สงครามได้ยุติลงเมื่อยี่สิบห้าปีที่ผ่านมา ซึ่งตอนนี้มักจะไม่มีใครกล่าวถึง สงครามอ่าวเปอร์เซียถือเป็นศึกครั้งใหญ่ครั้งสุดท้ายที่ใช้เวลาการสู้รบประมาณหนึ่งเดือนและการปฏิบัติการโจมตีภาคพื้นดินใช้เวลาน้อยกว่า 72 ชั่วโมง
วันที่ 2 เดือนสิงหาคม ปี 1990 กองกำลังอิรักบุกโจมตีคูเวต และเริ่มการยึดครองคูเวตนานกว่า 5 เดือน จากนั้นมีมติหยุดยิงออกมาจากนานาชาติให้อิรักถอนกองกำลังออกจากคูเวต แต่ความพยายามทางการทูตล้มเหลว และวันที่ 16 มกราคม ปี 1991 การปฏิบัติการสงคราม 43 วัน ภายใต้ชื่อ “พายุทะเลทราย” ก็เริ่มขึ้น
พันธมิตรนานาชาติกว่า 60 ประเทศเข้าร่วมในการโจมตีอิรักทางอากาศ 24 ธันวาคมประธานาธิบดีของอเมริกาตัดสินใจการรุกคืบภาคพื้นดิน ซึ่งการปฏิบัติการครั้งนี้ทำให้กองกำลังอิรักถอนตัวออกจากคูเวต ภูมิทัศน์ของตะวันออกกลางก็มีการเปลี่ยนแปลง แม้ว่าคูเวตจะสามารถเยียวยาและรักษาบาดแผลจากสงครามครั้งนี้ได้ แต่สำหรับอิรักนั้นยังคงได้รับความเดือดร้อนจากผลกระทบของสงคราม และประชาชนชาวอิรักต้องผจญภัยความโหดเหี้ยมของซัดดัมอยู่ตอดเวลา นอกจากนี้ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าเหตุการณ์ในครั้งนั้นมันได้ส่งผลกระทบครั้งร้ายแรงในหลายประเทศและในภูมิภาค
ช่องทีวี “RT” ได้สัมภาษณ์ พลโท อะบู อัลบาน เกี่ยวกับโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้น ซึ่งเขาเป็นอดีตผู้บัญชาการกองทัพเรืออิรัก จากนั้นได้เข้ามารับตำแหน่งการงานเป็นนักการทูตและมีการเฝ้าติดตามสถานการณ์ที่กำลังเกิดในแต่ละวันอย่างใกล้ชิด เขากล่าวว่า ในช่วงเวลาที่ซัดดัมฮุสเซนเป็นผู้นำอิรักนั้นเขาจะชักใยให้ไปสู่ความรุนแรงอยู่เสมอ
พลโท อะบู อัลบาน กล่าวว่า เมื่อเขาได้มีอำนาจ ก็เริ่มก่อสงครามเลือดทันทีกับบุคคลต่างๆ ที่มีชื่อเสียงและกลุ่มขบนการในประเทศและประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนั้นซัดดัมพยายามที่จะเสริมสร้างอำนาจตัวเองให้แข็งแกร่งขึ้น นอกเหนือที่เขาเป็นนายพลแล้วเขาต้องการที่จะเข้าสู่อำนาจในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่และผู้บัญชาการทหารที่สามารถทำการตัดสินใจอะไรทุกอย่างตามที่ต้องการ แม้ว่าเขาจะเป็นรองประธานกรรมการของสภาปฏิวัติ และยังสามารถออกคำสั่งไปยังนายพลอาวุโส เพื่อต้องการมิให้กองกำลังติดอาวุธในอิรักจะผูกขาดอำนาจในวงการทหาร
เป็นที่เชื่อกันว่ารัฐบาลสหรัฐได้เข้ามาสร้างปัญหาทางทหารในรัฐบาลของซัดดัม แต่สำหรับความเชื่อของ พลโท อะบู อัลบาน มันไม่ได้เป็นเช่นนั้น
“สิ่งที่อเมริกาสนใจคือเขตพื้นที่บ่อน้ำมันเช่นในอ่าวเปอร์เซียและหากพิจารณาจากความสำคัญเชิงกลยุทธ์ของมันเป็นสิ่งที่ค่อนข้างชัดเจน นอกจากนั้นอเมริกามีความสัมพันธ์ที่ดีกับราชวงศ์คูเวต ด้วยเหตุนี้ความคิดที่ว่าอเมริกาเป็นผู้ให้การสนับสนุนซัดดัมให้บุกคูเวตนั้น ผมไม่เห็นด้วยกับทัศนะดังกล่าว ใช่ที่ เอพริล กลาสพี (April Glaspie) ทูตอเมริกาได้พูดกับซัดดัมว่า “อย่าโจมตี” และในขณะเดียวกันผมแน่ใจว่าเขาไม่ได้ยั่วยุให้โจมตี”
ตามทัศนะของผู้ให้สัมภาษณ์ผ่านช่องสถานี “RT” เชื่อว่า การที่อิรักบุกโจมตีคูเวต เสมือนเป็นการตอกตะปูโลงศพของอิรักดอกแรก และเป็นก้าวแรกสู่ “การทำลายประชาชนชาวอิรักและแผ่นดินอิรักและอารยะธรรมอิรัก” นอกจากนี้เหตุการณ์ในปีที่ผ่านมานั้นมันได้บ่อนทำลายโลกอาหรับมากพอแล้ว ในสมาชิกชาติอาหรับก็เกิดความแตกแยก บทบาทและอิทธิพลของประเทศอาหรับในโลกก็ค่อยๆลดลง นอกเหนือจากนั้นกลุ่มอิสลามหัวรุนแรงก็เริ่มเคลื่อนไหว ถัดจากนั้นหลายปีก็เกิดปรากฏการณ์ “อาหรับสปริง” และเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในเยเมนขึ้นมา
ทั้งหมดนี้ไม่เกิดมาจากสิ่งอื่นใดแต่เป็นผลที่ตามมาจากสงครามในคูเวต ตอนนี้ลองคิดดูว่าชาติอาหรับได้พบปะกับยิวไซออนิสต์ พบปะกับศัตรูของศาสนาอิสลาม พบปะและประชุมกับชาติยุโรปเกี่ยวกับวิธีการฆ่าชาวอาหรับและชาวมุสลิมในอิรัก และสิ่งที่น่ากลัวไปกว่านั้นก็คือทางอุลามาอ์แห่งราชสำนักของซาอุดิอาระเบีย และแม้กระทั่งมหาวิทยาลัยอัซฮัร (Al-Azhar) ในอียิปต์ ที่ออกคำฟัตวา (คำวินิจฉัย) อย่างเป็นทางการที่อนุญาตให้สังหารและฆ่าทหารอิรัก ซีเรียและอียิปต์ สิ่งเหล่านี้เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาแล้ว ดังนั้นในวันนี้จึงไม่เป็นเรื่องแปลกแต่อย่างใดหากกองกำลังทหารซีเรียทำสงครามกับกองกำลังทหารอิรัก ซึ่งโศกนาฏกรรมเหล่านี้เกิดจากผลของสงครามที่เกิดขึ้นในอ่าวเปอร์เซีย
ในหลายปีก่อนอิรักต้องสูญเสียพลเมืองของตนมากเท่าใด ? วันนี้ก็ยังไม่เป็นที่ชัดเจนและแน่ชัด อาจจะมีจำนวน 20,000 -35,000 คน หรือจะ 100,000-200,000 คนก็เป็นได้ ตามที่สถิติจากรัฐบาลซัดดัมนั้นผลจากการทิ้งระเบิดโดยอเมริกาทำให้พลเรือนถูกสังหาร มากกว่า 2,200 คน
กองกำลังอิรักได้สังหารพลเรือนคูเวตมากกว่าหนึ่งพันคน และพลเรือนคูเวตอีกหลายร้อยคนสูญหายไป ส่วนทหารได้เสยชีวิตจำนวนสี่พันกว่าคน โครงสร้างพื้นฐานทางทหารของประเทศได้รับความเสียหายร้อยละ 90
ในปี 1990 นานาชาติทำการคว่ำบาตรกรุงแบกแดด และดำเนินการคว่ำบาตรต่อเนื่องจนกระทั้งปี 2003 หลังจากการล่มสลายของระบอบการปกครองของซัดดัมฮุสเซน ซึ่งเป็นการคว่ำบาตรการทำธุรกิจกับแบกแดด ยกเว้นสินค้าด้านมนุษยธรรม และการคว่ำบาตรครั้งนั้นทำให้ อัตราความยากจนและการขาดสารอาหารและอัตราเงินเฟ้อในอิรักที่เพิ่มสูงขึ้น
ที่มา sputniknews