นับตั้งแต่การล่มสลายของระบอบการปกครองของสุลต่านแห่งออตโตมานเมื่อสิ้นสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ดินแดนตะวันออกของมุสลิมและแอฟริกาเหนือ หรือ MENA (Muslim East and North Africa region) ก็ไม่เคยได้พบเห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงบนแผนที่ทางศาสนา, สังคม, เศรษฐกิจ และการเมือง อาจจะจริงที่มันเกิดมาจากการจลาจลต่อต้านและประณามผู้มีอำนาจในเวลานั้น ขบวนการนี้ ที่มหาอำนาจตะวันตกชอบเรียกกันว่าเป็นปรากฏการณ์ “อาหรับสปริง” มักจะถูกมองจากแง่มุมของอาณานิคมใหม่อยู่บ่อยครั้ง ด้วยเหตุนี้จึงเป็นการจำกัดทั้งการกล่าวถึงและการทำความเข้าใจกับสิ่งที่ควรจะอธิบายว่าเป็นขบวนการสร้างความตื่นตัวหรือการฟื้นฟูมากกว่า
ขบวนการประชาชนโดยเนื้อแท้ เหตุการณ์ในปี 2011 ที่ได้เห็นประชาชนลุกขึ้นต่อต้านระบอบการปกครองที่ได้รับการหนุนหลังจากตะวันตกและได้รับการอุ้มชูจากซาอุดี้ฯ มันเป็นมากกว่าแค่การเรียกร้องให้เปลี่ยนแปลงเป็นระบอบประชาธิปไตยและเรียกร้องความยุติธรรมทางสังคม แต่ในปี 2011 เราไม่ได้เห็นการถือกำเนิดขึ้นของอุดมการณ์รวมอาหรับรูปแบบใหม่ตามที่ผู้เชี่ยวชาญบางคนได้กล่าวไว้ภายหลังการโค่นล้มอดีตผู้นำเผด็จการฮุสนี มุบารัก ของอียิปต์ แต่ได้เห็นการปฏิเสธลัทธิจักรวรรดินิยมของตะวันตกแทน
เมื่อเป็นอิสระจากการบีบบังคับของอุดมการณ์ทางการเมืองและความเชื่อทางศาสนา (องค์ประกอบเหล่านั้นได้ถูกจัดให้เป็นช่องทางในการกดขี่รวมทั้งเป็นความชอบธรรมสำหรับความรุนแรง) ขบวนการในปี 2011 จึงเป็นสัญลักษณ์ของยุคสมัยแห่งการฟื้นฟู, การตื่นตัว หรือยุคของประชาชนหลังจากหลายศตวรรษแห่งการตกเป็นทาส
และถึงแม้ว่าเปลวไฟแห่งการปฏิวัติของ MENA จะผ่านพบมาทุกอย่างแล้วนอกจากการดับมอด จิตวิญญาณของมันยังคงสังเกตเห็นได้ดีที่สุดในเยเมนและบาห์เรน ที่ซึ่งการต้านทานของประชาชนมีความรุนแรงและแข็งข้อมากที่สุดในการปฏิเสธไม่ยอมก้มหัวให้กับการกดขี่ที่รุนแรงขึ้น ทั้งระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ
เนื่องจากผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการส่วนใหญ่ยังคงยึดติดกับกระบวนทัศน์แบบตะวันตกเมื่อทำการศึกษาเหตุการณ์ในปี 2011 โครงสร้างของเรื่องนี้จึงมีความเอนเอียงและมีจุดบกพร่อง จึงทำให้ไม่สามารถเข้าใจได้อย่างถูกต้องถึงธรรมชาติและลักษณะของความเปลี่ยนแปลงนี้ที่จะกวาดล้าง “โลกเก่า” ออกไป ความเป็นคู่ที่บรรดาผู้เชี่ยวชาญได้กล่าวถึง (สังคมแบบดั้งเดิมกับสังคมภาคประชาชน และศาสนากับโลกวิสัย) เป็นการแสดงออกของลัทธิจักรวรรดิ์นิยมตะวันตกอีกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อฝ่ายโลกวิสัยและสังคมภาคประชาชนถูกใช้ประโยชน์ในฐานะเป็นเครื่องมือของการปราบปรามและทำให้ตกเป็นทาสโดยระบอบการปกครองแบบจักรวรรดิ์
การแยกขั้วกันจริงคือการแยกระหว่างประชาชนแห่ง MENA กับมหาอำนาจตะวันตกที่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลหุ่นเชิดของพวกเขา เช่น ซาอุดิอารเบีย ถ้าอิสลามจะพบว่าตัวเองอยู่ท่ามกลางพายุ มันก็เป็นเพราะว่าหลักการศาสนาของมัน ที่มุสลิมใน MENA ยังคงรักษาไว้อย่างเข้มแข็ง ได้ยืนหยัดท้าทายต่อวาระพวกโลกานิยม (globalist)
อิสลามเป็นศาสนาที่ประกาศความเป็นศัตรูกับสังคมตะวันตกมากกว่าศาสนาที่เชื่อในพระเจ้าองค์เดียวอื่นๆ ซึ่งตอนนี้กลุ่มโลกวิสัยและอเทวนิยมได้กลายเป็นรากฐานใหม่ของความเชื่อของพวกโลกานิยมที่ปรากฏต่อสายตาเรา แน่นอน บทบาทที่ลัทธิวะฮาบีเล่นอยู่ด้วยการนำเสนอุดมการณ์หัวรุนแรงที่ชั่วร้ายจำเป็นที่จะต้องถูกจัดให้เป็นเครื่องมืออีกชิ้นหนึ่งของลัทธิโลกานิยมที่จะแตกย่อยภูมิภาคนี้
ถึงแม้ผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการจะปฏิเสธไม่ยอมมองให้เห็นอิทธิพลของการปฏิวัติอิสลามของอิหร่านเมื่อปี 1979 ในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปี 2011 แต่มันก็เป็นที่ชัดเจนแล้วว่าเพียงไม่กี่ทศวรรษต่อมา การต่อสู้เพื่อการตัดสินใจทางการเมืองด้วยตนเองของอิหร่านได้สะท้อนเสียงก้องลึกอยู่ในดินแดนแห่ง MENA มีความคู่ขนานกันอย่างปฏิเสธไม่ได้ระหว่างเหตุการณ์ปัจจุบันนี้กับความเปลี่ยนแปลงทิ่หร่านได้ผ่านพ้นมาเมื่อครั้งที่มันได้ถอดถอนชาห์ที่ตะวันตกแต่งตั้งและหนุนหลังอยู่ เพื่อให้รูปแบบทางการเมืองจากการเลือกของมันเองที่มีความสอดคล้องกันกับสังคมและประเพณีทางศาสนาของมันเข้ามาแทนที่
เมื่อการปฏิวัติอิสลามปี 1979 ยังมีความต่อเนื่องเรื่อยมา การลุกฮือในปี 2011 ก็อาจจะถูกจดจำในฐานะที่เป็นการปลดปล่อยครั้งยิ่งใหญ่ของประชาชนอาหรับ ระหว่างแนวคิดรวมชาติอาหรับของประธานาธิบดีจามาล อับดุล นาซิร และวิลายะฮ์อิสลามของอิหม่ามโคมัยนี ประชาชนในดินแดน MENA กำลังสลายรูปแบบเก่าๆ ของตะวันตก เพื่อที่จะพยายามสถาปนารูปแบบของพวกเขาเองที่มีพื้นฐานอยู่บนหลักคำสอนของอิสลาม พวกเขาผูกพันกันด้วยการต่อสู้แบบเดียวกันกับการกดขี่และกลั่นแกล้งจากปีศาจร้ายตัวเดียวกัน นั่นก็คือ กลุ่มหัวรุนแรง ประชาชนในภูมิภาคนี้กำลังเรียนรู้ที่จะเคลื่อนไปด้วยกันท่ามกลางความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันที่เพิ่งพบใหม่นี้ อย่างช้าๆ และได้ประจักษ์ว่าพวกเขาไม่จำเป็นต้องยืนอย่างโดดเดี่ยว และพวกเขาไม่ได้โดดเดี่ยว
ขบวนการต้านทานที่กระจัดกระจายกันก่อนหน้านี้ ประกายไฟที่ถูกสร้างขึ้นผ่านช่วงเวลาหลายทศวรรษเพื่อต่อต้านการสั่งการของตะวันตกนี้ มีพื้นที่มากขึ้นกว่าที่มหาอำนาจตะวันตกจะเคยใส่ใจยอมรับ จนตอนนี้ได้เปลี่ยนจากชนกลุ่มน้อยมาเป็นคนส่วนใหญ่แล้ว จากลิเบียถึงซีเรีย และจากอิรักถึงบาห์เรน ประชาชนได้สัมผัสแล้วว่าจำเป็นต้องมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในส่วนของพวกเขา และจะไม่เป็นตามวาทกรรมของนักการเมืองที่ตะวันตกหนุนหลังอีกต่อไปแล้ว และที่ใดที่ได้เกิดปรากฏการณ์ “อาหรับสปริง” ขึ้นเพื่อประกาศการยึดครองของดินแดนตะวันออกของมุสลิม และการแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติมหาศาลของมัน พายุแห่งการปฏิวัติที่กำลังมาถึงนี้จะไม่ยอมทนทุกข์และไม่ยอมรับการอุปถัมภ์ของต่างชาติ
ยังคงมีความแข็งแกร่งที่ยังไม่ได้ถูกใช้ในมรดกแห่งอิสลามของอารเบีย ในนั้นประชาชนมีส่วนร่วมในประวัติศาสตร์แห่งความมั่งคั่งทางปัญญาและจิตวิญญาณที่ไร้ขอบเขตที่ถักทอขึ้นโดยรอบความศรัทธาที่ไม่ยอมแบ่งแยก และยอมรับความหลากหลาย มันแค่รอเวลาเท่านั้นก่อนที่สำนึกนี้จะแสดงตัวขึ้นมาเป็นความจริงที่สัมผัสได้ มันเป็นภาวะจำยอมอย่างมากเท่านั้นที่ประชาชนสามารถรับได้ก่อนที่จะทำการต่อต้านความอยุติธรรม
___
เขียนโดย Catherine Shakdam
เกี่ยวกับผู้เขียน : แคเทอรีน ชัคดัม เป็นนักวิเคราะห์การเมือง, นักเขียน และนักวิจารณ์เกี่ยวกับตะวันออกกลาง โดยเน้นเป็นพิเศษในเรื่องขบวนการหัวรุนแรงและเยเมน ผลงานของเธอตีพิมพ์เผยแพร่ในสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีชื่อเสียงของโลก เช่น Foreign Policy Journal, Mintpress News, The Guardian, Your Middle East, Middle East Monitor, Middle East Eye, Open Democracy, Eurasia Review และอีกมากมาย ผู้เชี่ยวชาญทางสถานี RT เธอยังเขียนบทวิเคราะห์ให้กับ Etejah TV, สถานีวิทยุ IRIB, Press TV และ NewsMax TV เป็นผู้อำนวยการโครงการต่างๆ ของสถาบัน Shafaqna เพื่อการศึกษาตะวันออกกลาง และเป็นที่ปรึกษาให้กับ Anderson Consulting งานวิจัยและผลงานเกี่ยวกับเยเมนของเธอถูกนำไปใช้โดยคณะมนตรีความมั่นคงสห ประชาชนในเรื่องที่เกี่ยวกับเยเมนถูกปล้นกองทุนในปี 2015