อิสราเอลได้ก่อสงครามในฉนวนกาซ่ามาสามครั้งแล้ว ซึ่งได้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อประชาชนในภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะต่อการละเล่นของเด็กๆชาวปาเลสไตน์
อิสราเอลได้โจมตีฉนวนกาซ่า ถึงสามครั้งด้วยกัน ในปี 2008, 2012 และ 2014 ซึ่งเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บหลายพันคน นอกเหนือจากผลกระทบทางวัตถุแล้ว ยังมีผลกระทบต่อสภาพจิตใจภายในของประชาชนส่วนใหญ่ในฉนวนกาซ่า และถือว่าจะส่งผลในระยะยาวอีกด้วย
ทั้งนี้ ในกลุ่มอายุผู้คนทั้งหมดนั้น บรรดาเด็กๆ คือกลุ่มอายุที่ได้รับผลกระทบทางจิตใจจากผลของสงครามเหล่านี้มากที่สุด แน่นอนการเห็นสมรภูมิรบ และเป็นพยานต่อเหตุการณ์เข่นฆ่าประชาชนผู้บริสุทธิ์โดยทหารอิสราเอล ย่อมฝังอยู่ในจิตใจของเด็กๆชาวปาเลสไตน์ไปตลอดชีวิต เด็กๆเหล่านี้ เติบโตขึ้นมาในสภาพแวดล้อมของความคิด และการเรียนรู้วิธีต่อสู้เพื่อยืนหยัดกับการกดขี่ ทำให้ภายในจิตใจของพวกเขา ถูกเติมให้เต็มไปด้วยกับการต่อกรกับอิสราเอลมาโดยตลอดเช่นกัน
เด็กๆชาวปาเลสไตน์นั้นไม่เหมือนกับเด็กๆในส่วนอื่นๆของโลก โดยพวกเขาเป็นเด็กที่ได้เห็นภาพของสมาชิกในครอบครัวหรือญาติของพวกเขาเสียชีวิตจากการโจมตีด้วยขีปนาวุธ และได้เห็นพ่อแม่ถูกจับกุมโดยทหารอิสราเอล ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้ทำลายชีวิตวัยเด็กอันสวยงามของพวกเขาไป และความสงบในจิตใจได้ถูกเข้ามาแทนที่ด้วยกับการข่มขู่ และการคุกคามต่างๆนานา
ดัชนีชี้วัดผลกระทบจากภาวะสงครามที่เกิดขึ้นกับเด็กๆชาวปาเลสไตน์ สามารถสังเกตุเห็นได้จากการละเล่นของพวกเขา ซึ่งเกมส์ที่ฮิตและนิยมมากที่สุดสำหรับเด็กปาเลสไตน์ คือเกมส์การต่อสู้ระหว่างอาหรับกับยิว
บางแหล่งข่าวของปาเลสไตน์ อธิบายว่า เด็ก ๆที่เล่นเกมส์นี้นั้น จะถูกแบ่งออกเป็นสองฝ่าย คือ ฝ่ายหนึ่ง จะเล่นเป็นกลุ่มทหารอิสราเอล ซึ่งสวมบทบาททหาร ถือปืน เพื่อยิงกับฝ่ายศัตรู ขณะที่อีกฝ่ายจะเล่นเป็นนักต่อสู้ชาวปาเลสไตน์ โดยมีก้อนหินเป็นอาวุธ สำหรับใช้ตอบโต้กระสุนปืนของฝ่ายตรงข้าม
เด็กบางคนที่ได้เล่นเป็นนักสู้ชาวปาเลสไตน์ ซึ่งต่อสู้กับอาวุธปืนของกองกำลังอิสราเอล จะแกล้งทำเป็นเสียชีวิตในท้ายที่สุดของการต่อสู้ ส่วนเด็กที่เหลือคนอื่นๆจะทำการแซ่ซ้องสดุดีนักต่อสู้ที่เสียสละชีวิต โดยการกล่าวคำขวัญ เช่น “ชีวิตและเลือดของเราขอมอบให้ท่าน โอ้ผู้เสียสละ”
เมื่อมองย้อนกลับไป เราพบว่าผู้นำการต่อสู้กับอิสราเอลในปัจจุบัน คือกลุ่มเด็กๆที่เคยเล่นเกมส์เดียวกันนี้ก่อนหน้านี้นั่นเอง
ตามรายงานยังระบุอีกว่า เกมส์นี้เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ช่วงแรกของการยึดครองปาเลสไตน์ วันนุกบาห์เดย์(al-Nukbah)และจนถึงขณะนี้ก็ยังเป็นที่นิยมในหมู่เด็กๆชาวปาเลสไตน์และยังได้รับการส่งต่อยังรุ่นสู่รุ่น
คำว่า “al-Nukbah”ตามหลักภาษาอาหรับนั้นหมายถึง โศกนาฏกรรม เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ในการยึดครองปาเลสไตน์เมื่อปี 1948 และการขับไล่ชาวปาเลสไตน์ออกจากบ้านเกิดมากกว่า 800,000 คน นี่ไม่ใช่เพียงสัญลักษณ์แห่งโศกนาฏกรรมเท่านั้น แต่ยังแสดงถึงความยากลำบากและภัยพิบัติที่เกิดขึ้นกับประเทศนี้ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาอีกด้วย
Source: iuvmpress