บทความ: “ความหวังแห่งสันติภาพ” ในตะวันออกกลาง จากยุค ปธน. ทรูแมน-ทรัมป์!

569

ความขัดแย้งในปาเลสไตน์ ตลอดระยะเวลา 70 ปีที่ผ่านมา  เหล่าผู้นำอเมริกาได้ดำเนินการหลายๆขั้นตอนเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตน และสร้างเสถียรภาพในภูมิภาค  และปัจจุบันภารกิจดังกล่าวก็ได้มาถึงมือของโดนัลด์ ทรัมป์ เพื่อทำการสานต่อในการแก้ไขวิกฤตินี้ แต่มหาเศรษฐีชาวอเมริกันคนนี้ กลับได้สร้างอุปสรรคมากมายในการบรรลุข้อตกลงสันติภาพ……..

หนังสือพิมพ์ Independent  ได้ทำการทบทวนประวัติศาสตร์ของบรรดาประธานาธิบดีสหรัฐฯในความขัดแย้งประเด็นปาเลสไตน์และทบทวนผลงานการกระทำของพวกเขาเพื่อแก้ไขวิกฤตในภูมิภาคนี้  โดยเขียนว่า : “คำมั่นสัญญาของประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัล ทรัมป์ ในการสร้างโครงการ “ยุติธรรม” เพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งปาเลสไตน์ – อิสราเอล ทำให้เขาได้เข้าสู่บัญชีรายชื่อของบรรดาเจ้าหน้าที่รัฐ ที่พยายามจะฟื้นฟูสันติภาพในตะวันออกกลางอีกคน

นับตั้งแต่การสถาปนาระบอบอิสราเอล เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 1948  และจุดเริ่มต้นของความขัดแย้งอาหรับ – อิสราเอล ประธานาธิบดีอเมริกันล้วนมีประสบการณ์ในด้านความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนในภูมิภาคนี้ เพื่อแข่งขันกันสร้างความสมดุลในความรับผิดชอบของตน เพื่อพัฒนาความน่าเชื่อถือในระดับชาติอและเผยแพร่หลักประชาธิปไตยที่ควรแก่การเคารพ

ในช่วงเริ่มต้นของการสถาปนาระบอบอิสราเอล  แฮร์รี่ ทรูแมน เป็นประธานาธิบดีของสหรัฐฯ ได้ทำการล็อบบี้โครงการแบ่งปันดินแดนปาเลสไตน์ โดยสหประชาชาติ ซึ่งกระจายให้ชาวอิสราเอลครอบครองเนื้อที่ 57% และชาวปาเลสไตน์ 43%

จากการที่เกิดความขัดแย้งและการปะทะกัน เขาต้องสูญเสียการสนับสนุนจากสมาชิกหลักขององค์กร และ 11 นาที หลังจากสถาปนาอิสราเอล ก็ได้ให้การยอมรับรัฐอิสราเอล ด้วยข้ออ้างลัทธิ pragmatism

หลังจากช่วงเวลาตึงเครียดภายใต้การปกครองของ Dwight Eisenhower ในปี 1950 ในระหว่างที่เกิดรัฐประหารในอิหร่านที่ได้รับการสนับสนุนจากอเมริกา  ก็เกิดการแทรกแซงในเลบานอนและวิกฤตคลองสุเอซขึ้นมา  และความตึงเครียดในตะวันออกกลาง  ทำให้ จอน์น เอฟ เคนเนดี พยายามที่จะแก้ไขสถานการณ์ด้วยวิธีการที่เป็นมิตรและช่วยอิสราเอลในช่วงสงครามเย็นและสิ่งนี้ถือเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญของสหรัฐฯ

ในช่วงยุคของลินดอน จอห์นสัน    สหรัฐอเมริกามีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความไม่สงบภายในและสงครามเวียดนาม แต่ด้วยการเกิดสงครามหกวันในปี 1967  อเมริกาจำเป็นต้องให้ความสนใจกับอิสราเอล

ในช่วงสงครามหกวัน อิสราเอลสามารถยึดฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดน และฉนวนกาซา และยึดที่ราบสูงโกลานในประเทศซีเรียและยั่วยุให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงทางการทูต

จอห์นสัน ได้ประกาศให้เรือเดินสมุทรที่ 6 ของกองทัพเรือสหรัฐฯในทะเลเมดิเตอเรเนียนเตรียมพร้อม และประกาศสั่งให้อิสราเอลหยุดยิง เนื่องจากการกระทำของพวกเขาได้นำไปสู่การขยายตัวของอิทธิพลของสหภาพโซเวียตในภูมิภาค

เหตุการณ์ความรุนแรงได้กลับมายังภูมิภาคนี้อีกครั้งด้วยการตอบโต้การโจมตีของอียิปต์ ซีเรียและจอร์แดนที่มีต่ออิสราเอล ซึ่งเป็นวันสำคัญของชาวยิวใน Yom Kippur (ยัมคิปปูร์)เมื่อปี 1973

รัฐบาลของริชาร์ด นิกสัน เกิดการเผชิญหน้ากับอิทธิพลของสหภาพโซเวียตในภูมิภาคนี้อีกครั้ง ในที่สุดก็สามารถโน้มน้าวอิสราเอลให้ยอมรับเงื่อนไขและการเจรจา

ในการนี้ เฮนรี คิสซิงเจอร์  ในฐานะเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศสมัยประธานาธิบดีนิกสัน ได้เข้าสู่การเจรจาเพื่อยุติสงครามกับอิสราเอล ตลอดในปี 1974 และ 1975  เป็นข้อตกลงที่ทำให้ซีเรียถอนตัวออกจากสงครามYom Kippur (ยัมคิปปูร์)  และสันติภาพได้กลับคืนสู่ภูมิภาคนี้  แต่สำหรับประเด็นปาเลสไตน์ เขาไม่มีการตอบสนองใดๆ ต่อการเรียกร้องของยัสเซอร์อาราฟัต หัวหน้าองค์กรปลดปล่อยปาเลสไตน์ที่พยายามรวมกลุ่มผู้รักชาติชาวปาเลสไตน์

ในปี 1978 จิมมี คาร์เตอร์ ได้เข้าร่วมในการบรรลุข้อตกลงแคมป์เดวิด และปูทางให้ข้อตกลงสันติภาพอิสราเอล – อียิปต์ เกิดขึ้นในอีกหนึ่งปีต่อมา

ด้วยชัยชนะของการปฏิวัติอิหร่าน  ทำให้สหรัฐอเมริกาต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายอีกครั้ง และชาวอเมริกัน 63 คนถูกจับเป็นตัวประกันในสถานทูตอเมริกาในกรุงเตหะรานประเทศอิหร่าน  และพวกเขาทั้งหมดลูกปล่อยตัวยกเว้น 11 คนที่ถูกจับกุมตัวเป็นเวลา 444 วัน   และมีการปล่อยตัวพวกเขาในวันที่ประธานาธิบดีโรนัลด์เรแกน เข้ารับตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐอเมริกา  และประธานาธิบดีคาร์เตอร์ ได้ปฏิบัติหน้าที่ล้มเหลวอีกครั้งในปฏิบัติการตาบาส  (กTabas) ทำให้ต้องสูญเสียกองกำลังสหรัฐฯแปดนาย

สหรัฐอเมริกาภายใต้ประธานาธิบดี โรนัลด์ เรแกนได้เข้าแทรกแซงอีกครั้ง  เพื่อให้ยุติสงคราม หลังจากที่อิสราเอลรุกรานเลบานอนในเดือนมิถุนายน 1984  เพื่อฟื้นฟูความสงบเรียบร้อยให้กลับคืนมาหลังจากสงครามกลางเมืองเลบานอน

เรแกน ยอมให้เทลอาวีฟตั้งถิ่นฐานอยู่ในพื้นที่ที่หลายคนเชื่อว่าถูกยึดครองโดยผิดกฎหมาย  ดังนั้นจึงเป็นการพิสูจน์ถึงความสามัคคีและความเป็นหนึ่งของพวกเขากับอิสราเอล  แต่ในกรณีของ Iran Contra ในปี 1986 ด้วยการเปิดเผยการเจรจาของสหรัฐฯกับอิหร่าน และการขายอาวุธเพื่อแลกกับการปล่อยตัวประกัน  ซึ่งเขาในฐานะอดีตนักแสดงฮอลลีวูดได้สร้างเรื่องอื้อฉาวเกิดขึ้นในตะวันออกกลางและเปิดเผยตนเองว่าเขากำลังทำหน้าที่ขัดต่อพันธกรณีและข้อสัญญาที่ได้ให้ไว้

ขณะที่จอร์จบุช (ผู้พ่อ) ตกอยู่ในวังวนในสงครามอ่าวและอดีตเผด็จการอิรักที่บุกโจมตีคูเวต และไม่ค่อยมีส่วนเกี่ยวข้องในความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯกับอิสราเอลและปาเลสไตน์มากนัก    และรัฐบาลของบิลคลินตัน ก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับสนธิสัญญาสันติภาพออสโลปี 1993

การบรรลุข้อตกลงภายใต้รัฐบาลในปาเลสไตน์ในฝั่งตะวันตกแม่น้ำจอร์แดนและฉนวนกาซ่าโดยให้ชาวปาเลสไตน์มีอิสรภาพ  แต่ไม่ได้ตอบสนองต่อประเด็นพื้นฐาน เช่น สิทธิของผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์ในการกลับไปที่บ้านของพวกเขา ซึ่งครอบครัวของพวกเขาถูกขับไล่ออกไปในปี 1948 และประเด็นว่าด้วยอนาคตของการตั้งถิ่นฐานของชาวยิวหรือในตะวันออกของเยรูซาเล็ม

คลินตันด้วยความแข็งข้อของเขา ได้เรียกตัว เอ ฮุด แบร์ค นายกรัฐมนตรีอิสราเอลและ อาราฟัตเข้าสู่โต้ะเจรจาที่แคมป์เดวิดในเดือนธันวาคม 2000  แต่การประชุมสิ้นสุดลงโดยไม่มีการบรรลุข้อตกลงใดๆ

จอร์จบุช (ผู้ลูก) ซึ่งเหมือนกับพ่อของเขาได้เข้าสู่สงครามในภูมิภาค และหลังจากเหตุการณ์ 11 กันยายน เขาทำการบุกรุกและรุกรานอัฟกานิสถานและอิรักเพื่อต่อสู้กับตอลิบาน  สงครามกับการก่อการร้ายไม่ได้นำไปสู่สันติภาพและประชาธิปไตย แต่ในทางตรงกันข้าม อิสราเอลเข้าสู่สงครามภาคฤดูร้อนกับเลบานอน  อิรักถูกบังคับให้เข้าสู่สงครามกลางเมืองและฮามาสสามารถครอบครองฉนวนกาซ่าในปาเลสไตน์

บารักโอบามา ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก กรณีที่ไม่มีการเพิ่มแรงจูงใจให้กับนายกรัฐมนตรีอิสราเอล เบนจามิน เนทันยาฮู กับประธานาธิบดีมาห์มุดอับบาส ในการเจรจาและสร้างสันติภาพในตะวันออกกลาง   แต่ในวาระสุดท้ายก่อนสิ้นสุดตำแหน่งประธานาธิบดี เขากล่าวว่า “อิสราเอลต้องรู้ว่า  พวกเขาจะไม่สามารถอยู่อย่างถาวรและยังคงอยู่ในดินแดนของชาวปาเลสไตน์ เราทุกคนในฐานะที่เป็นผู้นำของโลก แทนที่จะให้การส่งเสริมและสนับสนุนแนวคิดเรื่องอัตลักษณ์ (อิสราเอล) แต่เรากลับชี้นำเพื่อลดความสำคัญของอัตลักษณ์ของประเทศอื่น ๆ ซึ่งเราต้องพยายามอย่างหนักเพื่อลดความสำคัญในเรื่องนี้”

โดนัลด์ทรัมป์ ไม่ได้ให้ความสำคัญต่อผู้นำปาเลสไตน์ ด้วยการย้ายสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯจากกรุงเทลอาวีฟไปยังเยรูซาเล็ม ในเดือนธันวาคม 2017  และยอมรับเยรูซาเล็มเป็นเมืองหลวงของอิสราเอล  นอกจากนี้เขายังได้ตัดเงินจำนวน 50 ล้านเหรียญสหรัฐให้แก่ชาวปาเลสไตน์ ผ่านทางสำนักงานผู้แทนผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์และบริษัทจัดหางาน

ดังนั้น  โอกาสที่เขาจะตระหนักถึง “ความฝันและความหวัง” ในการฟื้นฟูสันติภาพในภูมิภาคนี้และยุติความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมาอย่างยาวนานหลายทศวรรษ ” ดูช่างอีกยาวไกลยิ่งนัก….

Source: isna.ir