ลมเปลี่ยนทิศ : ทำไมอัสซาดจึงเป็นตัวเลือกเดียวที่ทำงานได้ของซีเรีย?

2595
(ภาพ) ประธานาธิบดีบะชัร อัล-อัสซาด ของซีเรีย @ SANA/Handout via Reuters/Reuters

ในการแถลงข่าวเดือนนี้ นายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิล ของเยอมัน ได้เสนอแนวคิดว่า ประธานาธิบดีบะชัร อัสซาด ของซีเรีย อาจจะเป็นผู้ร่วมมือที่มีประโยชน์ในการกำจัดการก่อการร้ายได้ อะไรที่สามารถทำให้ยุโรปหวาดกลัวอย่างมากจนถึงกับต้องการจะทำข้อตกลงกับปีศาจที่ตนกำหนดขึ้นมาเองได้?

ในที่สุด นายทุนตะวันตกทั้งหลายกำลังจะจมปลักที่พวกเขาช่วยกันสร้างขึ้นในซีเรียแล้วหรือ? ก็ไม่เชิงหรอก แต่น้ำเสียงของเจ้าหน้าที่มีความประนีประนอมมากกว่าที่เป็นเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา เมื่อนายโลรองต์ ฟาบิอุส รัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศส กับรัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษ ฟิลิป แฮมมอนด์ ปฏิเสธอย่างแข็งขันว่าไม่มีทางเป็นไปได้ที่จะร่วมงานกับอัสซาดเพื่อกำจัดการก่อการร้าย

พวกเขาได้เขียนในแถลงการณ์ร่วมเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ว่า “การเสนอให้อัสซาดเป็นทางออกสำหรับกลุ่มหัวรุนแรงนั้นเป็นการเข้าใจสาเหตุของลัทธิหัวรุนแรงผิด หลังจากมีผู้เสียชีวิตไป 220,000 คน และพลัดถิ่นอีกหลายล้านคน มันเป็นเรื่องเหลวไหลที่จะคิดฝันว่าชาวซีเรียส่วนใหญ่จะยอมถูกปกครองโดยคนที่สร้างความทุกข์ทรมานให้กับพวกเขา”

แค่ไม่กี่เดือนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ถึงเพียงนี้… หรือว่าสงครามในซีเรียจะเป็นความจริงที่ชัดเจนมากจนเกินกว่าที่ลัทธิทุนนิยมตะวันตกจะรับมือได้? เป็นไปได้ไหมที่ตอนนี้ยุโรปจะเต็มใจที่แบ่งประโยชน์กับผู้ชายที่ตนได้ทำให้เป็นปีศาจมาตลอดหลายปีที่ผ่านมาเพื่อสะกัดกั้นกระแสของผู้ลี้ภัยในอาณาเขตของตน?

ขณะที่เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่น่าจะปฏิเสธว่าการอพยพของซีเรียไม่เกี่ยวอะไรกันกับการเปลี่ยนใจอย่างฉับพลันของพวกเขา แต่ฉันสงสัยว่าจะมีใครบ้างที่ถูกหลอกด้วยการกลับลำครั้งนี้ ท่าทีของยุโรปต่อการแทรกแซงทางทหารของต่างชาติยังคงเป็นเสมือนการปลดปล่อยดังเช่นที่เคยเป็นมา โดยที่เจ้าหน้าที่ของยุโรปให้การสนับสนุนสงครามในนามของการสร้างประชาธิปไตย แต่การแบกรับภาระแห่งความขัดแย้งของมนุษย์ที่เกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้นั้นไม่เคยเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการเลย

ในขณะที่การรุกรานนั้นที่จริงคือผลกำไรอย่างงาม อย่างน้อยก็จากจุดยืนของนักค้าอาวุธ แต่ตอนนี้ค่าความเสียหายอาจจะสูงจนเกินกว่าที่นายทุนตะวันตกจะแบกรับได้ เพราะมันหมายถึงการต้องเปิดชายแดนให้กับบรรดาผู้ที่ถูกทำให้สิ้นเนื้อประดาตัวด้วยความทะเยะทะยานทางทหารของนาโต้ และเนื่องจากการสร้างภาพผู้อพยพให้เป็นปีศาจและอาชญากรน่าจะต้องใช้เวลานานมากกว่าจะช่วยสะกัดกั้นการไหล่บ่าเข้ามาของมนุษย์ในยุโรปได้ เจ้าหน้าที่กำลังทำงานหนักเพื่อแก้ไขเรื่องนี้อย่างรวดเร็ว

จู่ๆ ประธานาธิบอัสซาดก็ดูไม่น่าจะชั่วร้ายเท่าใดนัก บางทีอีกไม่นานความชอบธรรมตามรัฐธรรมนูญของเขาก็จะถูกจดจำได้ด้วยเช่นกัน และคำพูดของบรรดานักการเมืองที่บอกว่าการปกครองของอัสซาดเป็นอันตรายมากกว่าการปกครองของกลุ่มรัฐอิสลาม (ไอเอส หรือไอซิซ/ไอซิล) ก็จะถูกลืมเลือนไป โดยถูกเก็บไว้ใต้ความวิปริตชั่วคราวทางการเมือง หรือมันแค่จะถูกเรียบเรียงขึ้นมาใหม่จากหน้าประวัติศาสตร์ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นแบบไหนก็ย่อมจะจัดการได้ง่ายกว่าอย่างแน่นอน

แต่หันกลับมาดูการพ้นโทษทางการเมืองของผู้นำซีเรีย

เมื่อวันที่ 10 กันยายน นายกรัฐมนตรีเดวิด คาเมรอน ของอังกฤษ ได้เรียกร้องให้เข้าแทรกแซง “ทางทหารอย่างหนัก” ต่อไอซิซ เพื่อให้ดูเหมือนกับที่เป็นมาตลอด คาเมรอนจะวางไอซิซให้เป็นเป้าหมายหลักของอังกฤษ โดยออกห่างจากเรื่องการต่อต้านอัสซาดของเขา และคำสั่งที่จะให้ช่วยเหลือ “กลุ่มสายกลาง” ในการต่อต้านดามัสกัส
เขากล่าวว่า “เราจะเป็นส่วนหนึ่งของพันธมิตรระหว่างประเทศที่กล่าวว่า เราจำเป็นต้องมีวิธีการหนึ่งในซีเรีย ซึ่งจะหมายถึงว่า เราจะมีรัฐบาลที่สามารถดูแลประชาชนได้”

ไม่ใช่การเปลี่ยนท่าทีโดยสิ้นเชิง คาเมรอนกล่าวเสริมในท่วงทำนองเดียวกันว่า “อัสซาดต้องออกไป ไอซิลต้องออกไป สิ่งที่จำเป็นต้องใช้ ไม่ใช่แค่การใช้เงิน ไม่ใช่แค่ความช่วยเหลือ ไม่ใช่แค่การดำเนินการทางการทูต แต่มันจะเป็นวาระที่จะต้องใช้กำลังทางทหารอย่างหนัก”

คำแปลของมันน่าจะเข้าใจได้ว่า “การสนับสนุนการก่อการร้ายไม่ได้ผลสำหรับเราแล้วจริงๆ เรากลับไปโต๊ะเจรจาและหาทางออกจากความยุ่งยากนี้กันเถอะ ขณะที่ยังรักษาหน้าและยึดมั่นกับการเข้ายึดดินแดนด้วยวิธีการทางทหารของเราต่อไป”

ถ้าประธานาธิบดีอัสซาดจะไม่ใช่เป้าหมายเร่งด่วนของมหาอำนาจตะวันตกอีกต่อไปแล้ว พวกเขาก็ยังอยู่ห่างไกลจากการล้มเลิกการขับไล่เขาออกจากอำนาจ วอชิงตัน, ลอนดอน, ปารีส และเบอร์ลิน ยังคงต้องการที่จะควบคุมชะตากรรมทางสถาบันและการเมืองของซีเรียอย่างมากอยู่ เงินหลายล้านล้านที่พวกเขาได้ลงทุนไปจะต้องไม่สูญเปล่า… ลืมเรื่องการฟื้นฟูไปได้เลย ฉันกำลังพูดถึงการหาประโยชน์ทางอาณานิคมกับที่นี่

วันที่ 24 กันยายนนี้ นายกรัฐมนตรีอัลเกล่า แมร์เคิล ของเยอรมัน ได้ลงนามข้อตกลงนี้เมื่อเธอเสนอออกมาตรงๆ ว่า จะให้อัสซาดมีส่วนร่วมในการรักษาประเทศของเขาไม่ให้ถูกทำลายล้างอย่างสิ้นเชิง ตอนนี้นั่นคือแนวคิดหนึ่ง

แต่เดี๋ยวก่อน! ไม่ใช่วลาดิเมียร์ ปูติน หรอกหรือ ที่เป็นคนแรกที่แนะนำว่า สันติภาพในซีเรียไม่อาจเกิดขึ้นได้โดยปราศจากความร่วมมืออย่างแข็งขันจากประธานาธิบดีซีเรีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อชาวซีเรียยังคงมองว่าเขาเป็นผู้นำที่ชอบธรรมของพวกเขา?

แม้ว่ามหาอำนาจตะวันตกอยากจะปฏิเสธความจริงที่น่ากระอักกระอ่วนใจนี้ แต่อัสซาดก็ยังคงเป็นผู้นำที่ได้รับความนิยมในหมู่ประชาชนของเขา และเป็นที่นิยมมากยิ่งขึ้นอีกในเมื่อตอนนี้อีกทางเลือกหนึ่งคือชีวิตที่อยู่ใต้การปกครองแบบวิกลจริตของกลุ่มรัฐอิสลาม อย่าลืมว่าสงครามกลางเมืองที่ซีเรียประสบอยู่นี้ที่จริงแล้วไม่มีอะไรเกี่ยวกับสงครามกลางเมืองเลย ซีเรียก็เช่นเดียวกันกับอิรัก ที่ถูกรุกรานจากกองกำลังต่างชาติที่ได้รับแรงกระตุ้นจากอุดมการณ์ของต่างชาติ ชาวซีเรียเรียกร้องการปฏิรูปเมื่อปี 2011 ไม่ใช่ให้เปลี่ยนการปกครอง เสียงเรียกร้องเหล่านั้นคือเสียงของ “กลุ่มสายกลาง” ที่ได้รับเงินทุนจากตะวันตก ได้รับการหนุนหลังจากตะวันตก จำพวกเขาเหล่านั้นได้ไหม? ตอนนี้พวกเขาโบกสะบัดธงสีดำของไอเอส และพวกเขาคือเหตุผลที่ทำให้ประชาชนหลายแสนคนต้องพลัดถิ่น

“เราต้องพูดกับผู้แสดงบทบาทหลายคน ในที่นี้รวมถึงอัสซาด  แต่คนอื่นๆ ด้วย” อังเกล่า แมร์เคิล กล่าวในการแถลงข่าวหลังการประชุมสุดยอดฉุกเฉินของอียูเกี่ยวกับวิกฤติการณ์ผู้ลี้ภัย มันช่างสะดวกสบายอะไรเช่นนี้!

มันน่าตลกที่วิกฤติการณ์ในยุโรปทำให้เห็นคำแนะนำที่สมเหตุสมผลจากนักการเมืองได้ทันที ตอนนี้บรรดาผู้นำยุโรปต้องการที่จะเจรจาแล้ว! ตอนนี้นายทุนยุโรปเต็มใจที่จะยอมรับน้ำหนักและบทบาททางการเมืองของประธานาธิบดีอัสซาดในการแก้ปัญหาวิกฤติการณ์ในซีเรียแล้ว เราควรจะต้องเชียร์กันไหมคราวนี้?

เรื่องมันเป็นอย่างนี้ : บางทียุโรปน่าจะใช้ตัวอย่างสักหน้าหนึ่งจากหนังสือคู่มือการเมืองของประธานาธิบดีปูติน เพราะนโยบายต่างประเทศของเขาดูมีเหตุผลดี แทนที่จะใช้สงคราม เขากลับทำงานเพื่อสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ และเชื่อมโยงเครือข่ายที่มีความเหนียวแน่นจนการแทรกแซงทางทหารจะต้องหมดความพยายามไป

ตอนนี้ใครกันที่เป็นคนเสียสติ?

 

แปล : กองบก.เอบีนิวส์ทูเดย์
Source : https://www.rt.com/op-edge/316577-assad-syria-cameron-merkel-putin/
By : Catherine Shakdam
เกี่ยวกับผู้เขียน : แคเทอรีน ชัคดัม เป็นนักวิเคราะห์การเมือง, นักเขียน และนักวิจารณ์เกี่ยวกับตะวันออกกลาง โดยเน้นเป็นพิเศษในเรื่องขบวนการหัวรุนแรงและเยเมน ผลงานของเธอตีพิมพ์เผยแพร่ในสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีชื่อเสียงของโลก เช่น Foreign Policy Journal, Mintpress News, The Guardian, Your Middle East, Middle East Monitor, Middle East Eye, Open Democracy, Eurasia Review และอีกมากมาย ผู้เชี่ยวชาญทางสถานี RT เธอยังเขียนบทวิเคราะห์ให้กับ Etejah TV, สถานีวิทยุ IRIB, Press TV และ NewsMax TV เป็นผู้อำนวยการโครงการต่างๆ ของสถาบัน Shafaqna เพื่อการศึกษาตะวันออกกลาง และเป็นที่ปรึกษาให้กับ Anderson Consulting งานวิจัยและผลงานเกี่ยวกับเยเมนของเธอถูกนำไปใช้โดยคณะมนตรีความมั่นคงสห ประชาชนในเรื่องที่เกี่ยวกับเยเมนถูกปล้นกองทุนในปี 2015