จากลัทธิต่อต้านยิวของยุโรป สู่ปรากฏการณ์เกลียดกลัวอิสลาม หลังการโจมตี ชาร์ลี เอบโด

มุสลิม 6.5 ล้านของในฝรั่งเศส ซึ่งเป็นเพียงแค่ 10 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งหมด กำลังถูกบีบให้ต้องแบกรับความผิดที่ผู้ก่อการร้ายสี่คนลงมือกระทำ ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่าการเรียกร้องให้แก้แค้นและพูดครอบคลุมถึงส่วนรวมจะยิ่งกระพือเปลวไฟของกลุ่มหัวรุนแรงโดยไม่เป็นการแก้ปัญหาเลย

2233

(ภาพ) โบ วิลแบรนด์ โฆษกของ “Danish Defense League” (สันนิบาตป้องกันเดนมาร์ก) วางท่าถ่ายรูปร่วมกับสมาชิกบางส่วนของกลุ่มในโคเพนฮาเกน กลุ่มนี้และต้นกำเนิดของกลุ่มในอังกฤษแสดงตัวอย่างทรงผมใหม่ของพวกสุดโต่งปีกขวา นาซียุคใหม่ที่เกลียดชังชาวยิว ความเคลื่อนไหวนี้อ้างว่าเป็นการต่อสู้ของกลุ่มกับอิสลาม และใช้สัญลักษณ์ของนักรบครูเสดแทนสัญลักษณ์สวัสติกะ มันได้วางกรอบภารกิจไว้ว่าเป็นการต่อสู้ทางวัฒนธรรมกับอิสลาม แม้จะมีผู้คัดค้านบอกว่ามันเป็นอาการที่มากกว่าโรคเกลียดกลัวคนอื่นที่ล้าสมัยไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

 

ลอนดอน – ผู้ประท้วงหลายแสนคนได้ออกมายังท้องถนนในฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 11 มกราคม เพื่อแสดงออกถึงการปฏิเสธการก่อการร้ายและแสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับครอบครัวของเหยื่อ 12 คน จากการโจมตีสำนักงานนิตยสารล้อเลียนชาร์ลี เอบโด ในฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 7 มกราคม

แต่ขณะที่ฝรั่งเศสและโลกร่วมประณามการก่อการร้าย ชาวมุสลิมกลับพบว่าตัวเองอยู่ในใจกลางของพายุอีกลูกหนึ่ง เมื่ออิสลามถูกสังคมตะวันตกที่หวาดกลัวมากขึ้นตราหน้าว่าเป็นศาสนาที่ใจคับแคบและมีความรุนแรง เนื้อหาสำคัญของศาสนาอิสลามและค่านิยมถูกท้าทายและทำให้เท่าเทียมกับความรุนแรงและลัทธิสุดโต่ง เป็นการเดินตรงไปสู่เรื่องราวของการกีดกันทางสังคมและศาสนา

แม้จะไม่มีเหตุผล แต่การกระทำของบุคคลสี่คนทำให้ชาวมุสลิม 6.5 ล้านคนของฝรั่งเศส หรือประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ของประชากรในประเทศ ต้องร่วมแบกรับความผิดจากการก่อการร้าย และโดนกล่าวโทษจากการกระทำที่พวกเขาไม่สนับสนุน การกระทำที่เกิดขึ้นโดยลัทธิที่พวกเขาไม่ได้นับถือ

การที่อะห์เมด เมราเบต เจ้าหน้าที่ตำรวจมุสลิมชาวฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในจำนวนของเหยื่อในเหตุการณ์ จึงเป็นข้อพิสูจน์แล้วว่าการก่อการร้ายไม่รู้จักพระเจ้าและไม่รู้จักศาสนา เมราเบตถูกฆ่าในขณะปฏิบัติหน้าที่ พยายามที่จะขัดขวางไม่ให้คนร้ายหนีไป แต่ปลายนิ้วที่กริ้วโกรธก็ยังคงชี้มายังประชาคมมุสลิมทั้งหมดราวกับเป็นผู้ร่วมรับผิดต่อการโจมตี ทำให้ความเกลียดกลัวอิสลามเป็นโฉมใหม่ของลัทธิต่อต้านชาวยิว

ในการกล่าวถึงการแบ่งแยกทางลัทธิความเชื่อและชาติพันธุ์ที่กำลังเพิ่มขึ้นในฝรั่งเศส นายบัน คีมุน เลขาธิการสหประชาชาติได้เน้นว่า “นี่เป็นเครื่องเตือนใจอีกอย่างหนึ่งว่าเรากำลังเผชิญหน้ากับอะไรร่วมกัน ไม่ควรจะมองว่ามันเป็นสงครามศาสนา เพื่อศาสนา และในนามของศาสนา มันเป็นการโจมตีความเป็นมนุษย์ที่เรามีร่วมกัน โดยมีความมุ่งหมายที่จะสร้างความตื่นตกใจและยุยง”

แต่ทว่าเสียงเรียกร้องให้อดกลั้นเช่นนั้นกลับไม่ได้ยินไปถึงผู้คนจำนวนมากมายมหาศาล รวมถึงเจ้าหน้าที่ระดับสูงและชนชั้นธุรกิจ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อวันที่ 10 มกราคม รูเพิร์ต เมอร์ดอช เจ้าพ่อสื่อของอังกฤษ ได้แสดงความเห็นทางทวิตเตอร์ว่า “บางทีมุสลิมส่วนใหญ่คงจะ (อยู่) อย่างเป็นสุข แต่จนกว่าพวกเขาจะยอมรับและทำลายเนื้อร้ายนักรบญิฮาดของพวกเขาที่กำลังเติบโตขึ้นนั้นไป พวกเขาต้องรับผิดชอบ”

เมอร์ดอชยังได้ระบุหลังจากทวีตนั้นอีกว่า “อันตรายอันใหญ่หลวงจากนักรบญิฮาดปรากฏอยู่ทั่วไปตั้งแต่ฟิลิปปินส์ไปจนถึงแอฟริกา ยุโรป และสหรัฐฯ ความถูกต้องทางการเมืองสร้างขึ้นเพื่อการปฏิเสธและการหลอกลวง”

ขณะที่การระเบิดใส่ประชาคมมุสลิมของเมอร์ดอชได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง ทวีตของเขากลับได้รับการทวีตซ้ำอีกกว่า 7,2000 ครั้ง แสดงให้เห็นชัดเจนถึงกระแสความเกลียดกลัวอิสลามที่แรงกล้า

เมื่อถึงวันที่ 15 มกราคม เมอร์ดอชได้เปลี่ยนท่าทีในเรื่องนี้ลงเล็กน้อย ด้วยการทวีตว่าเขา “ไม่ได้หมายความว่ามุสลิมทั้งหมด” ต้องรับผิดชอบต่อการโจมตีปารีส แต่เขากล่าวเสริมว่า “ชุมชนมุสลิม” – ไม่ใช่ประชาคมมุสลิมในวงกว้างทั่วโลก- “จะต้องถกเถียงและเผชิญหน้ากับลัทธิหัวรุนแรง”

ขณะเดียวกัน มารีน เลอแปง หัวหน้าพรรคแนวร่วมแห่งชาติ พรรคขวาจัดของฝรั่งเศส ได้เรียกร้องให้ใช้มาตรลงโทษที่หนักกว่านี้กับทุกฝ่ายที่มองว่าเป็นผู้สนับสนุนลัทธิอิสลามหัวรุนแรง เธอกล่าวกับ the press เมื่อวันที่ 9 มกราคมว่า
“ฉันยังได้แสดงให้เห็นถึงความจำเป็น –อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้- ที่จะต้องมีมาตรการเพื่อถอดหรือริบสัญชาติของผู้ที่มีสองสัญชาติทุกคนที่ได้ออกไปฝึกฝนหรือสู้รบในต่างประเทศ แล้วกลับเข้ามาในดินแดนของเรา เพื่อก่ออาชญากรรมป่าเถื่อน ซึ่งดูเหมือนว่าจะเป็นกรณีของมาตกรสองคนนี้ที่อยู่ในกระบวนการไล่ล่า”

ขณะที่โลกไว้อาลัยกับผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์โจมตีปารีส ผู้เชี่ยวชาญด้านขบวนการสุดโต่งได้ออกมาเตือนว่า การเรียกร้องให้เอาคืนเช่นนั้นรังแต่จะทำให้การแบ่งแยกทางลัทธิความเชื่อและความสุดโต่งทางการเมืองมีความเข้มข้นยิ่งขึ้นทั่วทวีปยุโรป อันเป็นเหตุเป็นผลในหลายระดับที่จะทำให้แนวคิดคล้ายกับฟาสซิสท์คืนกลับมา

ลูอิส มิรันดา ผู้ก่อตั้งและบรรณาธิการใหญ่ของ The Real Agenda News ได้กล่าวเตือนว่า ถ้าไม่หลุดพ้นจากความเศร้าโศกเสียใจของฝรั่งเศสในการโจมตีชาร์ลี เอบโด “เหยื่อที่ไม่ถูกกล่าวถึงในการโจมตีปารีส เช่นเดียวกับในเหตุการณ์ 11 กันยายน และเหตุการณ์ 7/7 (การระเบิดลอนดอนปี 2005) ก็คืออิสรภาพ”

“ถ้าคุณได้ศึกษาวาระที่อยู่เบื้องหลังกลุ่มคนที่ต้องการใช้ความรุนแรงในวงจำกัดเพื่อขยายวาระการใช้อำนาจควบคุมของพวกเขา คุณจะได้เห็นว่าผลที่ได้จะเป็นคำสั่งอย่างผิดกฎหมายในเวทีระดับชาติและนานาชาติที่จำกัดอิสรภาพและเสรีภาพของพลเมืองและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ” มิรันดากล่าว

“อิสลามไม่ใช่เหยื่อของเหตุการณ์เฉพาะนี้ แต่เป็นศาสนิกชนผู้ซึ่งศาสนาของพวกเขาถูกปล้นไปเพื่อก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ”

 

จิตวิญญาณแห่งความพยาบาท

ท่ามกลางการเรียกร้องให้แก้แค้น ชาวมุสลิมถูกบีบให้ต่อสู้กับการที่ศาสนาของพวกเขาถูกเจาะจงว่าเป็นบ่อเกิดของลัทธิรุนแรงทั้งหมดในโลกนี้

ราเชล ลู นักเขียนคอลัมน์ให้กลุ่มผู้สนับสนุนสหพันธ์ (Federalist) ได้เขียนว่า “เรากังวลเกี่ยวกับมุสลิม เพราะพวกเขาเป็นกลุ่มเดียวที่ฆ่าประชาชนในนามของพระเจ้าของพวกเขา”

ในเวลาแห่งความตึงเครียดที่เพิ่มสูงขึ้นเช่นนี้ ทั่วทั้งยุโรปดูเหมือนจะถูกครอบงำด้วยจิตวิญญาณแห่งความพยาบาทนี้ นักการเมืองทั่วทวีปเร่งเร้าให้รัฐบาลของพวกเขาใช้มาตรการที่รุนแรงยิ่งขึ้นต่อมุสลิม “ที่วิ่งหนี” บ่อยครั้งที่ใช้วิธีการพูดแบบครอบคลุมทั่วไป และใช้การตราหน้าในเชิงแบ่งแยกลัทธิความเชื่อเพื่อสนับสนุนและสร้างความชอบธรรมแก่ทัศนคติของพวกเขา

ในฮอลแลนด์ เกิร์ต ไวล์เดอร์ส นักการเมืองชาวดัทช์ที่กำลังถูกดำเนินคดีจากการยุยงให้เกิดความเกลียดชังทางเชื้อชาติ ได้เรียกร้องให้ “ลดความเป็นอิสลาม” ในสังคมตะวันตกเพื่อปกป้อง “ค่านิยมแบบประชาธิปไตยและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของเรา”

“เราต้องปิดชายแดนของเรา มีการควบคุมแนวชายแดนเหมือนเดิม กำจัดความถูกต้องทางการเมือง เริ่มนำการควบคุมตัวด้วยคำสั่งของฝ่ายบริหารมาใช้ และหยุดการอพยพเข้าเมืองจากประเทศมุสลิม” ไวล์เดอร์สเน้นย้ำเมื่อวันที่ 7 มกราคม

Netherlands Election Wilders(ภาพ) เกิร์ต ไวล์เดอร์ส นักการเมืองชาวดัตช์ที่กำลังดูกดำเนินคดีจากการยุยงให้เกิดความเกลียดชังทางเชื้อชาติ เรียกร้องให้ “ลดความเป็นอิสลาม” ในสังคมตะวันตก โดยอ้างว่ายุโรปต้องเริ่มใช้การควบคุมตัวด้วยคำสั่งของฝ่ายบริหารและหยุดการอพยพเข้าเมืองจากประเทศมุสลิม

 

ในฝรั่งเศส เลอแปงได้สะท้อนความรู้สึกนึกคิดของไวล์เดอร์ โดยเรียกร้องให้นำการลงโทษประหารชีวิตกลับมาใช้อีกครั้ง และให้ปิดการอพยพเข้าเมืองจากประเทศมุสลิม และกฎหมายในการเฝ้าติดตามต้องกว้างขวางขึ้น

ในสหราชอาณาจักร นิเกล ฟาราจ หัวหน้าพรรคอินดิเพนเดนส์ ตั้งแต่ปี 2010 ยืนยันความคิดเห็นของเขาว่า มุสลิมเป็นเสมือน “เสาต้นที่ห้า” เป็นภัยคุกคามที่ลอนดอนควรจะรับรู้และกล่าวถึง

ในสวิตเซอร์แลนด์ วอลเตอร์ วอบแมนน์ นักการเมืองและสมาชิกพรรคประชาชนสวิซ ผู้ซึ่งทำการรณรงค์ต่อต้านมุสลิมมายาวนาน ได้เรียกร้องให้รัฐบาลพิจารณาสั่งห้ามกลุ่มผู้ลี้ภัยชาวมุสลิมบางกลุ่มที่มีท่าทีเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของชาติ

ในอิตาลี่ แมททิโอ ซัลวินี หัวหน้าสันนิบาติเหนือ กลุ่มปีกขวาที่ได้รับความนิยมจากประชาชนเมื่อไม่กี่ปีมานี้ ก็ได้กระโดดขึ้นรถกระจายเสียงต่อต้านชาวมุสลิม โดยให้เหตุผลว่า วิถีชีวิตของมุสลิม “เข้ากันไม่ได้กับวิถีชีวิตของเรา”
ซัลวินี่ยังวิจารณ์สันตะปาปาฟรานซิส ที่เป็นผู้สนับสนุนอย่างแข็งขันในการสนทนาระหว่างศาสนาและเปิดใจกว้าง ซัลวินี่กล่าวว่า “สันติภาพนั้นไม่เป็นไร แต่ในฐานะโฆษกของชาวแคธอลิกทั้งปวง คุณควรจะเป็นกังวลกับผู้ที่กำลังเข่นฆ่าคุณที่อยู่ทั่วโลก”

ขณะที่ฝรั่งเศสไว้อาลัยกับผู้เสียชีวิต ความรู้สึกหวาดกลัวและโกรธแค้นทั่วทั้งยุโรปและทั่วโลกได้ยอมให้เกิดการโต้แย้งกันอย่างรุนแรงในเรื่องความหลากหลายทางวัฒนธรรม เสรีภาพในการพูด และอิสลาม

ในสหรัฐฯ บิลล์ มาเฮอร์ นักพูดล้อเลียนชาวสหรัฐฯ และเจ้าของรายการ “Real Time with Bill Maher” กล่าวอ้างว่า “(มุสลิม) หลายแสนคนสนับสนุนการโจมตีเหมือน (ชาร์ลี เอบโด)” เป็นการเชื่อมโยงอิสลามเข้ากับกลุ่มก่อการร้ายโดยตรง

“สิ่งที่เราพูดกันมาตลอด และถูกเรียกว่าคนดันทุรังเพราะเรื่องนั้น ก็คือ เมื่อมีแอปเปิ้ลเสียหลายลูกอย่างนี้ ต้องมีบางอย่างผิดปกติกับสวนนั้น” มาเฮอร์กล่าว

ไม่ว่าจะมองไปทางไหน อิสลามและชาวมุสลิมถูกมองด้วยสายตาที่โกรธแค้น แม้ว่าผู้นำรัฐจะเรียกร้องให้คนในชาติมีความอดทนอดกลั้นจากการยอมตกอยู่ในความมีใจคับแคบและดันทุรัง แต่ดูเหมือนความเกลียดกลัวอิสลามจะได้เข้าไปสู่จิตสำนึกกระแสหลักแล้ว และถ้าหากการรณรงค์ต่อต้านอิสลามของชาวยุโรปรักชาติต่อต้านอิสลามในตะวันตก (PEGIDA) ในเดรสเดน ประเทศเยอรมนี หรือการรณรงค์โฆษณาติดรถโดยสารของนาซีต่อต้านมุสลิมซานฟรานซิสโกของกลุ่มป้องกันเสรีภาพอเมริกันในซานฟรานซิสโก เป็นสิ่งที่ต้องพบเจอ ชาวมุสลิมก็จำเป็นที่จะต้องเตรียมพร้อมสำหรับพายุที่รุนแรงมากยิ่งขึ้น

ในการแสดงความคิดเห็นกับ Russia Today อดีตเจ้าหน้าที่ซีไอเอ เรย์ แม้คโกเวิร์น ได้แสดงความกังวลอย่างลึกซึ้งต่อการที่โศกนาฏกรรมที่ชาร์ลี เอบโด จะเปิดทางให้กับการเรียกร้องให้แก้แค้นต่อประชาคมมุสลิม และส่งเสิมให้ใช้นโยบายเฝ้าติดตามที่รุกรานมากยิ่งขึ้น เขายังเตือนว่าการโจมตีในปารีสบ่งบอกถึงความไม่เหมาะสมในการกล่าวถึงภัยก่อการร้ายของหน่วยข่าวกรองในยุโรป

“หวาดกลัว หวาดกลัวมากๆ เป็นลักษณะของสิ่งที่เกิดขึ้นหลังเหตุการณ์ 11 กันยายนในประเทศของเรา ผมไม่คิดว่ามันจะช่วยได้ ผมคิดว่ามันก่อให้เกิดสิ่งที่เลวร้ายที่สุดในตัวเรา นั่นก็คือจิตวิญญาณแห่งความพยาบาท และเมื่อผมได้ยินการพูดคุยเกี่ยวกับการเพิ่มมาตรการเฝ้าติดตามแล้ว มันคือข้อเท็จจริง ไม่ใช่การแปลความหมาย ว่ามันมีมาตรการเฝ้าติดตามเพียงพอแล้วกับสองสิ่งนี้ตั้งแต่เริ่มต้น” แม้คโกเวิร์น กล่าว

 

เบื้องหลังฉากควัน

ขณะที่หลายคนในยุโรปและทั่วโลกพยายามที่จะทำความเข้าใจกับโศกนาฏกรรมครั้งนี้และผลที่จะตามมาของมัน ด้วยการฝ่ากระแสข้อมูลและข้อมูลผิดๆ ที่ฝ่ายต่างๆ พยายามประโยชน์จากความกลัวเพื่อความได้เปรียบของตน บางคนกลับเลือกที่จะมองให้พ้นไปจากการก่อการร้ายนี้ เพราะอยากจะขึ้นมาอยู่เหนืออารมณ์ดิบเพื่อพิจารณาถึงแรงกระตุ้นและความซับซ้อนของการโจมตีปารีสให้ดียิ่งขึ้น

ถึงแม้เรื่องราวที่มาจากฝรั่งเศสจะถูกบิดเพื่อเชื่อมโยงการฆ่าเจ้าหน้าที่ของชาร์ลี เอบโดเข้ากับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น โดยกล่าวหาว่ากลุ่มมุสลิมสุดโต่งต้องการที่จะทำลายประเพณีเก่าแก่ของฝรั่งเศส ลูอิส มิรันดา ขอให้มองต่างไป

“การโจมตีชาร์ลี เอบโด ของผู้ก่อการร้ายในปารีส ฝรั่งเศส เป็นภาพสะท้อนของความยากจน ความทุกข์ยาก และเหนืออื่นใด การถูกบีบให้ต้องอพยพอย่างมากมายซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นในภูมิภาคที่ยากจนของโลก” มิรันดากล่าว

นอกจากจะเป็นสาเหตุของความรุนแรงแล้ว แนวคิดสุดโต่งและการก่อการร้ายยังเป็นการแสดงถึงความแตกแยกทางสังคมที่เกิดจากนโยบายล่าอาณานิคมยุคใหม่ของมหาอำนาจตะวันตก

ในบทความที่ตีพิมพ์ใน Real Agenda News เมื่อ 8 มกราคม มิรันดาเขียนว่า “การโจมตีปารีสเมื่อเร็วๆ นี้เป็นบทพิสูจน์ของโลกที่ไร้เหตุผลที่เราอาศัยอยู่ ที่ซึ่งไม่มีปัญหาหากจะทำให้คนทั้งชาติยอมจำนนด้วยการใช้กำลัง แต่จะมีปัญหาหากจะพูดในสิ่งที่เราต้องการจะพูดเกี่ยวกับบางอย่างหรือบางคน”

“ความแปรปรวนของกลุ่มหัวรุนแรงทางศาสนาและทางการเมืองที่เราประสบอยู่ในปัจจุบันนี้ เป็นผลมาจากอิทธิพลของนักล่าอาณานิคมตะวันตกที่มีต่อชาติหรือรัฐใด -โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตะวันออกกลางและแอฟริกา- ที่กล้าดำรงอยู่โดยปราศจากหนี้สิน สงคราม และการทุจริตที่มหาอำนาจตะวันตกเรียกว่า ‘ประชาธิปไตย’”

ดร.คริสตอฟ เลห์แมนน์ ที่ปรึกษาอิสระทางการเมือง และบรรณาธิการใหญ่ของ nsnbc international เสนอแนะว่า โฉมหน้าที่แท้จริงของการก่อการร้ายในฝรั่งเศสอาจจะเป็นกลอุบายที่มีจุดมุ่งหมายในการครอบงำการเมืองของฝรั่งเศส และหนุนให้เกิดการต่อสู้ระหว่างตะวันตกและขั้วของอิสลาม

“มีการคาดเดาที่ถูกรับรองและไม่ถูกรับรองมากมายเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะเป็นการสร้างสถานการณ์” เลห์แมนน์กล่าว

“เรามีสงคราม 30 ปีในยุโรป เนื่องจากความแตกต่างทางศาสนาระหว่างแคธอลิกและโปรเตสแตนท์ เราได้เห็นการทำศาสนาให้เป็นการเมืองเพื่อแบ่งแยกและพิชิตเจตนารมณ์ครั้งแล้วครั้งเล่า ระหว่างปี 1970s เป็นการต่อสู้ระหว่างลัทธิสังคมนิยมกับทุนนิยม การแบ่งขั้วจอมปลอมเช่นนั้นเพียงแต่ช่วยส่งเสริมจุดมุ่งหมายทางการเมืองเท่านั้น”

สตีเฟ่น เล็นด์แมน นักวิจารณ์การเมืองและนักเขียนก็เป็นอีกคนหนึ่งยืนยันว่า การโจมตีชาร์ลี เอบโดเป็นตัวอย่างที่ดีเลิศของการชักใยทางการเมืองและการให้ข้อมูลผิดๆ

เล็นด์แมนเขียนว่า “การกล่าวอ้างของสื่อที่ฮึกเหิมว่าการโจมตีชาร์ลี เอบโด มุ่งเป้าไปที่เสรีภาพในการแสดงออกเป็นเรื่องเหลวไหล หลายคนไม่พอใจรายงานข่าวของ MSM ที่พวกเขาไม่ชอบ ไม่มีการติดตามเรื่องการฆ่าเจ้าหน้าที่บรรณาธิการ

“การสร้างสถานการณ์เป็นธรรมเนียมปฏิบัติของสหรัฐฯ ประเทศอื่นๆ ก็ใช้มัน ปฏิบัติการธงดำถูกวางแผนมาเพื่อหลอกลวง”

เขากล่าวต่อไปว่า “ปกติแล้วการพลีชีพต้องการเป้าหมายที่มีชื่อเสียงโดดเด่น ไม่ใช่ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับนโยบายของรัฐบาล

“พอล เครก โรเบิร์ต เชื่อว่าอเมริกาได้รับประโยชน์มากที่สุดจากสิ่งที่เกิดขึ้น เป็นวาระครองความเป็นประมุขของมัน ความต้องการครอบงำโลกของมัน

“ความจริงถูกฝังไปอย่างเป็นระบบ การโกหกคำโตเข้ามาแทนที่ การเผยแพร่ความหวาดกลัวทำให้ประชาชนร่วมทางไปกับสิ่งที่เป็นภัยต่อพวกเขา”

 

ขึ้นมาอยู่เหนือความเกลียดชัง

ในขณะที่หลายคำถามยังไม่มีคำตอบ มุสลิมทั่วทั้งยุโรปและทั่วโลกกำลังรู้สึกว่าพวกเขาถูกทำให้แตกต่างออกไปมากกว่าที่เคย

เชคอาริฟ อับดุล ฮุซเซน ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการสถาบันอัล-มะห์ดีในเบอร์มิงแฮม บอกกับสำนักข่าวว่า มุสลิมจะต้องรวมพลังกันแล้วขึ้นมาอยู่เหนือความเกลียดชังให้ได้ เขายังได้เตือนถึงนโยบายสองมาตรฐาน ความสุดโต่งทางการเมือง และการตัดออกจากวงสังคม โดยได้เน้นว่า “เราขอเรียกร้องไปยังรัฐบาล สังคมพลเมือง และสื่อของเราให้ส่งเสริมวัฒนธรรมในการเคารพซึ่งกันและกันและความเป็นเอกภาพ ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งที่ถูกแบ่งออกไปและเป็นที่รังเกียจ”

ในฝรั่งเศส เชคอะห์เมด จาบัลลาห์ เรียกร้องให้ผู้นำยุโรปอย่าลงโทษมุสลิมทั้งหมดเนื่องจากการกระทำของ “คนคลุ้มคลั่งไม่กี่คน” โดยเน้นถึงความจำเป็นที่ต้องส่งเสริมสิทธิที่เท่าเทียมกันของทุกคน โดยไม่คำนึงถึงพื้นเพ เชื้อชาติ หรือศาสนา

“อิสลามคือศาสนาแห่งความสันติและความยุติธรรม มุสลิมและอิสลามไม่ควรตกเป็นเป้าของความเกลียดชัง เพราะมันจะเป็นการทำให้เกิดความแตกแยกทางสังคมไปทั่วโลกเท่านั้น” จาบัลลาห์บอกกับสำนักข่าว

ในการแสดงความคิดเห็นกับบีบีซี เมื่อวันที่ 8 มกราคม ศาสตราจารย์ตาริก รามาดัน ด้านการศึกษาอิสลามร่วมสมัยที่มหาวิทยาลัยออกฟอร์ด ได้เน้นให้เห็นสิ่งที่เขาอธิบายว่าเป็นความไม่ลงรอยกัน “ในการปฏิบัติต่อชีวิตมนุษย์” ของรัฐบาลชาติตะวันตก

“สิ่งสำคัญสำหรับเราในวันนี้เกี่ยวกับความเศร้าโศก ทั้งในฝรั่งเศสและในตะวันตกด้วย ก็คือการทำความเข้าใจว่าสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ และสิ่งที่จะตามมาภายหลังนั้นไม่ใช่เรื่องของมุสลิมแต่ฝ่ายเดียว มันเป็นความรับผิดชอบของเราที่ต้องมารับรู้ร่วมกันว่าใครคือศัตรูของเราเมื่อมันเป็นเรื่องของพวกหัวรุนแรงที่ใช้ความรุนแรง และจะต้องไม่สร้างความสับสนในการพูดคุยกันของเรา… และนักการเมือง นักหนังสือพิมพ์ และนักวิชาการต้องมีความรับผิดชอบ และมีสิ่งที่ต้องรับผิดชอบร่วมกัน” รามาดันบอกกับบีบีซี

รามาดันยังกล่าวอย่างชัดเจนว่า ความเกลียดกลัวอิสลามเป็นหนึ่งในภัยคุกคามสังคมที่อันตรายที่สุด ไม่เฉพาะต่อฝรั่งเศสหรือในยุโรปเท่านั้น แต่ต่อโลกตะวันตกในวงกว้างด้วย “มีความเกลียดกลัวอิสลามที่นี่ด้วย” เขาหมายถึงสหราชอาณาจักร

“เราเห็นเป็นเรื่องปกติไปแล้วตอนนี้สำหรับการพูดถึงเรื่องนี้ (ว่าอิสลามเป็นรากเหง้าของลัทธิสุดโต่ง)” เขากล่าวเสริม
ขณะที่ประเทศในยุโรปพากันทบทวนถึงแนวคิดพหุวัฒนธรรม ซึ่งถูกกระตุ้นจากความกลัวนั้น นักวิชาการมุสลิมได้โต้แย้งว่า ความเกลียดกลัวอิสลามในฝรั่งเศสเป็นเพียงแค่การแสดงให้เห็นถึงนโยบายต่างประเทศของมหาอำนาจตะวันตกในตะวันออกกลาง เป็นการขยายสาขาของแนวคิดล่าอาณานิคมสมัยใหม่ที่ไม่ได้คาดไว้ล่วงหน้า

“มหาอำนาจตะวันตกได้ดำเนินนโยบายเข็งกร้าวในตะวันออกกลาง อาทิเช่นเครื่องบินโดรน การส่งผู้ร้ายข้ามแดน การทรมาน การชักใยทางการเมือง… สิ่งนี้ทำให้เกิดความเป็นสองมาตรฐานและคำพูดสองแง่ สิ่งนี้ได้ซึมซาบเข้าสู่สังคมและปรากฏอยู่ในการทำให้มุสลิมและอิสลามกลายเป็นภูตผีปีศาจไป” อายาตุลลอฮ์ นาซิร มาคาริม ชิราซี นักการศาสนมุสลิมคนสำคัญในอิหร่านบอกกับสำนักข่าว

“ลัทธิก่อการร้ายและอาชญากรรมต่อมนุษยชาติเป็นสิ่งต้องห้ามในอิสลาม” ชิราซีกล่าวต่อไป “ผู้ก่อการร้ายเป็นศัตรูของทุกคน”

 

by source http://www.mintpressnews.com
แปล/เรียบเรียง กองบก.เอบีนิวส์ทูเดย์