presstv – การกระทำของซาอุดิอาระเบียในการประหารอยาตุลลอฮ์ นิมร์ บาเกร อัลนิมร์ นักการศาสนาและอุลามาอ์ผู้โดดเด่นของชีอะฮ์ในซาอุดิอาระเบีย จากนั้นได้เกิดเหตุการณ์บุกโจมตีสถานทูตซาอุดิอาระเบียในกรุงเตหะรานก่อให้เกิดสัมพันธ์ร้าวฉานอีกระลอกหนึ่งระหว่างกรุงริยาด –เตหะราน
จากการที่อิหร่านออกโรงประณามซาอุดิอาระเบียต่อเหตุการณ์ประหารดังกล่าวอย่างหนัก ทำให้ซาอุดิอาระเบียนำมาเป็นข้ออ้างในการตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับเตหะราน อีกทั้งส่งเสริมให้ชาติอาหรับในภูมิภาคตัดความสัมพันธ์กับกรุงเตหะรานเพื่อสนองความต้องการของริยาด
บางประเทศที่มีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่ดีกับอิหร่าน เช่น บาห์เรน ซูดาน จอร์แดน คูเวต และสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ ก็ได้ตัดสัมพันธ์กับอิหร่านเพื่อเอาใจซาอุดิอาระเบียโดยไม่คำนึงถึงความเสียหายและความสูญเสียที่จะติดตามมา และไม่มีการทบทวนความสัมพันธ์ที่ดีกับเตหะรานแต่อย่างใด
นักวิเคราะห์การเมืองบางคนเชื่อว่าซาอุดีอาระเบียกำลังมุ่งเป้าไปที่การผลักไสอิหร่านในฐานะที่เป็นคู่แข่งที่สำคัญซึ่งกำลังมีอำนาจที่แข็งแกร่งและมีอนาคตที่ก้าวหน้าและสดใส ทำให้ซาอุดิอาระเบียเจตนาสร้างเหตุการณ์อันตึงเครียดนี้ขึ้นมา
Martin Glenn นักวิจัยในประเด็นตะวันออกกลางได้เขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์เยอรมัน “Di Tsayt” ภายใต้หัวข้อ “เมื่อซาอุดีอาระเบียเป็นความเสี่ยงที่อ่อนแอ ” โดยชี้ถึงการต้อนรับนักลงทุนจากตะวันตกที่เข้ามาลงทุนในอิหร่าน และแนวโน้มเศรษฐกิจที่ดีของอิหร่าน ว่า ทรัพยากรสำรองอันมากมายที่มีอยู่ในปัจจุบันอีกทั้งก๊าซธรรมชาติและน้ำมันของอิหร่านทำให้ชาติอุตสาหกรรมต้องลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงพลังงานจากซาอุดีอาระเบีย
ความหวาดกลัวของซาอุดิอาระเบียต่อความแข็งแกร่งของอิหร่าน
Martin Glenn กล่าวเสริมว่า ในสภาวการณ์เช่นนี้สามนักแม่นปืนแห่งการชี้นำของซาอุดิอาระเบีย (คิงซัลมาน และสองมกุฎราชกุมาร) จึงมีความพยายามอย่างหนักเพื่อข่มขู่ชีอะฮ์อันเป็นคู่แข่งของพวกเขาที่เพิ่งหลุดพ้นจากการถูกคว่ำบาตรจึงทำการตอกตะปูลงในภูมิภาคซึ่งเป็นการดำเนินการที่จะประสบความสำเร็จน้อยมาก มีความเสี่ยงและอันตรายสูงที่จะนำไปสู่ความขัดแย้งมหาภาคที่รุนแรงระหว่างชีอะฮ์-ซุนนีในเขตภูมิภาค
นักวิเคราะห์ตะวันออกกลางถือว่าวิกฤตซีเรียก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาเหล่านี้ และเขียนเสริมว่า ซาอุดีอาระเบียล้มเหลวในการโค่นล้มบาชาร์ อัลอัสซาดประธานาธิบดีแห่งซีเรีย ซึ่งอิหร่านเองไม่เพียงแต่เป็นพันธมิตรที่สำคัญที่สุดของซีเรียและโลกอาหรับ แต่ก็ยังสามารถนั่งอยู่บนโต๊ะเจรจาสันติภาพซีเรียอย่างเป็นทางการ
ในบทความชิ้นนี้ยังได้เขียนชี้ถึง การละเมิดที่เห็นได้อย่างชัดเจนของซาอุดีอาระเบียต่อเยเมนการเกิดวิกฤตด้านมนุษยธรรมจากการถูกซาอุดิอาระเบียโจมตี อีกทั้งซาอุยังให้การช่วยเหลือในการปราบปรามบรรดาผู้ประท้วงในบาห์เรน มีความเป็นเครือญาติทางความคิดระหว่างกลุ่มก่อการร้ายไอซิสกับความคิดของวะหาบี- ซาอุดิอาระเบีย เหล่านี้ถือเป็นปัจจัยทำลายภาพลักษณ์ของซาอุดีอาระเบียทั้งสิ้น อีกทั้งการมีผู้ประท้วงชาวชีอะห์สามล้านคนในซาอุดิอาระเบียนับว่าเป็นภัยคุกคามสำหรับราชวงศ์ซาอูด
แผนการยกระดับความตึงเครียด
Trita Parsi นักเขียนและนักวิเคราะห์ทางการเมืองของอเมริกายังเชื่อว่าไม่ต้องสงสัยเลยว่าซาอุดิอาระเบียหวังที่จะก่อให้เกิดความตึงเครียดในภูมิภาคอย่างรุนแรงหลังจากการประหาร เชค นิมร์
Trita Parsi ได้ชี้ในบทความถึงความพยายามของริยาดที่จะทำให้กรุงวอชิงตันคล้อยตามในการดำเนินการต่อต้านอิหร่าน และกล่าวว่า ซาอุดีอาระเบียเองก็ตระหนักถึงผลกระทบที่จะติดตามมาจากการประหารเชค นิมร์ ในระดับภูมิภาค แต่จะอย่างไรก็ตามทีได้ตัดสินใจประหารชีวิต
นักวิเคราะห์ทางการเมืองกล่าวว่า ซาอุดิอาระเบียมีความหวาดกลัวต่อการเพิ่มขึ้นของอิทธิพลและการแทรกซึมของอิหร่านในระดับภูมิภาคหลังจากบรรลุข้อตกลงปัญหานิวเคลียร์อิหร่าน และพยายามที่จะลดบทบาทของเตหะรานในวิกฤติซีเรีย
ในบทความชิ้นนี้ ชี้ว่า การที่ริยาดตัดสัมพันธ์ทางการทูตกับเตหะราน เป็นเพียงแค่ข้อแก้ตัวและข้ออ้างที่เหมาะสมที่สุดเพื่อสามารถชะลอ ลดระดับและทำลายการเจรจาสันติภาพซีเรียภายใต้การนำของอเมริกา
Parsi เชื่อว่าในมุมมองของซาอุดิอาระเบีย ถือว่าภูมิศาสตร์การเมืองในภูมิภาคกำลังคุกคามผลประโยชน์ของริยาด การดึงอิหร่านเข้ามาและการตัดสินใจของวอชิงตันที่จะเจรจาและจัดการกับโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านได้เพิ่มความหวาดกลัวต่อซาอุดีอาระเบีย
กับดักของซาอุดิอาระเบียสำหรับอเมริกา
บทความชิ้นนี้กล่าวเสริมว่า การที่ซาอุดิอาระเบียประหารเชคนิมร์มีเจตนาที่จะยั่วยุเพื่อสร้างวิกฤติขึ้นมาและบางที่อาจจะเกิดการต่อสู้และสงครามตามมาก็เป็นได้ โดยหวังว่าเส้นทางภูมิศาสตร์การเมืองในภูมิภาคจะเปลี่ยนแปลงสู่ทิศทางในการเอื้อผลประโยชน์ให้กับตนเอง
ในบทความยังกล่าวว่า อเมริกาพยายามที่จะฟื้นความสัมพันธ์กับกรุงเตหะราน และอยู่บนทางสองแพร่งในการเลือกระหว่างอิหร่านกับซาอุดิอาระเบีย แต่ทั้งนี้วอชิงตันไม่ควรตกอยู่ในกับดักของซาอุดีอาระเบีย
ตามความเชื่อของผู้เขียน ในมุมมองของอเมริกานั้น การดำเนินการที่ไร้เสถียรภาพของซาอุดิอาระเบียที่ไม่สามารป้องกันและต้านทานการบรรลุข้อตกลงนิวเคลียร์กับอิหร่านได้ ซึ่งในที่สุดการพึ่งพาอาศัยของอเมริกาที่มีต่อซาอุดีอาระเบียต้องลดน้อยลง และหลังจากแก้ปัญหาข้อขัดแย้งนิวเคลียร์กับอิหร่านและความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเตหะราน – วอชิงตัน ตัวเลือกของอเมริกาในภูมิภาคก็ได้เพิ่มมากขึ้น
ในบทความชิ้นนี้ยังได้ชี้ถึงคำพูดของ พล.อ.อ. . ไมค์ มูลเล็น เจ้าหน้าที่ทหารระดับสูงของอเมริกาที่กล่าวถึงข้อดีและผลประโยชน์ในการบรรลุข้อตกลงกับอิหร่าน ว่า การบรรลุข้อตกลงนั้นเป็นการเปิดช่องทางการแทรกซึมของอเมริกาในภูมิภาคเพิ่มมากขึ้น และถือเป็นสิ่งจำเป็นที่กรุงวอชิงตันต้องสร้างความสัมพันธ์ในภูมิภาค ซึ่งในระดับความสำคัญแรกสุดคือการปรับปรุงความสัมพันธ์กับประเทศสุนนี