ในฐานะที่บันทึกปี 2014 กำลังมาถึงบทจบลงนี้ เราขอถือโอกาสนำเสนอ เรื่องราวเกี่ยวกับเหล่าสตรีมุสลิมที่ได้ลุกขึ้นมาอยู่ในแถวหน้าของเวทีโลกสากล ด้วยกับความกล้าหาญ และเด็ดเดี่ยวยิ่ง อันเป็นสิ่งซึ่งตรงกันข้ามกับมุมมองแนวการดำรงชีวิตที่สังคมส่วนมากจำกัดความให้แก่พวกเธอ
ต่อไปนี้ คือ 10 สตรีมุสลิมประจำปี 2014 ตามที่นำเสนอโดยสำนักข่าว อัลอาราบีย่า(โดยไม่ได้จัดลำดับตามเงื่อนไขใดๆ)
1) มัรยัม อัล มันเซารี (Maryam al-Mansouri)
มัรยัม คือ นักรบอากาศหญิงของสหรัฐอาหรับอิมิเรต ซึ่งได้รับการรู้จักอย่างกว้างขวาง จากการบังคับเครื่องบินรบ F-16 ของเธอ ในการนำกองกำลังอากาศเข้าโจมตี กลุ่ม ISIS หัวรุนแรงในซีเรีย เมื่อเดือน กันยายนที่ผ่านมา
“อย่างแน่นอน เธอได้เปลี่ยน มุมมองในระดับที่ใหญ่เป็นอย่างยิ่ง ต่อภาพพจน์ที่สังคมส่วนใหญ่ตีกรอบให้กับสตรีมุสลิม ถึงแม้ว่า สตรีมุสลิม และ สตรีอาหรับ จะประสบความสำหรับมากมาย สื่อมวลชนต่างๆก็ยังดำรงบทบาทสำคัญในการฉายภาพสตรีมุสลิมในแบบที่สังคมส่วนใหญ่ตีกรอบให้กับสตรีมุสลิมเหล่านี้,” มูฮำหมัด อัยชฺ หัวหน้าแผนก การสื่อสาร มหาวิทยาลัย Sharjah บอกกับ สำนักข่าว อัล อาราบีย่า (Al Arabiya News)
เขากล่าวเพิ่ม: “เธอได้นำเสนอออกไป ซึ่งตัวอย่างที่ก้าวหน้า ให้กับสิ่งที่สตรีแห่งสหรัฐอาหรับอิมีเรต สามารถทำได้ใน หลายๆขอบเขต รวมถึงการปกป้องประเทศ และเข้าร่วมกองทัพ เธอคือสตรีอาหรับที่มีเกียรติคนหนึ่ง”
2- นักรบหญิง เพชฺเมอรฺกา
ด้วยกับการที่ ISIS ครองตำแหน่งข่าวพาดหัวมาตลอดปีนี้ สื่อมวลชนระดับสากลหลายเจ้าได้ ซูมเลนส์ให้ใกล้และใกล้เขาไปอีก เพื่อส่องดูหน้าตาของนักรบหญิง ชาวเคิร์ด ผู้ที่ใช้อาวุธเพื่อต่อต้านกองกำลังหัวรุนแรงอย่างภาคภูมิใจ พวกเธอคือ นักรบหญิง เพชฺเมอรฺกา ที่ไร้ซึ่งความหวาดกลัวในอิรัก และ แฝดของพวกเธอ ก็ได้เข้าร่วมกองกำลังเพื่อป้องกันตนเอง ของ สตรี ชาวซีเรีย และ เคิร์ด ซึ่งรู้จักกันในนาม YPJ ตามชื่อย่อเคิร์ดของพวกเธอ
“ปี 2014 ในครั้งแรก ที่ชาวเคิร์ดถูกยกย่องจากสื่อมวลชน เนื่องมาจากการลุกขึ้นต่อต้านการยึดครองของ ISIS ในดินแดนของพวกเขา และการถือคตินิยมอันสุดขีดของพวกเขา,” อะวา โฮมา อาจารย์ชาว เคริด์-อิหร่าน วิทยาลัย George Brown กรุงโตรอนโต แคนาดา กล่าว
โฮมา ผู้ที่เช่นเดียวกัน เป็นเจ้าของ “Echoes from the other Land” (เสียงสะท้อนจากแดนอื่น) – หนังสือเกี่ยวกับการเผชิญความยากลำบากของสตรีอิหร่าน- กล่าวว่า เป็นระยะเวลานานที่ เคิร์ด ถูกทอดทิ้ง จากการรายงานของสื่อมวลชนสากล
“นักรบหญิงชาวเคิร์ด ไม่ใช่ ปรากฏการณ์ใหม่ในหน้าประวัติศาสตร์เคิร์ดแต่อย่างใด เพียงแต่ สื่อมวลชนได้เน้นย้ำไว้ ณ จุดนี้ ก็เพื่อช่วงเวลา แห่งการยกย่อง ความเป็นอิสลาม เวอร์ชันปานกลาง ที่สนับสนุนการเข้ามามีอำนาจของสตรี และ ปฏิเสธความเคร่งครัดในกฎดั้งเดิมของศาสนา,” เธอกล่าวเพิ่ม
3- อูมาย่า นาจี อัล-จาบารา (Oumaya Naji al-Jabara)
ในขณะที่ นักรบหญิง เพชฺเมอรฺกา แบ่งหน้าที่ส่วนหนึ่งในการนำการรบเข้าต่อต้าน ISIS ในอิรัก สตรีแม่ลูกสี่ นางหนึ่งก็ได้รับการยกย่องด้วยนาม “sheikha” – ฉายานามที่มอบให้แก่หัวหน้าเผ่า หลังจากที่เธอได้เสียสละชีวิต ต่อสู้กับกองกำลังทหารมากมายในจังหวัดทางภาคตะวันตกของ Salah al-Din
จาบารา คือ หนึ่งในที่ปรึกษาของผู้ปกครองจังหวัดซาลาฮุดดีน ซึ่งมีภาพปรากฏของเธอถือปืนไรเฟิล Kalashnikov ชนิดปืนที่ท้ายที่สุด ถูกส่งหมุนเวียน แพร่กระจายไปทั่วโลกเมื่อเดือน กันยายน ที่ผ่านมา
“สิ่งที่ สตรี โคบานและ เพชเมอรฺกา กำลังกระทำอยู่ อูมายา จาบาราทำสิ่งนั้นด้วยตัวของเธอเองในอิรัก เธอไม่ได้มีผู้ติดตามจากสตรีอื่นๆกว่าหลายร้อยคน เธอแต่งงานและมีลูกๆ และมาจากเผ่าที่มีชื่อเสียง เธอคือผู้ที่เสนอความช่วยเหลือแก่เหล่าทหาร และไม่ใช่สิ่งที่ตรงกันข้ามนั้น และเหนือสุดคือ เธอคือสตรีที่มีการศึกษาคนหนึ่ง, โซฮา โอดา นักเคลื่อนไหวและนักข่าวชาวอิรัก บอกกับ สำนักข่าว อัล-อาราบีย่า
4- มัรยัม มิรซาคานี (Maryam Mirzakhani)
เมื่อเดือนสิงหาคม มิรซาคานี เกิดที่อิหร่านและ จบการศึกษาจาก ฮาร์วาร์ด (Harvard ) นักคณิตศาสตร์ และศาสตราจารย์ ประจำมหาวิทยาลัย สแตนฟอร์ด (Stanford University) ในแคลิฟอร์เนีย ถือเป็นสตรีคนแรกที่ชนะรางวัลที่มีเกียรติภูมิระดับโลก รู้จักกันในนาม “เหรียญฟิลด์ส” (Fields Medal) คือรางวัลทางคณิตศาสตร์ที่หลายคนถือว่าเป็นรางวัลสูงสุดทางคณิตศาสตร์ (*ถ้าใครเคยดูภาพยนตร์ Good Will Hunting ที่มี แมตต์ เดมอน และ เบน แอฟเฟลก แสดง อาจเคยได้ยินชื่อของรางวัลนี้มาบ้างแล้ว) หรือที่ได้รับการกล่าวขานในอีกนามหนึ่งว่า “รางวัลโนเบลสาขาคณิตศาสตร์”
ขณะที่ มิรซาคานี ทำลายภาพพจน์ของสตรีตามมุมองของผู้มีอคติทางเพศ (sexist stereotype) ทางตะวันตกที่ตีกรอบว่า ผู้หญิงไม่มีดีในทางคณิตศาสตร์ โฮมา ได้นับถือ มิรซาคานี ในฐานะ ใบประกาศแก่ชาวโลกอย่างเป็นทางการ ถึงเกียรติยศและความรู้ของสตรีอิหร่าน
“มีสองภาพพจน์ที่ขัดแย้งกันเกี่ยวกับสตรีอิหร่าน ลอยล่อง ฉายอยู่ทั่วไปตามสื่อมวลชนสากล: หนึ่งคือ มุมมองที่คนส่วนมากมักจะตีกรอบให้พวกเธอก็คือ การเป็นหญิงผู้ถูกกดขี่ ไร้ชีวิต ไร้เสียง ดั่งก้อนหิน –เช่น ซากีเนะฮ์ แอชเตียนี่ และสุดไปที่อีกขั้วแม่เหล็กไฟฟ้าหนึ่ง คือ ภาพที่ไม่ค่อยมีใครเห็น นั้นคือ ภาพ ที่สตรีอิหร่านได้รับการสนับสนุนให้เข้ามาอำนาจ มีการศึกษา และมีความเข้มแข็ง เช่น ในกรณีของ ชีรีน อีบาดี (Shirin Ebadi) เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ หรือ ในกรณีนี้ มัรยัม มิรซาคานี เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาคณิตศาสตร์”
เธอเพิ่มเติมว่า: “ทั้งสองภาพพจน์นี้ ต่างมีความเป็นสุดขั้ว และสุดขีดเป็นอย่างมาก และสตรีส่วนมากที่อาศัยอยู่ในประเทศที่ฉันเกิดและโตนี้ ก็ดำรงชีวิตอยู่ ที่ใดที่หนึ่งในระหว่างสองขั้วนี้”
5- ซายีด้า วาร์ซี (Sayeeda Warsi)
วาร์ซี คือ รัฐมนตรีชาวมุสลิมคนแรกที่เข้าไปนั่งอยู่ใน คณะรัฐมนตรีอังกฤษ มีข่าวพาดหัวมากมายถึงกรณีที่ เธอลาออกจากตำแหน่ง เนื่องด้วยเพราะ ท่าทีที่เชื่อถือไม่ได้ของ ลอนดอน ต่อกรณีความขัดแย้งในกาซ่า เมื่อเดือน สิงหาคมที่ผ่านมา
ทว่าในช่วงที่เธอมีข่าวพาดหัวนั้น “มันกลับไม่ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงใดๆเลย” มูดัซซาร์ อะฮ์หมัด นักวิเคราะห์สื่อการเมือง และ หัวหน้าผู้บริหาร หน่วยงาน ประชาสัมพันธ์ สำนักงานตัวแทน Unitas ประจำกรุงลอนดอน (London-based PR agency Unitas) บอกกับสำนักข่าว อัลอาราบีย่า “มันคือสัญญาณ บ่งบอกว่า เราไม่ได้มีโอกาสในการสร้างอิทธิผลใดๆ ต่อกรณีดังกล่าวเลย” เขากล่าว
กว่า 2,200 ชีวิต ซึ่งเป็นผู้คนส่วนใหญ่ที่อยู่อาศัยใน เขตกาซ่า ถูกปลิดชีวิตลง จากการที่อิสราเอลอนุมัติปล่อยกองกำลังเข้าปฏิบัติการทางทหาร ที่ถูกเรียกว่า “การปฏิบัติการเพื่อป้องกันเขตแดน” ในต้นเดือนกรกฎาคม
6- โซมัยย่า จาบาร์ตี (Somayya Jabarti)
ในซาอุดิอาระเบีย สตรีผู้หนึ่งสร้างข่าวพาดหัวดังไปทั่วโลก เมื่อ หนังสือพิมพ์ The Saudi Gazette แต่งตั้ง บรรณาธิการหัวหน้าฝ่ายข่าวหญิง “จาบาร์ตี” คนแรกของประเทศ ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ท่ามกลางสภาวการณ์ที่ถูกขนานกันว่า เป็นการเคลื่อนไหว “ที่สำคัญประวัติศาสตร์” ของราชอณาจักรอนุรักษ์นิยมแห่งนี้
“การแต่งตั้ง โซมัยย่า จาบาร์ตี ให้เป็นหัวหน้ากองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์หญิงคนแรกของซาอุดิอาระเบีย ถือเป็นสิ่งที่ยอมรับได้อย่างไม่ต้องสงสัย ในความเป็นก้าวแรกสู่หนทางแห่งความยุติธรรม อย่างไรก็ตาม ก่อนที่ผมจะพูดถึง สิ่งที่มันหมายถึงในกรณีของ สิทธิสตรี ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ที่จำเป็นต้องเน้นย้ำว่า โซมัยย่า คือ ผู้สื่อข่าวที่มีความสามารถมากคนหนึ่ง ผู้ซึ่งมีประสบการณ์มากมายกว่าหลายปี,” ไฟซาล เจ อับบาส (Faisal J. Abbas) หัวหน้ากองบรรณาธิการ สำนักข่าว อัลอาราบีย่า กล่าว
“เธอเริ่มต้นการทำงานของเธอในช่วงเวลาที่มีความท้าทายต่อผู้หญิงมากกว่านี้ และด้วยกับเธอ ณ ท้ายหางเสือของหนังสือพิมพ์รายวันสองภาษาของราชณาจักร ผมหวังที่จะเห็นเหล่าสตรีที่เปี่ยมไปด้วยความสามารถ มีความเชี่ยวชาญ และขะมักเขม้น ในตำแหน่งผู้นำที่มากขึ้น ไปทั่วอุตสาหกรรมอื่นๆของ ซาอุดิอาระเบีย,” อับบาส กล่าว และเพิ่มเติมว่า “ตราบเท่าที่ สตรีทรงอิทธิพล ปี 2014 ยังคงมีปรากฏอยู่ ผมคิดว่า โซมัยย่า สมควรอย่างยิ่งที่จะมีตำแหน่งติดอยู่ในรายชื่อเหล่านั้น”
7- ฮินดฺ อัล ฟาแยซ (Hind al-Fayez)
ในต้นเดือนธันวาคม อัล ฟาแยซ สมาชิกสภานิติบัญญัติชาวจอร์แดน ปะทุความโกรธออกมาในเจตนาเพื่อปกป้องตนเองจากการถูกกล่าวหาว่าที่นั่งในสภาฯของเธอนั้น ได้รับการจัดสรรผ่าน วิธีการที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ส่งผลให้สมาชิกรัฐสภา(ผู้เชียวชาญระเบียบข้อบังคับและระเบียบวาระการประชุมของรัฐสภา)คนหนึ่ง ต้องตะโกนสั่ง “นั่งลง ฮินดฺ” อยู่หลายต่อหลายครั้ง ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวนำไปสู่การสร้างตัวการ์ตูนล้อเลียนที่เผยแพร่อย่างรวดเร็วใน โซเชียมิเดียต่างๆ
“เธอคือ ผู้หญิงคนหนึ่งที่ปฏิบัติตน ในความเป็นเสรีนิยมอย่างเต็มรูปแบบ ในประเทศที่ยังคงความเป็นอนุรักษ์นิยมอยู่” ราเอ็ด โอมารี (Raed Omari) คอลัมนิสต์ชาวจอร์แดน กล่าวกับ สำนักข่าวอัลอาราบีย่า “ความจริงที่ว่า เธอเป็นส่วนหนึ่งจากหนึ่งในวงศ์ตระกูลใหญ่ที่มีความเป็นอนุรักษ์นิยม ทั้งยัง สนับสนุนกฎเกณฑ์ที่เคร่งครัด ในประเทศจอร์แดน (ตระกูล อัล-ฟาแยซ) แต่กระนั้น ก็ยังปรับตนเข้ากับ อุดมการณ์ฝ่ายซ้าย ถือเป็นบางสิ่ง ที่มี เสน่ห์อยู่ในตัวของมันเอง”
เขากล่าวเพิ่ม: “บ่อยครั้งที่ความเป็นที่นิยมของฮินดฺ ถูกวางอยู่บนความยืดหยุ่นของเธอ ในฐานะสตรีที่ต้องเผชิญหน้ากับ บุรุษผู้คลั่งชาติอย่างถืออคติ อย่าลืมว่า สิทธิสตรีถือเป็นหนึ่งจากประเด็นหลักที่สำคัญในจอร์แดน ซึ่งมันเป็นประเด็นที่น่าสนใจประเด็นหนึ่งอีกด้วยเช่นกัน”
8- ซามีแระฮ์ อะลีเนจัด (Samereh Alinejad)
ซามีแระฮ์ มีข่าวพาดหัวไปทั่วโลกเมื่อเธอไว้ชีวิตฆาตกรผู้ปลิดชีพบุตรชายของเธอ แทนที่บทลงโทษด้วยการตบไปยังใบหน้าฆาตกรคนดังกล่าว ด้วยหัวใจที่แตกสลาย ในช่วงรอเวลาประหาร ขณะที่มีบ่วงเชือกผูกอยู่ที่คอหอยเขา
ขณะที่อิหร่านได้รับการวิพากษ์ วิจารณ์อย่างหนัก ถึงการอนุมติใช้บทลงโทษประหารที่เกินกว่าเหตุ การให้อภัยของ อะลีเนจัด จึงเป็นที่ได้รับการยกย่องและเคารพนับถือไปทั่ว ไม่ใช่เพียงแต่ในสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านเท่านั้น แต่ตามชุมชนระดับสากลอื่นๆอย่างมากมายอีกด้วย
“หลายต่อหลายคนสนับสนุนเธอในอิหร่าน เธอสร้างแรงบันดาลใจให้กับชาวอิหร่านอื่นๆในการให้อภัยนักฆ่าโทษประหารรายอื่นๆ,” มาซูด อัลเฟก ผู้สื่อข่าวลูกครึ่ง สวีเดน-อิหร่าน กล่าวกับสำนักข่าว อัลอาราบีย่า “เหตุการณ์ได้สะท้อนภาพไปในระดับสากล จากการนำไปเผยแพร่ของสื่อมวลชนต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อการประหารดังกล่าว เป็นการลงโทษที่หมายเอาชีวิตนักโทษประจาน ณ ที่สาธารณะ”
9- มาลาลา โยซาฟไซ (Malala Yousafzai)
มาลายา ได้รับการรู้จักไปทั่วโลก จากเหตุการณ์การต่อสู้ของเธอ เพื่อการศึกษาของเด็กหญิงในปากีสถาน ที่เกือบจะคร่าเอาชีวิตของเธอไป โลกจดจำเหตุการณ์ในวันที่ 9 ต.ค. ปี 2555 ได้เป็นอย่างดี เมื่อกลุ่มตาลิบันบุกขึ้นรถบัสโรงเรียนของเธอ ถามหาเด็กนักเรียนคนใดในรถ คือ มาลาลา แล้วพวกเขาก็ยิงเธอที่ศีรษะในขณะที่เธอมีอายุ เพียงแค่ 14 ปี
ในเดือน มีนาคม เธอตีพิมพ์หนังสือในชื่อ “ฉันคือมาลาลา (I am Malala)” และในเดือนตุลาคมได้ถูกประกาศให้เป็น ผู้ที่คว้ารางวัลโนเบลสาขาสันติภาพประจำปี 2014 ซึ่งถือเป็นผู้รับรางวัลดังกล่าวที่มีอายุน้อยที่สุด
“มาลาลามีค่าเป็นสัญลักษณ์ที่ยิ่งใหญ่,” มูดาซาร์ กล่าว “เธอคือบุคคลผู้ที่สร้างแรงบันดาลใจให้แก่ชาวมุสลิม และคนอื่นๆเป็นอย่างมาก เธอระบายให้ฟังในการบรรยายของเธอว่า ยังมีชาวมุสลิมอื่นๆที่ดำเนินการต่อสู้เพื่อประเด็นนี้ ซึ่งพวกเขาได้รับความเสี่ยงเป็นอย่างยิ่ง อย่างเช่นในการต่อสู้เพื่อสิทธิสตรี ดังนั้นผมคิดว่า เพราะเหตุนี้ เธอจึงถือเป็นบุคคลผู้ทรงอิทธิพลเป็นอย่างมาก บุคคลหนึ่ง”
10- โมนา อัลเบเฮรี (Mona al-Beheiri)
เรื่องราวของสตรีมุสลิมในลำดับสุดท้ายในรายนามนี้ ไม่ได้ถูกจัดอันดับ ตามความสามารถ หรือความสำเร็จของเธอ เมื่อเทียบกับสตรีทั้ง 9 คนข้างต้น แต่ด้วยกับ ภาษาอังกฤษที่ไม่สมบูรณ์ในป้ายประท้วงของเธอที่โด่งดัง และแพร่กระจายไปทั่วโลกออนไลน์ ว่า “Shut up your mouse Obaaa” (เก็บหนูของนายเถอะ นายโอบาม่า) ซึ่งจริงๆแล้วเธอมีเจตนาที่จะเขียนว่า “Shut your mouth up, Obama” (หุบปากของนายเถอะ โอบาม่า)
การแสดงความเห็น ณ ที่สาธารณะที่ชัดเจนในมุมมองอย่างสามัญชนของเธอนี้ ได้กลายมาเป็น เหตุการณ์ที่สร้างความตื่นเต้นให้กับโลกอาหรับ
สโลแกนประท้วงที่เธอร้องตะโกนซ้ำไปซ้ำมา ““Sisi yes. Sisi yes. Mursi no. Mursi no” เช่นเดียวกันได้ สร้างแรงบันดาลใจให้กับคนอื่นๆ โดยได้นำคำนี้ของเธอสกรีนลงบนเสื้อยืด
“สื่อมวลชนรายงานเรื่องของเธอ ก็เพราะเธอคือผู้หญิงธรรมดาๆคนหนึ่ง ที่ร้องทุกข์พึมพำคำภาษาอังกฤษที่ไม่สมประกอบนี่แหละ” มะฮ์หมูด ฮาเซานา บรรณาธิการอำนวยการ (ผู้รับผิดชอบในเรื่องข่าวสารทั้งหมดของหนังสือพิมพ์) นสพ. ภาษาอังกฤษรายวัน al-Khaleej Times กล่าวกับ สำนักข่าว อัลอาราบีย่า
“เธอกลายมาเป็นเรื่องตลก,” บรรณาธิการประจำสำนักหนังสือพิมพ์ the Sharjah ผู้ที่เช่นเดียวกันคือชาวอียิปต์ จำกัดความว่า เธอ “ไม่ใช่ตัวอย่างของคนในประเทศที่น่ายกย่องสรรเสริญเท่าไหร่นัก” แต่กระนั้น เบเฮรี ก็มีดีกรีดังไประดับโลก
โดย ดุอาอฺ กุเมล
รูปภาพประกอบ: http://english.alarabiya.net/en/variety/2014/12/15/Meet-the-top-Middle-Eastern-women-who-made-headlines-in-2014