อนำไปสู่ความรุนแรงในโลกแห่งความเป็นจริงได้

เหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ของประเทศไทย เป็นดั่งหนามที่คอยทิ่มแทงฐานรัฐบาลของไทยมานานนับทศวรรษ เหตุความรุนแรงที่ประทุขึ้นไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ ภูมิภาคนี้มักมีเรื่องให้สัญญาณความปลอดภัยส่งเสียงเตือนดังอยู่อย่างต่อเนื่อง ทว่าล่าสุดเมื่อเดือนที่แล้ว มีแรงประทุที่แตกต่างออกไป ผู้ต้องการแบ่งแยกดินแดนชาวไทยมลายูมุสลิมหันมาใช้ประโยชน์จากช่องทาง สื่อโซเชียลมีเดีย อย่าง Facebook สร้างชื่อและภาพลักษณ์ให้กับตนเอง มีการโพสต์ และแชร์ วิดิโอและเนื้อหาข้อความ โฆษณาชวนเชื่อส่งเสริมแนวคิดเพื่อให้ได้มาซึ่งเอกราช ปลดแยกดินแดนออกจากประเทศไทย บนสื่อออนไลน์อย่างต่อเนื่อง ในกระแสที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ธีมของโพสต์เหล่านี้ วางอยู่บนการเรียกร้องสู่ “Fathoni Merdeka” – หรือ ที่มีความหมายว่า อิสรภาพแด่ฟาฏอนี

โพสต์หนึ่งในเฟสบุก เมื่อสองสุดสัปดาห์ที่แล้ว แสดงให้เห็นภาพสัญลักษณ์ธงสีดำ เครื่องหมายสัญลักษณ์ของ ISIL หรือในอีกชื่อหนึ่งที่เป็นที่รู้จักคือ ISIS  –ทับซ้อนอยู่บนพื้นที่ส่วนมากของ คอคอดกระ (ส่วนที่แคบที่สุดของแหลมมลายูอยู่ในเขตบ้านทับหลี ตำบลมะมุ อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง กับ อำเภอสวี จังหวัดชุมพร) ชี้ให้เห็นว่า กองกำลังทหารได้ค้นพบ เสียงตอบรับจากชุมชนออนไลน์จากที่นั่น (กองกำลัง ISIL ภาคพื้นดิน อ้างว่า ยังมีพื้นที่ส่วนอื่นๆอีกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีภาพวาดไว้ในลักษณะเดียวกันก่อนหน้านี้) การทำเครื่องหมายบริเวณพื้นที่ดังกล่าว ว่า ‘ปัตตานี’ มีผลกระทบ อันถือเป็นการงัดเอาความทรงจำทางประวัติศาสตร์ เกี่ยวกับ อำนาจและอาณาจักรของสุลต่านปัตตานี ที่มีอยู่มาก่อนการรวมแผนดินภายใต้กฎสยามออกมา

คำนึงถึงเหตุกาณ์ในปัจจุบัน การสลายตัวลงของขอบเขตเหล่านี้จะสอดคล้องกับ อุดมการณ์ขับเคลื่อนของ ISIL เพื่อสถาปนารัฐมุสลิมในอดีตก่อนยุคล่าอาณานิคม หรือนี่คือกลยุทธ์หนึ่ง ที่กลุ่มนิยมความรุนแรงวางไว้ เพื่อเพิ่มขวัญและกำลังใจให้แก่ นักต่อสู้เพื่อก่อความไม่สงบ หรือแท้จริงแล้ว ISIL ได้เจาะทะลุเข้าไปในภูมิภาคแล้ว? ไม่ว่าจะเป็นกรณีใดก็ตาม นับเป็นครั้งแรกที่โพสต์ดังกล่าว ได้กระตุ้นความเป็นไปได้ที่ ISIL จะไฮเจกเข้ามาก้าวก่ายภายในเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ของไทยอย่างจริงจัง

กลุ่มหัวรุนแรง ที่รวมพรรคเข้าด้วยกันกับ Barisan Revolusi Nasional (BRN), ที่เรียกตัวเองว่า ขบวนการ (เคลื่อนไหว) ก่อกบฏที่น่าเกรงขาม เช่นเดียวกันได้ปลุกกระตุ้น โดยได้ทำการแสดงความคิดเห็นเชิงชี้แนะ ในโพสต์หนึ่ง ว่า อาจจะมีกลุ่มใหม่ถือกำเนิดขึ้น โดยจะมีชื่อเรียกว่า Bangsa melayu Nagara fathoni Merdeka (BNM) ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่า กลุ่มนี่คือ กลุ่มปลีกย่อย หรือ กลุ่มที่ได้รับอิทธิพลมาจาก BRN หรือ ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก ISIL นอกจากนี้ ตามโพสต์หลายๆโพสต์ยังพบ อิทธิพล และ การเชื่อมโยงสู่อีกกลุ่มผู้สร้างความแตกแยก Runda Kumpulan Kechil (RKK) ภายในพื้นที่ อีกด้วย

การลุกฮือแสวงหาการใช้ประโยชน์จากกิจกรรมออนไลน์เมื่อเดือนที่แล้ว ก่อให้เกิดคำถามมากมาย อันเกี่ยวกับแรงบันดาลใจ และความสามารถของกลุ่มนิยมความรุนแรงในการใช้ สื่อโซเชียลมีเดีย อย่างมีประสิทธิภาพภายในระยะเวลาอันสั้น กลุ่มต่างๆอย่างเช่น กลุ่ม Pattani United Liberation Organisation (PULO), BRN and RKK แทบจะไม่ออกมาแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์โจมตีใดๆก็ตามแต่ที่เกิดขึ้นในภูมิภาค นับประสาอะไรกับการจะนำเสนอตนเองในฐานะผู้กระทำสงครามออนไลน์ คุณสมบัติทั่วไปของกลุ่มต่างๆที่ปฏิบัติการอยู่ในภูมิภาคไม่เพียงพอที่จะบ่งบอกว่า มีกลุ่มกบฏแบ่งแยกดินแดนไม่กำเนิดขึ้น อย่างไรก็ดี ประเด็นดังกล่าวก็ไม่สมควรจะถูกมองข้ามเช่นกัน

ความทุกข์ระทมที่จังหวัดต่างๆ ทางภาคใต้ของไทย ประกอบด้วย จังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และบางส่วนของจังหวัดสงขลาได้ร่วมเป็นสักขีพยาน ในการแบ่งแยกดินแดนและเหตุความรุนแรงเป็นระยะๆ ตลอดทศวรรษที่ผ่านมา นับตั้งแต่ปี 2001 ที่ซึ่งความขัดแย้งเพิ่มขึ้นเท่าทวีคูณ และมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ซึ่งยังคงเป็นอยู่เช่นนั้น ตราบจนถึงทุกวันนี้ ตามประวัติศาสตร์แห่งความขัดแย้งอันนี้ โฆษณาชวนเชื่อให้มีการแบ่งแยกดินแดนยังคงอยู่ดำรงอยู่ในดินแดนของโลกความเป็นจริง และไม่ค่อยชูคออันน่าเกลียดเข้ามาในโลกเสมือนจริงเท่าใดนัก ทว่าเทรนด์อันนี้กำลังเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว

โดเมนไซเบอร์เป็นแพลตฟอร์ม หรือ ช่องทางสื่อสาร ที่มีความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ กระตุ้นให้กลุ่มหัวรุนแรงชาวไทยเปิดใช้สถานะของตนและแสดงความรู้สึกนึกคิดออกอากาศออนไลน์ แต่นี่ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ จนบัดนี้  มีการโฆษณาชวนเชื่อบนแพลตฟอร์มสื่อโซเชียล และโดยมาก ตัวตนบนโลก ออนไลน์ได้กลายมาเป็นปัจจัยหลักเบื้องหลังความสำเร็จส่วนตัว (ในการสร้างชื่อและภาพลักษณ์) กิจกรรมบนโลกออนไลน์ของกลุ่มผู่ก่อความไม่สงบสามารถนำมาใช้ประกอบการพิจารณาคดี ที่ศาลแพ่งไทย ได้ดำเนินตัดสินไว้ให้มีการยึดที่ดิน ซึ่ง โรงเรียน ญิฮาดวิทยา ได้เคยครอบครองไว้ ในเดือนธันวาคมปี 2015

ญิฮาดวิทยาเป็นโรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม ซึ่งถูกบังคับให้ปิดตัวลงในเดือนพฤษภาคม ปี 2005 โดยรัฐบาลไทย หลังจากการต่อสู้ในชั้นศาลยาวนานถึง 11 ปี โรงเรียนสูญเสียกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ครอบครอง ในบริเวณหมู่บ้านตะโละกาโปร์ จังหวัดปัตตานี ทางภาคใต้ของประเทศไทย บุคคลและกลุ่มประชาสังคมจัดงานระดมทุนในวันที่ 19 มีนาคม 2016 เพื่อช่วยเหลือ ครอบครัว แวร์มานอร์ ซึ่งเป็นเจ้าของและผู้อำนวยการโรงเรียน ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในท้องถิ่นในนาม ‘ปอเนาะญิฮาด’  งานระดมทุนรวบรวมเงินมูลค่ากว่า 3,220,000 บาท และจำนวนเงินที่ไม่เปิดเผยอีกใน มาเลเซียริงกิต ซึ่งชี้ให้เห็นว่า มีผู้ร่วมสมทบทุนจากมาเลเซียด้วย

ความไม่ไว้วางใจระหว่างรัฐและภาคใต้

เบื้องต้น โรงเรียนถูกปิดลง ด้วยเพราะถูกสงสัย ว่าสถานที่ตั้งได้ถูกนำมาใช้ในทางที่ผิด คือ นำมาใช้ เป็นค่ายฝึกอาวุธ สำหรับการฝึกฝนเพื่อการก่อกบฏแบ่งแยกดินแดน และในฐานะด่านหน้าเพื่อซักฟอกเงินอย่างผิดกฎหมาย

ศาลเพ่งไทยดำเนินคดีตัดสินให้ยึดที่ดินดังกล่าว ภายใต้กฎหมาย ต่อต้านการซักฟอกเงิน 1999 ดังนี้ ผู้ครอบครองจำต้องย้ายออกจากสถานที่ดังกล่าว ภายใน เดือน มีนาคม 2016 เหตุการณ์ได้กระตุ้นให้กลุ่มหัวรุนแรง จัดงานระดมเงิน เพื่อให้ ครอบครัว แวร์มานอร์สามารถซื้อที่ดินที่อื่น และ สร้างโรงเรียนขึ้นมาใหม่อีกครั้ง

ประจวบกับโพสต์เฟสบุ๊กที่มีเนื้อหาเน้นย้ำถึงความจำเป็นที่ปัตตานี จำต้องแบ่งแยกตัวรัฐออกจากไทย กลุ่มหัวรุนแรงได้งัดกรณีเรื่อง ‘ปอเนาะญิฮาด’ ออกมาพูดด้วย อันเป็นหัวเชื้อตัวดีนำไปสู่ความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกันระหว่าง รัฐ และ ชาวใต้ หรืออย่างเฉพาะเจาะจง คือ ชาวใต้ ผู้สนับสนุนแนวคิดแบ่งแยกดินแดน

ลูกเล่นทางสัญลักษณ์ และ กลยุทธ์การดึงความรู้สึกสงสารจับใจ ต่างแสดงเป็นหลักฐาน ปรากฏอยู่ตามโพสต์เหล่านี้ในรูปแบบที่ลอกเลียนมาจากวิธีการใช้ สื่อโซเชียลของ ISIL นอกไปจากนี้ โพสต์ต่างๆยังเผยหลักฐานภาพถ่าย แสดงกิจกรรมที่ดูคล้ายกับ การฝึกฝนเหล่ากบฏให้เรียนรู้ขั้นตอนการทำระเบิด และ ควบคุมอาวุธสงคราม อีกด้วย

สื่อโซเชียล ได้รับการรองรับในฐานะ เครื่องมือสื่อสารอันทรงพลัง และ พิสูจน์แล้วว่า มันถูกนำมาใช้โดยองค์กรก่อการร้ายอย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับหลายๆวัตถุประสงค์ และ อย่างในกรณีนี้คือ เพื่อโปรโมทแนวคิดเหตุผลของตนเอง

ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นภายในภาคใต้ของไทย ยังคงเกิดขึ้นอยู่ และดำรงอยู่ภายในภูมิภาค อย่างไรก็ดี ด้วยกับการเติบโตขึ้นอย่างโดดเด่นของกลุ่มหัวรุนแรงตามช่องทางในสื่อโซเชียล ปรากฏพบว่า ขอบเขตการสนับสนุนได้ลุกลามข้ามชาติ มีผู้สนับสนุน และผู้เห็นอกเห็นใจ จากหลากหลายประเทศนอกเหนือไปจากในภูมิภาค

***Vikram Rajakumar คือ นักวิเคราะห์ระดับชำนาญการจาก ศูนย์วิจัยความรุนแรงทางการเมือง และการก่อการร้ายสากล  (ICPVTR)  ประจำภาควิชา S. Rajaratnam การศึกษาระหว่างประเทศ (RSIS), มหาวิทยาลัย Nanyang Technological ประเทศสิงคโปร์

แปล/เรียบเรียงจาก http://www.eurasiareview.com/11042016-insurgency-in-southern-thailand-what-does-isils-black-flag-of-pattani-portend-analysis/