เว็บไซต์ข่าวและบทวิเคราะห์ของอเมริกา Huffington โดยเขียนบทรายงานในวาระคล้ายวันเสียชีวิต(ชะฮาดัต)ของอิหม่ามฮุสเซน (อ)ว่า : อิหม่ามฮูเซน(อ)เป็นผู้บุกเบิกการสู้รบกับไอซิส
ในรายงาน เขียนว่า “เมื่อศึกษาและพิจารณาหนังสือประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการปรากฏตัว และการแพร่ขยายของศาสนาอิสลาม เราจะเผชิญกับความเป็นจริงที่ว่า กระบวนการทั่วไปของศาสนา สามารถทำให้แต่ละบุคคลมีการเปลี่ยนแปลงทางความคิด
นอกจากนี้ ข้อเท็จจริงดังกล่าวยังเป็นแรงบันดาลใจและเป็นแรงผลักดันให้กับบรรดาผู้นำและนักคิดที่มีชื่อเสียงระดับโลก
ผลกระทบเชิงบวกเช่นนี้ แม้แต่มหาตมะ คานธี แห่งอินเดีย ยังได้กล่าวว่า หากอินเดียต้องการเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จ ควรจะก้าวเดินตามแบบอย่างของอิหม่ามฮุสเซน(อ)
เขายังกล่าวอีกว่า: “ฉันได้เรียนรู้จากอิหม่ามฮูเซน (อฺ) ถึงวิธีการได้มาซึ่งชัยชนะ ขณะที่ถูกอธรรมและถูกกดขี่”
Edward Gibbon (1737-1794) นักประวัติศาสตร์ที่โดดเด่นและเป็นสมาชิกรัฐสภาอังกฤษกล่าวว่า ฉากโศกนาฏกรรมของการเสียชีวิตของอิหม่ามฮุสเซน(อ) แม้จะผ่านไปเป็นเวลานานนับพันปี และแม้ว่ามันจะถูกสาธารยายในบรรยากาศที่แตกต่างกัน ทว่ามันสามารถก่อให้เกิดความเร่าร้อน ความเมตตาสงสาร ในความรู้สึกเศร้าโศกของประชาชนตลอดยุคสมัย และแม้แต่กับหัวใจที่ด้านชามากที่สุด
Charles Dickens นักเขียนชาวอังกฤษกล่าวถึงการลุกขึ้นต่อสู้ของอิหม่ามฮูเซน ว่า : ถ้าอิหม่ามฮูเซน(อ) ต่อสู้เพื่อความปรารถนาและความสุขของโลก (ดุนยา)แล้ว ฉันไม่เข้าใจว่าทำไมเขาจึงได้นำภรรยาและลูก ๆ ของเขาไปด้วย ดังนั้นเห็นได้ชัดว่าเขาเสียสละอย่างจริงใจและแท้จริงต่ออิสลาม
โทมัส คาร์ไลล์ นักคิดและนักประวัติศาสตร์ชาวสก๊อตแลนด์ กล่าวว่า “บทเรียนที่ดีที่สุดที่เราสามารถเรียนรู้ได้จากโศกนาฏกรรมแห่งกัรบาลา คืออิมามฮูเซน และสาวกของเขาเชื่อมั่นในการดำรงอยู่ของพระเจ้า พวกเขาแสดงให้เห็นว่า ความเป็นเลิศเชิงบุคคล มันไม่ใช่เรื่องสำคัญเมื่อความจริงและสัจธรรมเผชิญหน้ากับความอธรรมและความผิด ชัยชนะของฮุสเซนแม้ว่ามีสาวกชนที่น้อยนิด ทำให้ผมประหลาดใจ… !”
ผู้เขียนบทความนี้กล่าวต่อไปว่า: หลังจากที่ผู้ฟังได้อ่านคำพูดที่ทรงอิทธิพลเกี่ยวกับอิมามฮุสเซนแล้ว คำถามหนึ่งที่ยังคงต้องหาคำตอบคือ ฮุเซน คือใคร ?
จากนั้นอธิบายว่า “อิมาม” หมายถึงผู้ปกครองและผู้นำ เขาเขียนว่าอิมามฮุเซน เป็นบุตรคนที่สองของฟาติมา (ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์) บุตรีของท่านศาสดามูฮัมหมัด (ศ็อลฯ) เขาเกิดเมื่อวันที่ 10 มกราคม ค.ศ. 626 ที่เมืองมะดีนะฮ์ ซึ่งเป็นที่ได้ยินของผู้คนนับล้านทั่วโลกมาเป็นเวลานาน และเสียงนี้จะยังคงสะท้อนตลอดไป อิหม่ามฮุสเซนต้องจ่ายค่างวดราคาแพงในการสำแดงความหมายแห่งเสรีภาพ และต้องยอมพลีชีวิตตนเองและสมาชิกในครอบครัวของเขาเพื่อผดุงไว้ซึ่งสัจธรรม
หลังจากการสิ้นพระชนม์ของศาสดามูฮัมหมัด (ศ็อลฯ) ในปี ค.ศ. 632 ได้เกิดข้อพิพาทและความขัดแย้งระหว่างผู้นับถือศาสนาอิสลาม ทำให้เกิดนิกายต่างๆขึ้นมา ชาวมุสลิมบางกลุ่มให้เกียรติแก่ครอบครัวของท่านศาสดามูฮัมหมัด(ศ)มากกว่าสหายคนอื่น ๆ และอีกกลุ่มแสดงออกในทางกลับกัน
สงครามในการชิงความเป็นผู้นำเกิดขึ้นหลังจากการเสียชีวิตของท่านศาสดา ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากประเด็นทางการเมือง และการสืบทอดอันนี้ก็กลายเป็นระบบสืบสันติวงศ์ในเวลาต่อมา
หลังจากนั้นไม่นาน ไม่เกิน 50 ปีหลังจากการสิ้นพระชนม์ของศาสดามูฮัมหมัด(ศ) ราชวงศ์อุมัยยะฮ์ก็เข้ามามีอำนาจและครอบงำมุสลิม อิหม่ามฮุสเซนซึ่งเป็นหลานชายของท่านศาสดามูฮัมหมัด(ศ)ได้รับการพิจารณาว่าเป็นภัยคุกคามต่อราชวงศ์อุมัยยะฮ์ทั้งหมด เนื่องจากเขาได้ปฏิเสธที่จะให้สัตยาบันและความจงรักภักดีต่อ ยะซีด คอลีฟะห์ (ผู้ปกครอง) คนที่สองแห่งราชวงศ์อุมัยยะฮ์
เหตุผลที่อิหม่ามฮุสเซนไม่ให้การสัตยาบันกับยะซีด เนื่องจากอาชญากรรม การกดขี่ และการทุจริต ที่ยะซีดได้ปฏิบัติต่อชาวมุสลิมและผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมอย่างเปิดเผย ทำให้ครอบครัวและผู้สืบทอดทายาทของท่านศาสดามูหะหมัดมีสองทางเลือกเท่านั้น คือ: ให้การจงรักภักดี(สัตยาบัน)ต่อกาหลิบ(คอลีฟะห์)หรือความตาย
อิหม่ามฮุสเซนควรตัดสินใจ ถ้าให้การยอมรับและยอมให้การสัตยาบันกับยะซีด ไม่ต้องสงสัยแล้วว่ามันจะส่งผลให้ได้รับรางวัลที่ดีและชีวิตที่สะดวกสบาย แต่ถ้าปฏิเสธยะซีด ก็จะเป็นหนทางนำไปสู่ความตาย ทว่าสำหรับอิหม่ามฮุสเซน การตัดสินใจที่จะเลือกสิ่งถูกต้องและแน่วแน่นั้น ไม่ก่อให้เกิดความลังเลใดๆในเรื่องนี้ (นั่นคือเลือกความตาย)
ยะซีดได้ส่งจดหมายถึงมัรวาน ผู้เป็นญาติพี่น้องของเขา และบอกว่า: จงทำให้ฮุสเซนและสหายของเขาให้การสัตยาบันต่อฉันให้ได้ จงกระทำทุกหนทางเพื่อเอาการสัตยาบันจากฮุสเซน
ฮุสเซนปฏิเสธที่จะให้ความจงรักภักดีนี้ และกล่าวอย่างหนักแน่นว่า “ฉันจะไม่ให้การสัตยาบันกับบุคคลเยี่ยงยะซีดผู้ที่มีความต่ำต้อย อัปยศอย่างเด็ดขาด และฉันก็จะไม่หลบหนีเขาเหมือนกับทาส” ฉันไม่ได้มาเพื่อเผยแพร่ความชั่วร้าย ฉันต้องการพิทักษ์ปกป้องคุณค่าแห่งความดีงาม และยับยั้งสิ่งชั่วร้าย และการตัดสินใจครั้งสุดท้ายของฮุสเซน คือ การตายอย่างมีเกียรติ ย่อมดีกว่าการมีชีวิตอยู่อย่างอัปยศ
การตัดสินใจครั้งนี้ นำไปสู่การตัดศรีษะของอิหม่ามฮุสเซน และสาวกผู้ซื่อสัตย์ของเขาในสงครามที่กัรบาลาอฺในอิรัก ในวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 680 (10 เดือนมุฮัรรอม ฮ.ศ 61 ) ในการเผชิญหน้าครั้งนี้ อิหม่ามฮุสเซนถูกบังคับให้ต้องปกป้องตัวเองและสมาชิกในครอบครัวและสาวกของเขาจำนวน 72 คน ในการรบที่เสียเปรียบซึ่งกองทัพยะซีดมีพลทหารนับหมื่นคน ได้ฆ่าและสังหารพวกเขาอย่างโหดร้ายและทารุณ บุตรชายที่ป่วยของอิหม่ามฮุสเซน และน้องสาวของเขาชื่อซัยหนับ พร้อมเด็กๆและสตรีจากกองคาราวาน ถูกจับเป็นเชลยศึก และถูกนำตัวไปพร้อมศีรษะของอิหม่ามฮุเสเซนที่เสียบบนปลายหอกไปยังอิรักและซีเรีย
เว็บไซด์ดังกล่าวเขียนเสริมว่า วันนี้ชาวมุสลิมมากกว่า 20 ล้านคนและแม้แต่ชาวคริสเตียนจากทั่วโลกอิสลามได้เดินทางทุกปีและเดินทางเท้านับสิบ ๆ กิโลเมตรเพื่อไปย้งแผ่นดินแห่งการพลีของท่านอิมามฮูเซน นามว่า “กัรบาลา” เพื่อแสดงความเคารพ และให้เกียรติแก่อิหม่ามฮุสเซน และสาวกของเขาในวันครบรอบ 40 วันแห่งการเป็นชะฮีด (ถูกสังหารในหนทางแห่งพระเจ้า) หรือ วันอัรบาอีน ซึ่งการเดินทางเท้าแห่งวันอัรบาอีน ถือเป็นการชุมนุมทางศาสนาที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ดร. Razavi ผู้เขียนหนังสือ “การเสียสละที่เป็นเอกลักษณ์ของอิหม่ามฮุสเซนเพื่อมนุษยชาติ” กล่าวว่า : ถ้าการเผชิญหน้าเยี่ยงวีรชนของอิหม่ามฮุสเซนไม่ได้เกิดขึ้น ก็จะไม่มีอะไรหลงเหลืออยู่ในคำสอนอันบริสุทธิ์ของศาสนาอิสลามเลยแม้แต่น้อย ฮุสเซนทำให้อิสลามมีชีวิตชีวาอีกครั้ง และด้วยการเป็นชะฮีดของเขาสามารถคงรักษาคำสอนที่แท้จริงของศาสนาอิสลาม โลกอิสลามเป็นหนี้บุญคุณบุตรชายของฟาฏิมะฮ์ หลานชายแห่งท่านศาสดามุฮำหมัด (ศ็อลฯ) ผู้เป็นวีรบุรุษผู้หาญกล้า
ในตอนท้ายของรายงานได้ทำการเปรียบเทียบกระทำอันป่าเถื่อนของราชวงศ์อุมัยยะฮ์ในการตัดศีรษะของอิหม่ามฮุสเซน และสาวกของเขากับการกระทำอันป่าเถื่อนโหดร้ายของกลุ่มก่อการร้ายไอซิส โดยกล่าวว่า: ในความเป็นจริงเลือดสามารถมีชัยเหนือคมดาบ กลุ่มผู้ก่อการร้าย เช่นไอซิสที่กระทำความชั่วร้ายในนามของศาสนาอิสลามนั้น ไม่ควรได้รับการยอมรับจากผู้นำชาวมุสลิม ถ้าเราเรียนรู้บทเรียนแห่งวิถีชีวิตความซื่อสัตย์สุจริตและอิสรภาพของอิหม่ามฮุสเซนแล้ว มันจะดีกว่าสำหรับสถานการณ์โลกปัจจุบัน ในกัรบาลาอฺ อิหม่ามฮุสเซนแพ้สงคราม แต่ในความเป็นจริงเขาเป็นผู้ชนะ และนี่คือบทเรียนสำหรับการเผชิญหน้ากับผู้ก่อการร้ายและพวกสุดโต่งในปัจจุบัน
Source: iqna.ir