บทบาทของ “ประเทศจิบูตี” ในสงครามเยเมน – ศูนย์ความมั่นคงของอิสราเอลในจงอยแอฟริกา (ตอนที่ 1)

1534
แผนที่ ประเทศจิบูตี

จิบูตี ชาติเล็กๆ แต่เป็นภูมิศาสตร์สำคัญ และเป็นแหล่งของหน่วยงานความมั่นคงของอิสราเอลในจงอยแอฟริกา
ประเทศจิบูตี   ตั้งอยู่บนภูมิภาคที่สำคัญ ติดกับอ่าวยุทธ์ศาสตร์ มับเดบ  จึงเป็นที่จับตามองและเป็นที่ปรากฏตัวของทหารจากชาติต่างๆ ในตะวันตก โดยเฉพาะอิสราเอลถือเป็นตัวหลักที่มีการเคลื่อนไหวในประเทศนี้

การเริ่มต้นสงคราม และการบุกโจมตีเยเมนโดยซาอุดิอาระเบียและพันธมิตรนั้น   นักวิเคราะห์และผู้เชี่ยวชาญด้านการเมือง ถือว่า มันเป็นสงครามที่ซาอุดิอาระเบีย อเมริกาและอิสราเอล ได้สร้างขึ้นเพื่อโจมตีและทำลายกลุ่มอันศอรุลลอฮ์เยเมน   ทำให้ชาวเยเมนต้องอพยพลี้ภัย และจำนวนนับพันๆ คนได้อพยพยัง อ่าวมันเดบ  นั่นหมายถึง จิบูตี นั่นเอง

จิบูตี เป็นชาติเล็กๆ ชาติหนึ่ง แต่เป็นภูมิศาสตร์ที่สำคัญ   เป็นแหล่งหน่วยงานความมั่นคงของทหารอเมริกา อิสราเอล อังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมนี ในจงอยแอฟริกา  ประเทศที่เพิ่งจะเป็นที่รู้จักมากขึ้นหลังจากเรือบรรเทาทุกข์ “ชาฮีด” ของอิหร่านที่จะช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ชาวเยเมน  ต้องเข้าไปจอดที่ พอร์ต จิบูตี

รายงานชิ้นนี้แบ่งเป็นสองตอน   ตอนที่หนึ่ง จะพิจารณา การปรากฏตัวและการเข้ามาของอิสราเอลในประเทศจิบูตี  และตอนที่สอง บทบาทของจิบูตีและอิสราเอลต่อสงครามในเยเมน

หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต  และสงครามครั้งที่สองในอ่าวเปอร์เซียกับอิรัก   สถิติการปรากฏตัวและการเข้ามาของทหารจากชาติตะวันตก โดยเฉพาะอเมริกา ในตะวันออกลางนั้นมีอัตราเพิ่มมากขึ้น   ฐานที่มั่นต่างๆ ในอ่าวเปอร์เซีย  อ่าวเอเดน  ทะเลอินเดีย  และทะเลแดง เต็มไปด้วยเรือรบและกองกำลังทหารของอเมริกา อังกฤษและฝรั่งเศส
ทว่า เขตพื้นที่ต่างๆที่กล่าวมานั้นเป็นที่รับรู้มากันอย่างแพร่หลาย   แต่สำหรับประเทศเล็กๆ เช่น จิบูตี  แม้นว่าจะเป็นประเทศเล็กๆที่ไม่มีทรัพยากรที่สำคัญแล้ว  แต่ทว่าเป็นประเทศที่มีภูมิศาสตร์สำคัญ ซึ่งไม่พ้นจากการถูกจ้องมองจากชาติต่างๆในตะวันตกได้      ซึ่งเราจะชี้ให้เห็นถึงสถิติและยอดจำนวนของทหารจากตะวันตกที่อาศัยและปักหลักอยู่ในประเทศนี้

เหลียวมอง จิบูติผ่านภูมิศาสตร์และภูมิประเทศ

จิบูตี มีพื้นที่ 23,200 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ชายฝั่งทะเล 314 กิโลเมตร มีประชากร 906,112 คน    เป็นนครรัฐในแอฟริกาตะวันออกในภูมิภาคจงอยแอฟริกา

จิบูตีมีอาณาเขตทางเหนือจดประเทศเอริเทรีย ทางตะวันตกและใต้จดเอธิโอเปีย ทางตะวันออกเฉียงใต้จดโซมาเลีย อาณาเขตส่วนที่เหลือคือชายฝั่งทะเลแดงและอ่าวเอเดน ในอีกด้านของทะเลแดงคือคาบสมุทรอาหรับในส่วนของประเทศเยเมน ห่างจากฝั่งของจิบูตี 20 กิโลเมตร

อาณาเขตที่ติด อ่าวเอเดน  ก็เป็นสิ่งที่เพียงพอที่จะชี้ถึงความสำคัญของประเทศเล็กๆแห่งนี้  เนื่องจากอ่าวเอเดนเป็นเส้นเดินเรือที่สำคัญเพราะเป็นทางผ่านจากทะเลอาหรับไปทะเลแดงและเข้าสู่คลองสุเอซ  ซึ่งเป็นพื้นที่ยุทธ์ศาสตร์หนึ่งที่สำคัญสำหรับอียิปต์  โดยเฉพาะอิสราเอล  เนื่องจากประสบการณ์ครั้งประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา สมัยสงคราม 6 วัน กับชาติอาหรับ ในปี  1967    เยเมนได้ร่วมมือ “ญะมาล อับดุน นาเซร”  ทำการปิดอ่าวเอเดน เพื่อสกัดเรือสินค้าต่างๆที่มีปลายทางยังอิสราเอล  และหลังจากนั้นอิสราเอลจึงคิดหาวิธีในการควบคุมอ่าวเอเดนในเวลาต่อมา

ในด้านการขนส่ง ถือเป็นจุดเปลี่ยนผ่านสินค้า  (น้ำมันและ ก๊าส)  เป็นเขตพื้นที่ยุทธ์ศาสตร์เช่นกันสำหรับซาอุดีอาระเบีย อเมริกาและชาติตะวันตก   เป็นที่ยอมรับและเชื่อกันว่า   ผลประโยชน์ของอเมริกาและยุโรปขึ้นอยู่กับความปลอดภัยของเขตพื้นที่ยุทธ์ศาสตร์ในอ่าวเอเดนและทะเลแดง  สำหรับซาอุดิอาระเบียก็มีความสำคัญไม่น้อย เพราะหากเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงในอ่าวเอเดนแล้ว มันก็จะส่งผลกระทบต่อเส้นทางการขนส่งพลังงานเหล่านี้สู่ตะวันตก อย่างแน่นอน

ดังนั้นเมื่อพิจารณาถึงความสำคัญด้านยุทธ์ศาสตร์ของอ่าวเอเดนแล้ว จิบูตีก็ย่อมมีความสำคัญไม่น้อย เพราะอานาเขตพื้นที่ของประเทศก็ติดกับอ่าวเอเดนเช่นกัน

ด้วยเหตุนี้ทางอิสราเอลจึงให้ความสำคัญเป็นพิเศษต่อจิบูตี

นายพล “Shay Afytay” อดีตผู้บัญชาการทหารชายแดนอิสราเอล   เผยว่า การปรากฏตัวของทหารอิสราเอลยังจิบูตี มีในรูปลักษณะดังนี้

1   ส่งเรือดำน้ำนิวเคลียร์รุ่นที่สามและเรือดำน้ำของอังกฤษ

2   ส่งเรือรบสามลำ รุ่น sar    5   โดยส่งจาก  “ไฮฟา”  สู่ “พอร์ต “อัสดูด”  ผ่านคลอง สุเอซ  และเข้าไปยังจิบูตี

3   ส่งรถขนส่งรถถังและอุปกรณ์ทางทหารสามลำ

4   ส่งเครื่องบินอากาศยานไร้พลขับ รุ่น RQ และ Ziff  5   ลำ

นอกจากนั้นตามรายงานของแหล่งข่าว “Alnatvr”   ทางหน่วยข่าวกรองทหารชายแดนอิสราเอล เผยว่า   เรือดำน้ำสองลำ  เรือรบที่บรรทุกขีปนาวุธ 15  ลำ  และเครื่องบินรบ F-16  หลายลำ ตั้งอยู่ในฐานทัพ “มอบบาซา” เคนยา   เพื่อทำการควบคุมประเทศจิบูตี

มีการลงนามข้อตกลงด้านความมั่นคงระหว่างอิสราเอลกับจิบูตี ในปี 2010   โดยมีอเมริกาเป็นตัวกลาง    รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมอิสราเอล เป็นผู้ลงมือเซ็นข้อตกลงดังกล่าว ในสมัยที่เดินทางเยือนจิบูตี เมื่อปี 2010

ตามรายงานของหนังสือพิมพ์ทหาร  Markhvt ” ในเดือนพฤศจิกายน 2011  เผยว่า  หลังการเซ็นสัญญาข้อตกลงดังกล่าวแล้ว  ทางทหารอิสราเอลสามารถส่งทหารเข้าไปในจิบูตี ดังนี้

1    ส่ง เรือรบและเรือลาดตระเวนรุนใหม่   รุ่น  “Sober Dfvra”  5   ลำ

2    ส่งเครื่องบินรบ F-16    (ไม่ได้ระบุจำนวน)

3    ส่งหน่วยคอมมาโดพิเศษ 200   นาย

ดังนั้นจึงเข้าใจแล้วว่า จิบูตี กลายเป็นศูนย์กลางทหารของอิสราเอลในทะเลแดงและอ่าวเอเดน   และนอกจากนี้จะเห็นสายลับและผู้เชี่ยวชาญของอิสราเอลจำนวนมากอาศัยในจิบูตี

ฝรั่งเศส

จิบูตี เดิมเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส ในช่วง พ.ศ. 2405-2443 ทั้งโซมาเลียและเอธิโอเปียต่างอ้างกรรมสิทธิ์เหนือจิบูตี การสู้รบของกลุ่มชนเชื้อสายเอธิโอเปียกับโซมาเลียมีมาอย่างต่อเนื่องจนจิบูตีได้รับเอกราชเมื่อ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2520 ปัจจุบันยังมีกองทหารฝรั่งเศสอยู่ในจิบูตี

ซึ่งกองทหารฝรั่งเศสที่อยู่ในจิบูตี ถือเป็นกองทัพอันดับสามรองลงมาจากอิสราเอล และอเมริกา

หลังสงครามอ่าวครั้งที่สอง ฝรั่งเศสและจิบูตี ได้ลงนามข้อตกลงในการสร้างฐานทัพ “ลาโมนีเนีย” ในประเทศจิบูตีอีกด้วย

อเมริกา

หลังสงครามอ่าวครั้งที่สอง และเหตุการณ์บุกโจมตีอิรัก ปี  2003    อเมริกาได้ใช้ฐานทัพจิบูตีปฏิบัติการทั้งทางทะเลและอากาศ

หากพิจารณาจากประเด็นที่กล่าวมาเบื้องต้น จะเข้าใจว่า  แม้นว่าจิบูตีไม่ใช่ประเทศที่อุดมสมบูรณ์และมีทรัพยากรธรรมอันมากมายมหาศาล  แต่เป็นประเทศที่มีภูมิศาสตร์ที่สำคัญอย่างสูง  ที่หลายชาติเข้าไปมีบทบาทเพื่อสามารถควบคุมเขตพื้นที่ในภูมิภาคอ่าวและใช้จิบูตีเป็นประตูแห่งการควบคุม    โดยเฉพาะเขตพื้นที่ที่ติดกับอ่าวเอเดน  ซึ่งมันเชื่อมติดกับทะเลแดง  จากนั้นติดกับพอร์ต “ EILAT ซึ่งย่อมเป็นจุดสำคัญมากเป็นพิเศษสำหรับอิสราเอล……..

 

http://www.farsnews.com/newstext.php?nn=13940305000733