เซอร์วินสตัน เชอร์ชิล(กลาง) นั่งอยู่กับลูกชายของเขา แลนโดล์ฟ(ซ้าย), น้องชาย มาจ จอห์น เชอร์ชิล(ขวา) และหลานชายจอห์น
เทเลกราฟ- เซอร์วินสตัน เชอร์ชิล ถือว่าเป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์อย่างที่มิอาจปฏิเสธได้เกี่ยวกับการต่อสู้เพื่อปกป้องสหราชอาณาจักรและจักรวรรดินิยมจากการรุกรานของนาซี และตามมาด้วยการปลดแอกจากเผด็จการหลังม่านเหล็ก โซเวียต
ซึ่งในสายตาของสาธารณชน การอยู่บนเส้นทางการเมืองอันยาวนานของเซอร์วินสตัน เชอร์ชิล ทำให้เขาได้ขึ้นไปอยู่ในหมู่ชนชั้นสูงของอังกฤษ
แต่สิ่งที่อาจจะสร้างความประหลาดใจก็คือ เขาเป็นผู้หลงใหลอย่างมากต่ออิสลามและวัฒธรรมตะวันออก ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ครอบครัวของเขาหวาดระแวงว่าเขาอาจจะเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม
พร้อมกับการเปิดเผยจดหมายที่เขียนถึงเชอร์ชิล จากว่าที่น้องสะใภ้ของเขา เลดี้ เควนโดลิน เบอร์ตี้ (Lady Gwendoline Bertie) ได้เขียนเมื่อสิงหาคม ปี ค.ศ.1907 ซึ่งเธอได้แนะนำให้เขาได้ยับยั้งความศรัทธาอันแรงกล้าในเรื่องนี้
เนื้อความในจดหมาย ซึ่งถูกค้นพบโดย วอร์เรน ด๊อคเตอร์ (Warren Dockter) นักวิจัยทางประวัติศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ (Cambridge University) เธอได้ขอร้องว่า “ได้โปรดอย่าเปลี่ยนใจไปนับถือศาสนาอิสลามเลย เพราะฉันสามารถสัมผัสได้ว่า คุณมีแนวโน้มที่จะเป็นผู้ที่นิยมตะวันออก” (หลงใหลเกี่ยวกับตะวันออกและอิสลาม), ดั่งเช่นความเอนเอียงของเหล่าปาชา (Pasha), ฉันมั่นใจ”
เลดี้ เควนโดลิน ซึ่งแต่งงานกับแจ๊คผู้เป็นน้องชายของเชอร์ชิล ยังได้กล่าวเสริมว่า “ถ้าคุณเข้าไปสัมผัสกับอิสลาม การเปลี่ยนแปลงของคุณอาจจะส่งผลกระทบต่อความสะดวกสบายมากกว่าที่คุณคิด, การเรียกร้องไปสู่การนองเลือด, คุณรู้ไม๊ว่าฉันหมายถึงสิ่งใด, ต้องสู้กับมัน”
ในจดหมายที่เชอร์ชิลเขียนถึงเลดี้ ลีตต้อน (Lady Lytton) ใจความตอนหนึ่งได้กล่าวว่า “คุณจะคิดว่าผมเป็นปาชาคนหนึ่งก็ได้ (บรรดาศักดิ์ในจักรวรรดิออตโตมัน) และผมก็หวังว่าจะเป็นเช่นนั้น”
ความหลงใหลของเชอร์ชิลได้ทำให้เขาและเพื่อนสนิทของเขาที่ชื่อ วิลฟริด เอส บลันท์ (Wilfrid S. Blunt) ซึ่งเป็นนักกวีและผู้สนับสนุนอย่างแข็งขันต่อการแก้ปัญหาของชาวมุสลิม เกี่ยวกับสิทธิส่วนตัวในเรื่องการแต่งกายแบบอาหรับเมื่อเวลาทำอยู่ในบริษัทของพวกเขา ดร.ด๊อคเตอร์ได้กล่าวถึงจดหมายของ เลดี้ เควนโดลินว่า “เชอร์ชิลได้เข้าร่วมต่อสู้ในซูดานและตามตะเข็บชายแดนทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย เพื่อที่เขาจะได้ทำการเก็บเกี่ยวประสบการณ์ในการได้อยู่ใน “อาณาเขตของอิสลาม”
แต่ในระหว่างที่เชอร์ชิลอยู่บนเส้นทางอาชีพที่เป็นยุคแห่งเสรีนิยม เขาก็ต้องเปลี่ยนไปเป็นพวกเสรีนิยมในปี ค.ศ.1904
“บ่อยครั้งที่เขามักจะวิพากษ์นโยบายของราชสำนักที่เกี่ยวกับพวกจักรวรรดินิยมหัวรุนแรง เช่น เฟรดดริค ลูการ์ด (Frederick Lugard), หรือพวกข้าราชการระดังสูงในภาคเหนือของไนจีเรีย ซึ่งเชอร์ชิลไม่เห็นด้วยกับการรีบเร่งในการลงโทษชนเผ่าที่นับถือศาสนาอิสลามในภาคเหนือของไนจีเรีย”
ในจดหมายที่เขียนถึง เลดี้ ลีตต้อน ในปีเดียวกัน เชอร์ชิลได้เขียนไว้ว่า “คุณจะคิดว่าผมเป็นปาชาคนหนึ่งก็ได้ (บรรดาศักดิ์ในจักรวรรดิออตโตมัน) และผมก็หวังว่าจะเป็นเช่นนั้น” จาก เอกสารเก่าที่ได้รับการยอมรับของเซอร์ วินสตัน เชอร์ชิล
จดหมายที่ถูกค้นพบโดย ดร.ด๊อคเตอร์ ขณะที่เขากำลังค้นคว้าหนังสือที่เขาจะตีพิมพ์ที่ชื่อว่า วินสตัน เชอร์ชิลและโลกอิสลาม: ความนิยมตะวันออก, จักรวรรดิและการฑูตในตะวันออกกลาง
เขาได้ชี้ให้เห็นถึงความกังวลของเลดี้ เควนโดลิน ซึ่งอาจจะไม่ได้ตั้งเป้าหมายที่สูงมากนัก และไม่เพียงแต่เชอร์ชิลจะมองว่าศาสนาอิสลามกับศาสนาคริสต์มีความเท่าเทียมกัน แต่ความคิดอันล้ำหน้าที่สร้างความประหลาดใจในเวลานั้นก็คือ เขายังได้ชื่นชมความกล้าหาญของกองทัพและประวัติศาสตร์ของการขยายตัวของจักรวรรดิออตโตมัน
เดือนตุลาคม ปี ค.ศ.1940 ขณะที่อังกฤษกำลังเผชิญหน้ากับความเลวร้ายที่สุดในการต่อต้านนาซีเยอรมัน เชอร์ชิลได้รับการอนุมัติในการจัดสร้างมัสญิดกลางแห่งกรุงลอนดอนและตั้งงบประมาณในการก่อสร้างไว้ที่ 100,000 ปอนด์ และเขาก็ยังคงเดินหน้าในการก่อสร้างเพื่อกลายมาเป็นมัสญิดกลางแห่งกรุงลอนดอนที่ตั้งอยู่ภายในสวนรีเจ้นท์ ซึ่งเขาหวังเป็นอย่างยิ่งว่าอังกฤษจะได้รับการสนับสนุนจากโลกมุสลิมในช่วงเวลาที่สำคัญยิ่งนี้ แม้ว่าจะถูกวิพากษ์วิจารณ์จากประชาชนชาวอังกฤษก็ตาม
เดือนตุลาคม ปี ค.ศ.1941 เขาได้กล่าวแก่รัฐสภาว่า “บรรดามิตรสหายในประเทศมุสลิมทั่วทั้งตะวันออก ได้กล่าวชื่นชมเป็นอย่างมาก สำหรับของขวัญชิ้นนี้”
บางครั้งการแสดงออกของเชอร์ชิลก็ดูเหมือนว่าเขาเป็นคนเสแสร้ง นั่นเพื่อที่จะรักษาสถานภาพของเขาที่มีความเกี่ยวข้องกับราชวงศ์อังกฤษ ซึ่งมีอำนาจการปกครองที่ครอบคลุมไปถึงประชากรมุสลิมนับล้านๆคนในประเทศอินเดีย, อียิปต์ และตะวันออกกลาง
ในหนังสือของเขาที่ชื่อว่า “The River War (1899)” นั้น จะเป็นเรื่องราวที่เขาเข้าไปเกี่ยวข้องกับสงครามที่เกิดขึ้นตามแนวชายแดนของประเทศอินเดียและซูดาน ซึ่งเขาได้ทำการวิจารณ์กลุ่มที่มีความคิดสุดโต่งทางศาสนา, กลุ่มอนุรักษ์นิยมหัวรุนแรงอิสลามมะฮฺดียา(Mahdiyya) ที่จัดตั้งโดยประชาชนในเมืองเดอร์วิช(Dervish) ที่อยู่ทางตอนเหนือของอาฟริกา
ซึ่งเขาได้กล่าวในหนังสือว่า “วิธีการที่น่ากลัวดั่งเป็นคำสาปก็คือการที่อิสลามอยู่ในมือของนักการศาสนา…. พฤติกรรมที่สะเพร่า, ระบบที่เลินเล่อในการทำการเกษตร, ความเฉื่อยชาในการทำการค้า…. อิทธิพลของความพิการทางศาสนา ทำให้การพัฒนาสังคมของพวกเขาจึงได้ผลออกมาตามนั้น”
เลดี้ เควนโดลิน สเปนเซอร์ เชอร์ชิล (หอศิลป์แห่งชาติ ณ กรุงลอนดอน)
แต่ ดร.ด๊อคเตอร์ กล่าวว่าได้มีการตรวจสอบอย่างละเอียดเกี่ยวกับทัศนคติของเชอร์ชิลที่มีมุมมองอันกว้างไกลต่อโลกมุสลิม ซึ่งทำให้เห็นได้ว่าเขา “มีมุมมองไปในทางตรงกันข้ามกับจักรวรรดิและบรรดานักบูรพาคดีหลายๆท่าน ที่เป็นรุ่นราวคราวเดียวกับเขาอย่างสิ้นเชิง”
และในหนังสือของเขายังได้กล่าวอีกว่า “ในมุมองของเขาที่มีต่อมุสลิมและวัฒนธรรมของอิสลาม ซึ่งบ่อยครั้งที่มักจะรวมเอาความขัดแย้งและความซับซ้อนในการรับรู้ของพวกลัทธิจักรวรรดินิยม ที่ประกอบไปด้วย อุดมคติตามแบบของนักบูรพาคดีที่ถูกหลอมรวมกับความเอื้ออาทร, ความเข้าใจและความเอื้ออาทรที่เขาได้รับจากประสบการณ์เมื่อครั้นที่เขายังเป็นทหาร, การสร้างมุมมองที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของเขาเอง”
และได้มีการเปิดเผยว่าเชอร์ชิลมีความสัมพันธ์ที่แนบแน่นกับวัฒนธรรมของมุสลิม ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เกิดความตึงเครียดอย่างหนักเมื่อเปรียบเทียบกับในหลายศตวรรษที่ผ่านมา ระหว่างสามศาสนาที่ยิ่งใหญ่อันมีพระเจ้าองค์เดียวกัน นั่นคือ คริสต์, ยูดาย และอิสลาม
หลายครั้งที่เกิดการกระทบกระทั่งขึ้นระหว่างอิสลามกับตะวันตกของกลุ่มชนต่างๆบนโลกใบนี้ เชอร์ชิลได้มีบทบาทในการเข้าไปช่วยจัดระเบียบใหม่ดังเช่นภายหลังจากล่มสลายของอาณาจักรออตโตมัน และการวางรูปแบบของประเทศต่างๆในตะวันออกกลาง ภายหลังจากการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1
การตั้งถิ่นฐานในช่วงระหว่างการล่าอาณานิคมในภูมิภาคแห่งนี้ จะได้รับการติดต่อประสานงานโดยเชอร์ชิล พร้อมด้วย ที อี ลอเรนซ์ หรือที่รู้จักในนาม “ลอเรนซ์แห่งอารเบีย” (Lawrence of Arabia) โดยทั้งสองคนเป็นเหมือนที่ปรึกษาในการจัดตั้งประเทศต่างๆที่เกิดขึ้นมาใหม่ ซึ่งดร.ด๊อคเตอร์ได้กล่าวไว้ว่า “ในตะวันออกกลางนั้น เรารู้ว่าอะไรคือความไม่ดีและข้อเสียเปรียบทั้งหมด”
เซอร์ วินสตัน เชอร์ชิล ถ่ายที่บังกาลอร์, อินเดีย ในปี ค.ศ.1897
ดร.ด๊อคเตอร์ ได้มีส่วนร่วมในหนังสือของ บอริส จอห์นสัน ในหนังสือของเขาที่ชื่อว่า “ปัจจัยของเชอร์ชิล” (The Churchill Factor) ได้กล่าวไว้ว่า “มีผู้คนไม่มากที่จะทราบว่า เชอร์ชิลและ ที อี ลอเรนซ์เป็นเพื่อนกันหรือทำงานร่วมกันในการคลี่คลายปริศนาต่างๆที่เกิดขึ้นของผู้ตั้งถิ่นฐานในตะวันออกกลาง ซึ่งการทำความเข้าใจเกี่ยวกับผู้ตั้งถิ่นฐานเหล่านี้ เป็นส่วนที่สำคัญอย่างยิ่งในการทำความเข้าใจถึงมรดกที่อังกฤษได้ทิ้งเอาไว้ในตะวันออกกลาง”
ซึ่งแน่นอนว่าสุดท้ายแล้วเชอร์ชิลก็ไม่ได้เปลี่ยนไปรับศาสนาอิสลาม และดร.ด๊อคเตอร์ก็ได้ข้อสรุปว่าความหลงใหลของเขาคือ “ส่วนใหญ่แล้วแนวความคิดของเขาตั้งอยู่บนพื้นฐานแบบวิคตอเรีย ที่มีความใฝ่ฝันอย่างสูงที่จะได้ดำเนินชีวิตแบบเร่ร่อนและมีวัฒนธรรมอันทรงเกียรติในแบบชนเผ่าเบดูอิน”
นั่นคือความเข้าใจที่ยังมีขีดจำกัดของเขาในเรื่องเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม ซึ่งเขาต้องทำหน้าที่เป็นดั่งเลขนุการของอาณานิคมในช่วงต้นปี ค.ศ.1920 เขาได้เคยตั้งคำถามว่า “อะไรคือความแตกต่างระหว่างมุสลิมชีอะฮฺและซุนนี” โดยทั้งสองกลุ่มใหญ่ที่มีความไม่ลงรอยกันมาอย่างยาวนานในหน้าประวัติศาสตร์ ก็ได้แสดงออกมาให้เห็นในวันนี้ ณ แผ่นดินซีเรียและอิรัค
ในขณะที่ ดร.ด๊อคเตอร์ได้ชี้ให้เห็นว่า อย่างน้อยที่สุดเขาก็มีลางสังหรณ์ที่ถูกต้องสำหรับการตั้งคำถามในข้างต้น ที่เกี่ยวกับปัญหาซึ่งสะสมมาอย่างยาวนานในวันนี้ อันมีบรรดาชาติตะวันตกเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องในภูมิภาคนี้
source : http://www.telegraph.co.uk
แปล/เรียบเรียง อ.ฮาดีษ