alalam – ซาอุดิอาระเบียได้ทำให้ “กรุงบรัสเซล์” เป็นเมืองหลวงของการญิฮาดในยุโรปได้อย่างไร ?
1960 -1970
เบลเยียมต้องการแรงงานค่าจ้างต่ำ จึงมีการส่งเสริมให้แรงงานชาวตุรกีและโมร็อกโคอพยพเข้าสู่เบลเยียม การดำเนินการครั้งนี้ทำให้เกิดมุสลิมชนส่วนน้อยในเบลเยียม
1967
กองคลังของรัฐบาลเบลเยียมประสบภาวะวิกฤติอย่างหนัก ทำให้กษัตริย์เบลเยียมฉวยโอกาสครั้นที่กษัตริย์ “ฟัยซอล”แห่งซาอุดิอาระเบียเยือนกรุงบรัสเซล์ ได้ยืนข้อเสนอบางอย่างให้กับกษัตริย์ซาอุดิอาระเบีย
ซาอุดิอาระเบียสามารถที่จะขายน้ำมันราคาถูกให้กับเบลเยียมเพื่อแลกกับการสร้างมัสยิดแห่งแรกในประเทศพร้อมกับสามารถส่งเสริมแนวทางแบบซะลาฟีในเบลเยียม
1978
มัสยิดของซาอุดิอาระเบีย (รู้จักในนามมัสยิดกลาง)ในเบลเยียมได้เปิดอย่างเป็นทางการ ซึ่งต่อมากลายเป็นมัสยิดที่เป็นศูนย์กลางด้านวัฒนธรรมและอิสลามของซาอุดิอาระเบียในเบลเยียม และเวลาตอมากลายเป็น “บ้านแห่งแนวคิดซะลาฟี”ในใจกลางยุโรป
จากนั้นมัสยิดแห่งนี้ถูกรู้จักในนามผู้บริหารด้านกิจการมุสลิมในเบลเยียม
การเปลี่ยนแปลงความคิดของมุสลิม
นิกายที่มุสลิมผู้อพยพไปยังเบลเยียมมีความแตกต่างกับแนวคิดที่มีการเผยแพร่และส่งเสริมจากศูนย์กลางอิสลามซาอุดิอาระเบียประจำเบลเยียม แต่เมื่อวันเลาผ่านไปมุสลิมจำนวนมากตกอยู่ใต้อิทธิพลของนักเผยแพร่ซะลาฟีและท้ายสุดเป็นพวกซะลาฟี
เหตุการณ์ในวันนี้และหลังจาก 4 ทศวรรษที่ผ่านมา
มัสยิดกลางและศูนย์กลางอิสลามซาอุดิอาระเบียกลายเป็นภัยคุกคามอย่างแท้จริงต่อเจ้าหน้าที่เบลเยียม
วิกีลีกส์ เผยว่า เบลเยียมได้ขับไล่ คอลิด อัลอิบรีย์ ชาวซาอุฯ ซึ่งเป็นหัวหน้าศูนย์กลางอิสลามซาอุดิอาระเบียในกรุงบรัสเซล์เบลเยียมในข้อหาส่งเสริมแนวคิดสุดโต่ง
ในยุโรปตะวันตก เบลเยียมเป็นประเทศที่ส่งกลุ่มก่อการร้ายเข้าร่วมสมทบกับไอซิสมากที่สุด ซึ่งคิดเป็นอัตราโดยเฉลี่ยแล้ว จาก 1,000,000 คนของกลุ่มก่อการร้ายเป็นชาวเบลเยียมร้อยละ 40
เขตพื้นที่ โมลนิค เป็นเขตพื้นที่อาศัยของมุสลิมในเบลเยียมซึ่งมีประชากรมุสลิมจำนวน 100,000 กว่าคน และเขตพื้นที่นี้กลายเป็นศูนย์กลางของการญิฮาดในเบลเยียมและแหล่งกบดานของผู้วางแผนและผู้ปฏิบัติการก่อการร้ายในกรุงปารีสและกรุงบรัสเซล์