ปาเลสไตน์เปิดสถานทูตในบราซิล

718
(แฟ้มภาพ สถานทูตปาเลสไตน์ในกรุงบราซีเลีย บราซิล )

presstv  – ขณะที่เกิดความตึงเครียดระหว่างบราซิลกับอิสราเอล  ทางปาเลสไตน์ได้เปิดสถานทูตของตนเองครั้งแรกในดินแดนบราซิล

อิบรอฮีม อัลซะบาน เอกอัคราชทูตปาเลสไตน์ประจำบราซิล เป็นประธานในพิธีเปิดสถานทูต

ในพิธีเปิดมีเจ้าหน้าที่รัฐของปาเลสไตน์ ตัวแทนชาติอาหรับและสมาชิกสมาพันธ์ชาติอาหรับในบราซิลเข้าร่วมเป็นสักขีพยาน

ทูตปาเลสไตน์ในบราซิล กล่าว่า การเปิดสถานทูตปาเลสไตน์ในประเทศบราซิลนั้น “คือความฝันสูงสุด” ของเขาและบรรดานักการทูตทั้งหมด ซึ่งเป็นตัวแทนของปาเลสไตน์ประมาณสี่ทศวรรษในบราซิล

(แฟ้มภาพ อิบรอฮีม อัลซะบาน สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮาวานาในคิวบา )
(แฟ้มภาพ อิบรอฮีม อัลซะบาน สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮาวานาในคิวบา )

อิบรอฮีม อัลซะบาน  กล่าวเสริมว่า หวังว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้จะเป็น “จุดเริ่มต้นใหม่ของความสัมพันธ์ระหว่างบราซิลและปาเลสไตน์เพื่อกระชับความสัมพันธ์ให้ใกล้ชิดและมีความหลากหลายมากขึ้น.”

สถานทูตปาเลสไตน์ถูกสร้างขึ้นในพื้นที่ 1,580 ตารางเมตร  ซึ่งเป็นที่ที่ ลูลา ดา ซิลวา   ประธานาธิบดีบราซิลเป็นผู้บริจาคที่ดินในการสร้างอาคารสถานทูต ซึ่งอาคารดังกล่าวตั้งอยู่ใกล้กับอาคารรัฐบาลบราซิล ทำเนียบประธานาธิบดี รัฐสภาและศาลฎีกาบราซิล

อย่างไรก็ตามความสัมพันธ์ระหว่างบราซิเลียและเทลอาวีฟ ตึงเครียดอย่างหนัก เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2010 หลังจากที่บราซิลรับรองรัฐปาเลสไตน์ ซึ่งก็สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของบราซิลที่ต้องการมีส่วนร่วมในกระบวนการสันติภาพระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ และตามแนวของข้อมติของสหประชาชาติ ซึ่งต้องการให้ยุติการครอบครองดินแดนของปาเลสไตน์ และก่อตั้งรัฐอิสระภายในดินแดนที่ครอบครอง เมื่อวันที่ 4 มิ.ย. 1967 (ในเขตฉนวนกาซา เวสต์แบงค์ และ เยรูซาเลมตะวันออก)

นอกจากนี้เมื่อวันที่  23 กรกฎาคม 2014 ประมาณสองสัปดาห์หลังจากที่อิสราเอลรุกรานและโจมตีฉนวนกาซา บราซิลได้เรียกทูตของกลับกลับประเทศ และออกจากเทลอาวีฟและประณามการโจมตีของอิสราเอล

ในสงครามครั้งนั้นมีชาวปาเลสไตน์เสียชีวิต 2200 กว่าคน และได้รับบาดเจ็บอีกจำนวน 11,100 คน

อนึ่ง    เมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 2553 นาย ลูอิส อีนาซีอู ลูลา ดา ซิลวา ปธน.บราซิล ได้มีหนังสือถึงนายมะห์มูด อับบาส ปธน. ปาเลสไตน์ แจ้งว่า รัฐบาลบราซิลให้การรับรองรัฐปาเลสไตน์บนพื้นฐานของเขตแดนในปี ค.ศ. 1967 โดยการรับรองดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องมาจากการเจรจาของฝ่ายปาเลสไตน์ และการที่ปธน.อับบาส มีหนังสือถึงปธน. ลูอิส เมื่อวันที่ 24 พ.ย. 2553 ร้องขอให้บราซิลรับรองปาเลสไตน์ ซึ่งก็สอดคล้องกับเจตนารมย์ของบราซิลที่ต้องการมีส่วนร่วมในกระบวนการสันติภาพระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ และตามแนวของข้อมติของสหประชาชาติ ซึ่งต้องการให้ยุติการครอบครองดินแดนของปาเลสไตน์ และก่อตั้งรัฐอิสระภายในดินแดนที่ครอบครอง เมื่อวันที่ 4 มิ.ย. 1967 (ในเขตฉนวนกาซา เวสต์แบงค์ และ เยรูซาเลมตะวันออก)

บราซิลสนับสนุนรัฐปาเลสไตน์ที่เป็นประชาธิปไตยที่สามารถอยู่ร่วมกับอิสราเอลได้อย่างสันติ ทั้งด้านภูมิศาสตร์และเศรษฐกิจ รัฐปาเลสไตน์ที่เป็นประชาธิปไตย อิสระและมีอำนาจอธิปไตยจะสามารถอยู่ร่วมกับเพื่อนบ้านอย่างสันติ มีความมั่นคงด้านเขตแดนและมีเสถียรภาพด้านการเมืองในภูมิภาค

รัฐบาลบราซิลเชื่อว่า การสนับสนุนของประเทศต่างๆ นอกภูมิภาค เพื่อให้ประเทศทั้งสองหันมาเจรจาเป็นแนวทางเดียวที่จะช่วยยุติการครอบครองดินแดน

ความสัมพันธ์ระหว่างบราซิลและปาเลสไตน์

– ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1975 บราซิลให้การรับรองรัฐปาเลสไตน์เป็น ผู้แทนของชาวปาเลสไตน์ ในปี 1993 ปาเลสไตน์แต่งตั้งเจ้าหน้าที่เป็นผู้แทนพิเศษประจำกรุงบราซิลเลีย (Special Palestinian Delegation) ซึ่งบราซิลได้ให้การปฏิบัติต่อผู้แทนดังกล่าวเช่นเดียวกับผู้แทนองค์กรระหว่างประเทศ และในปี 1998 ผู้แทนดังกล่าวได้รับการปฏิบัติเช่นเดียวกับ เจ้าหน้าที่การทูตของสถานเอกอัครราชทูตต่างๆ

– มีการดำเนินการกระชับความสัมพันธ์กับปาเลสไตน์ โดยปี 2004 บราซิลจัดตั้ง สำนักงานผู้แทนของบราซิล (Representative Office) ในเมืองรามัลละห์

– มีการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูงโดย ปธน.อับบาส เดินทางเยือนบราซิล เพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดระหว่างประเทศอเมริกาใต้ กับประเทศอาหรับ เมื่อเดือน พ.ค. 2005 และเมื่อเดือน พ.ย. 2009 และ ปธน. ลูอิส เดินทางเยือนปาเลสไตน์ พร้อมคณะนักธุรกิจจำนวนมากเมื่อเดือ มี.ค. 2010

การสนับสนุนและความช่วยเหลือของบราซิล

– ให้การสนับสนุนการสร้างรัฐปาเลสไตน์ โดยมีส่วนร่วมในการประชุมระหว่างประเทศหลายครั้ง เมือเดือน พ.ย. 2007 ที่เมือง Annapolis สหรัฐฯ เดือนธ.ค. 2007 ที่กรุงปารีส เดือน มี.ค. 2009 ที่Sharm El-Sheikh ซึ่งในการประชุม 2 ครั้งหลัง บราซิลได้บริจาคเงินจำนวนประมาณ 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อช่วยเหลือปาเลสไตน์ในโครงการด้านความมั่นคงอาหาร การศึกษาและการพัฒนาชนบท

– ให้ความช่วยเหลือปาเลสไตน์ผ่านองค์กรระหว่างประเทศ เช่น UNDP/ World Bank/ UNRWA รวมมูลค่าประมาณ 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

– บริจาคช่วยเหลือปาเลสไตน์ผ่าน IBSA Fund ซึ่งดำเนินการร่วมกับอินเดียและแอฟริกาใต้ จำนวน 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อลงทุนในการก่อสร้างศูนย์กีฬาที่เมือง Ramallah และบูรณะโรงพยาบาลในเขตฉนวนกาซา

– กระชับความร่วมมือทางเทคนิคกับปาเลสไตน์ด้านสาธารณสุข โครงสร้างพื้นฐานในเมือง การเกษตร การศึกษา กีฬา และการเลือกตั้ง

ปฏิกิริยาของประเทศต่างๆ ต่อการรับรองรัฐปาเลสไตน์ของบราซิล

1. นาย Eliot L. Engle (D-NY) วุฒิสมาชิกสหรัฐฯ ซึ่งเป็น Chair of the House Subcommittee on the Western Hemisphere รวมทั้งเป็น Co-Chair of the Congressional Brazil Caucus ได้ประนามการดำเนินการของบราซิลอย่างรุนแรงว่า ได้รับการชี้นำที่ผิดและออกนอกเส้นทาง โดยหากพิจารณาจากความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดของบราซิลกับอิหร่าน จะเห็นภาพที่บราซิลต้องการมีบทบาทเป็นผู้นำของโลกแต่เลือกทางที่ผิด หวังว่ารัฐบาลใหม่ของบราซิลจะแก้ไขข้อผิดพลาดดังกล่าวและเข้าใจแนวทางที่จะได้รับความเห็นชอบในฐานะประเทศอำนาจใหม่ หรือจะเป็นสมาชิกถาวร UNSC แม้จะผิดหวังในการดำเนินการของบราซิล แต่ก็ยังคงสนับสนุนบราซิลในฐานะที่เป็นประเทศประชาธิปไตยที่ในอนาคตจะร่วมเป็นหนึ่งในประเทศผู้นำของโลก การดำเนินการของบราวิลนั้นละเมิดข้อมติที่ 242 ของ UNSC “Land of Peace” เกี่ยวกับกระบวนการสันติภาพในตะวันออกกลาง บราซิลจะทำให้ปาเลสไตน์เข้าใจว่าไม่จำเป็นต้องมีการเจรจาสันติภาพต่อไป เพื่อ ได้รับการรับรองในฐานะรัฐอธิปไตย

2. รัฐบาลอิสราเอลแสดงความผิดหวังและเสียใจที่บราซิลตัดสินใจดำเนินการดังกล่าวและตั้งข้อสังเกตว่า ปธน. Lula ดำเนินการดังกล่าวก่อนหน้าที่จะส่งมอบตำแหน่งให้ปธน. คนต่อไป ภายในเวลาเพียง 1 เดือน และการรับรองรัฐปาเลสไตน์เป็นการละเมิดข้อตกลง ชั่วคราว (the interim Agreement) ที่ลงนามระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์เมื่อปี 1995 ฉบับแก้ไข (Oslo Accord)   ที่มา: สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบราซิเลีย