อีโบล่าและไอซิซ : การแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ระหว่างยูเอ็นกับองค์กรยึดโยงความศรัทธา

921
(ภาพ) เจ้าหน้าที่สาธารณสุขพ่นยาฆ่าเชื้อบนร่างที่ถูกตัดแขนขาออกซึ่งสงสัยว่าเสียชีวิตจากเชื้อไรวัสอีโบล่า บนถนนที่พลุกพล่านในมอนโรเวีย ไลบีเรีย เมื่อ 2 กันยายน 2014

นิวยอร์ค – การเกิดขึ้นในเวลาเดียวกันของการระบาดของเชื้อไวรัสอีโบล่าในด้านหนึ่ง และความรุนแรงของนักรบที่อ้างในนามอิสลามอีกด้านหนึ่ง นำเสนอความท้าทายและโอกาสให้แก่ประชาคมพัฒนาระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหประชาชาติ(UN) และองค์กรนอกภาครัฐ(NGO) สากล

มองครั้งแรก ทั้งสองเหตุการณ์นี้เป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เกี่ยวข้องกันเลย เหตุการณ์หนึ่งปรากฏขึ้นเพื่อให้จับตามองการล่มสลายของหน่วยงานสาธารณสุขในสามประเทศ และการขยายกิ่งก้านสาขาในทางเศรษฐกิจและการเมืองของมัน

อีกเหตุการณ์หนึ่ง เช่น ไอซิซ/ไอซิล/ไอเอส ปรากฏขึ้นเพื่อเป็นความสลับซับซ้อนของความโกลาหลทางภูมิศาสตร์การเมืองที่พัวพันอยู่กับอิสลามการเมืองแบบการสู้รบอย่างรุนแรง, กำลังการปกครองที่อ่อนแอ, การจลาจลแบบประปราย, การสร้างความบาดหมางแก่เยาวชนข้ามชาติ, การแพร่กระจายอาวุธ – ทั้งหมดนี้เป็นเพียงไม่กี่เรื่องเท่านั้น

แล้วอะไรคือความเชื่อมโยง และทำไมเรื่องนี้จึงเกี่ยวพันกับการพัฒนาระหว่างประเทศและการมีส่วนร่วมด้านมนุษยธรรม?

ในการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ทางยุทธศาสตร์ที่จัดขึ้นโดยหลายหน่วยงานของสหประชาชาติ และเข้าร่วมโดยเจ้าหน้าที่ด้านการพัฒนาและมนุษยธรรมของสหประชาติ (UN) และเจ้าหน้าที่ระดับเดียวกันจากองค์กรนอกภาครัฐ (NGO) ระหว่างประเทศที่ยึดโยงกับความศรัทธา ที่เมืองตูริน ประเทศอิตาลี เมื่อเร็วๆ นี้ ได้มีการหยิบยกปัญหาความท้าทายเหล่านี้มากล่าวถึง

เจ้าหน้าที่ของยูเอ็นและเอ็นจีโอนำเสนอผลงานจากทั้งในสำนักงานใหญ่ขององค์กรของตนและในภาคสนามของประเทศต่างๆ ในแอฟริกา เอเชีย และภูมิภาคอาหรับ

ในทั้งสองกรณีนี้ มีความเป็นจริงของการให้บริการที่เกินความสามารถเพื่อตอบสนองยอดการเสียชีวิตที่เพิ่มมากขึ้นและการล่มสลายของหน่วยงานของรัฐ และการไร้ความสามารถในทางปฏิบัติที่จะส่งปัจจัยจำเป็นพื้นฐานให้แก่ชุมชนที่ดิ้นรนเพื่อมีชีวิตรอดเนื่องจากเหตุผลนานาประการ แต่กระนั้นก็ยังมีอุปสรรคขัดขวางที่เกิดจากมนุษย์

บางส่วนของอุปสรรคเหล่านี้ดำเนินการโดยบรรดาผู้ที่ถืออาวุธและกำหนดดินแดน ขณะที่ผู้อยู่ภายในถูกคุมขัง ถูกทรมาน ถูกฆ่า ถูกข่มขู่ และอดอาหาร อุปสรรคอื่นๆ เกิดขึ้นจากการที่ชุมชนปกปิดการป่วยและการตาย ด้วยความไม่ไว้ใจและหวาดกลัวต่อผู้ที่จะมาให้ความช่วยเหลือ และเจ็บปวดจากการต้องสูญเสียผู้ที่ไม่เพียงแต่เป็นที่รัก แต่ยังเป็นผู้ดูแล ผู้เป็นแหล่งรายได้ และผู้ให้การปกป้องคุ้มครองอีกด้วย

แต่ยังมีอุปสรรคอื่นๆ ที่ได้เปิดเผยออกมาในช่วงไม่กี่สัปดาห์และไม่กี่เดือนมานี้เอง ซึ่งอุปสรรคบางประการเป็นความท้าทายต่อวัฒนธรรมของสถาบันและองค์กรมายาวนาน และต่อลักษณะพื้นฐานทั้งหมดของการพัฒนาการและด้านมนุษยธรรมระหว่างประเทศอย่างที่เรารู้กันในปัจจุบัน

การตอบรับต่อไวรัสอีโบล่า ประการแรกและก่อนอื่น มุ่งเน้นไปในด้านการแพทย์ ซึ่งเป็นเรื่องเร่งด่วน

แต่มันใช้เวลาหลายเดือนก่อนที่เจ้าหน้าที่ให้ความช่วยเหลือระหว่างประเทศจะตระหนักถึงหนึ่งในประเด็นสำคัญหลายๆ ประเด็นในสมการของความตายและการติดต่อของโรค นั่นก็คือ วิธีการฝังเป็นสิ่งสำคัญ และแม้จะมีคู่มือกำหนดวิธีการเหล่านั้นเพื่อความมั่นใจด้านความปลอดภัยทางการแพทย์ กลับมีการให้ความสำคัญน้อยมากต่อเรื่องค่านิยม เกียรติ และการปฏิบัติตามวัฒนธรรมท้องถิ่นในสภาวะวิกฤติเช่นนี้

การฝังผู้ตายในชุมชนกระทบต่อระบบความเชื่อที่ให้คุณค่าและความหมายแก่ชีวิตอย่างมาก วิธีการฝังผู้ติดเชื้ออีโบล่าต้องถูกจัดการในลักษณะที่ถูกต้องตามหลักทางการแพทย์ แต่ก็ต้องทำให้สมาชิกครอบครัวและชุมชนสามารถใช้ชีวิตอยู่ต่อไปในขณะที่ไม่ติดเชื้อด้วย โดยเป็นชีวิตที่มีความหมายต่อตัวตนที่มีความบอบช้ำอยู่แล้ว

เมื่อเรื่องสำคัญนี้ถูกระบุถึง ได้มีการประชุมบรรดาผู้นำศาสนาอย่างเร่งรีบเพื่อให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการฝังที่เชื่อมโยงระหว่างเกียรติกับความปลอดภัยในสภาวะพิเศษเหล่านี้ แต่บทบาทระยะยาวและกว้างขวางในการ “ทำให้รู้สึก” และเชื่อมช่องว่างทางวัฒนธรรมการแพทย์ระหว่างเจ้าหน้าที่ให้ความช่วยเหลือระหว่างประเทศ, บุคลากรทางการแพทย์ในประเทศ และประชาคมที่ทำงานหนัก ยังไม่เป็นผลสำเร็จออกมา

และโอกาสในการกล่าวถึงช่องว่างทางวัฒนธรรมทางการแพทย์ (ซึ่งไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับงานด้านการพัฒนาและด้านมนุษยธรรม) ขยายพ้นจากเรื่องการฝังผู้เสียชีวิตและการดูแลทางการแพทย์แก่ผู้มีชีวิต ไปถึงการให้การสนับสนุนทางสังคมจิตวิทยา และการดำรงชีวิตที่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ซึ่งในเรื่องนี้ องค์กรเอ็นจีโอที่ยึดโยงกับความศรัทธามีบทบาทที่ต้องแสดง

การต่อสู้ของไอซิซและผลกระทบจากสงครามที่กำลังส่งผลต่อพวกเขาในปัจจุบัน แสดงถึงความท้าทายทางวัฒนธรรมแบบเดียวกันต่อผู้แสดงในชาติและระหว่างประเทศ

ลักษณะทางวัฒนธรรมนี้ถูกกล่าวซ้ำด้วยกรณีต่างๆ จากภูมิภาคอาหรับที่ก่อให้เกิดฮิซบุลลอฮ์ ฮามาส และปัจจุบัน ไอซิซ ทำอย่างไรจึงจะนำร่องแนวทางปฏิบัติที่ถูกควบคุมโดยฝ่ายที่คุณไม่ค่อยได้พูดคุยด้วยในทางหลักการ และผู้ที่ตั้งคำถามความชอบธรรมในอำนาจของคุณ ในทางปฏิบัติ เพราะมันไม่ได้ “ปฏิบัติตามศาสนา” และเป็นส่วนหนึ่งของ “วาระฆราวาสแบบตะวันตก”?

ใช่แล้ว มันมีคู่มือ ข้อตกลง และวิธีการที่ควบคุมข้อกำหนดของหน่วยงานและบทบาทของการมีส่วนร่วม ที่สอดคล้องกับข้อผูกพันด้านสิทธิมนุษยธรรมสากลอยู่ แต่ทว่าปัญหายากๆ บางประการกำลังเห็นเด่นชัดอยู่ในขณะนี้ การเจรจารูปแบบใดๆ น่าจะเป็นไปได้หรือไม่ระหว่างผู้ที่ถูกภาษากฎว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และผู้ที่อยากจะพูดแต่ภาษา “กฎของพระเจ้า” เท่านั้น?

มีบทเรียนให้เรียนรู้จากการมีส่วนร่วมกับฮิซบุลลอฮ์และฮามาสหรือไม่ ซึ่งบางทีอาจจะส่งผลในแนวทางที่แตกต่างไปจากการมีส่วนร่วมกับไอซิซในปัจจุบัน?

การกระทำของโบโก ฮารัม ในไนจีเรีย และการปรากฏตัวของอัล−กออิดะฮ์ ในอัฟกานิสถาน ได้แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างหลักการศาสนาและผลที่ตามมาด้านสาธารณสุขขั้นวิกฤต ไม่เหมือนกับอีโบล่า บทบาทที่เป็นไปได้สำหรับผู้นำศาสนา และตัวแสดงด้านการพัฒนาและด้านมนุษยธรรมอื่นๆ ยังไม่น่าเป็นห่วง

บทบาทเหล่านี้จะสามารถแสดงให้เห็นถึงความสามารถเฉพาะของตัวแสดงทางศาสนาบางคนเพื่อซักซ้อมกับภาวะฉุกเฉินทางมนุษยธรรมในเหตุการณ์พิเศษเหล่านี้ได้หรือไม่?

ไอซิซกล่าวอ้างศาสนาในชื่อของมัน ลักษณะทางวัฒนธรรมและการกระทำที่น่าขยะแขยงของมัน โลกแห่งการพัฒนาและมนุษยธรรมระหว่างประเทศสามารถจะทนนิ่งเฉยต่อกำลังทางศาสนาต่อไปได้หรือไม่ เพราะขอบเขตการกระทำของพวกเขาท้าทายการกระทำที่ตั้งอยู่บนสิทธิมนุษยชน?

และถ้าประชาคมระหว่างประเทศเลือกที่จะจัดการกับเสียงสุดโต่งทางศาสนา และไม่มีความสามารถในขอบข่ายงานปัจจุบันที่จะทำเช่นนั้น การช่วยเหลือของใครที่จะถูกเรียกหา ในที่ใดและด้วยวิธีการใด?

มีคำตอบสำหรับคำถามเหล่านี้ซึมซาบอยู่ในแนวทางการวางนโยบบายอยู่แล้ว ซึ่งฝังอยู่ในประสบการณ์ของผู้ปฏิบัติงานหลายคนที่ทำงานกับองค์กรนอกภาครัฐเพื่อการพัฒนา และนักวิชาการที่อุทิศตนเพื่อการศึกษาค้นคว้ามาหลายทศวรรษ

สิ่งที่เห็นชัดเจนจากการหารือในตูริน และการประชุมโต๊ะกลมเกี่ยวกับศาสนาและการพัฒนาที่อื่นๆ ก็คือ คำถามเหล่านี้ต้องถูกต้องขึ้น เพราะคำตอบขัดแย้งกับโอกาสหลายประการ

 

 

แปลเรียบเรียง โต๊ะข่าวต่างประเทศ/เอบีนิวส์ทูเดย์
เขียน Dr. Azza Karam is a Senior Advisor, Culture, at the UN Population Fund (UNFPA).
ที่มา http://www.mintpressnews.com