การประกาศเอกราชของเคอร์ดิสถานในอิรัก กับภัยคุกคาม 3 ประการต่อตุรกี  !

508

การประกาศเอกราชของเคอร์ดิสถานถือเป็นความเสี่ยงอย่างร้ายแรงต่อความมั่นคงและผลประโยชน์ของประเทศตุรกี นี่จึงเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้ผู้นำตุรกีรู้สึกกังวลมากกว่าประเทศอื่นๆ เกี่ยวกับการแบ่งแยกประเทศของชาวเคิร์ดในอิรัก

การเปิดให้มีการลงประชามติเพื่อประกาศเอกราชของเขตปกครองตนเองเคอร์ดิสถานแห่งอิรัก เมื่อปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา นำมาซึ่งการคาดการณ์ต่างๆนานาว่า เหล่าตัวละครในภูมิภาคนี้จะตอบสนองอย่างไร

ในห้วงขณะดังกล่าว ปฏิกิริยา และวิธีการเผชิญหน้าของตุรกีกลายเป็นจุดโฟกัส และเป็นประเด็นถกเถียงที่สำคัญเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ

นับตั้งแต่ปี 2009 ตุรกีและเขตปกครองตนเองเคอร์ดิสถานแห่งอิรัก เริ่มมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการเมืองที่แน่นแฟ้น และต่อเนื่องมาจนถึงวันลงคะแนนประชามติแยกประเทศในวันที่ 25 กันยายนที่ผ่านมา ระดับความร่วมมือระหว่าง ‘อังการา-เออร์บิล” สูงพอที่จะทำให้ผู้นำเคิร์ดหลายคนมีความเชื่อมั่นว่า ตุรกีจะให้ไฟเขียวและสนับสนุนต่อการลงประชามติหรืออย่างน้อยที่สุดก็จะนิ่งเฉยให้กับกระบวนการนี้ แต่ข้อเท็จจริงในภาคสนามกลับกลายเป็นการแสดงปฏิกิริยาอีกแบบหนึ่ง ที่ผู้มีอำนาจของเคิร์ดไม่คาดคิดมาก่อน

ในความเป็นจริง ตุรกีคือประเทศที่เป็นตัวละครที่โดดเด่นกว่าประเทศอื่นๆในภูมิภาค โดยเฉพาะประธานาธิบดี เออร์โดกัน ที่ออกมาต่อต้านการลงคะแนนเสียงครั้งนี้อย่างชัดเจน แม้แต่การลงประชามตินี้ได้กลายเป็นหัวข้อหลักของ 11 สุนทรพจน์ครั้งล่าสุดของเออร์โดกันนับตั้งแต่มีการเปิดลงประชามติโดยรัฐบาลเคอร์ดิสถาน (KRG)

นอกเหนือจากเออร์โดกันแล้ว  นายบินาลี ยิดริม นายกรัฐมนตรี และนายเมฟลุต คาวูโซกลู รัฐมนตรีต่างประเทศ ก็ได้ออกมาประกาศยืนยันว่า พวกเขาจะไม่นิ่งเฉยในการใช้มาตรการโต้ตอบไปยังการลงประชามติของชาวเคิร์ด และยังเปิดเผยชัดว่า ได้กำหนดตัวเลือกทางทหารเรียบร้อยแล้ว

ตอนนี้คำถามมีอยู่ว่า ทำไมตุรกีถึงต่อต้านการเป็นเอกราชของชาวเคอร์ดิสถานในประเทศอิรักมากกว่านักแสดงคนอื่น ๆ ? หรืออีกคำถามหนึ่งคือ  ภัยคุกคามประเภทใดที่สามารถท้าทายความมั่นคงของตุรกี หากเคิร์ดสามารถสร้างรัฐเอกราชของตนเองขึ้นมา  ?  ซึ่งคำตอบของประเด็นนี้สามารถเรียนรู้จาก 3 เหตุผลดังนี้  :

เสริมสร้างความแข็งแกร่งต่อฐานและยกสถานะด้านศักยภาพการปฏิบัติการของ PKK

แน่นอนว่า ความกังวลด้านความมั่นคงของตุรกีนับตั้งแต่ปี 1983 นั้น มีสาเหตุจากกลุ่มติดอาวุธ “พรรคแรงงานเคอร์ดิสถาน” (Kurdistan Workers’ Party – PKK) ที่ได้ก่อเหตุโจมตีในดินแดนของตุรกี ด้วยการเริ่มต้นของกิจกรรมที่ติดอาวุธของกลุ่มผู้ก่อการร้ายในปี 1983

อังการาได้พยายามทำลายพรรคนี้อยู่เสมอ แต่องค์กรนี้ดูเหมือนจะเพิ่มขีดความสามารถในการต่อสู้ตลอดช่วงเกือบสี่ทศวรรษของการสู้รบ   โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจากปี 1997 ซึ่งเป็นปีที่ PKK ต้องออกจากดินแดนซีเรียและไปตั้งรกรากในเทือกเขาคันดิล (Qandil) ทางตอนเหนือของอิรัก พวกเขามีความล้ำลึกเชิงกลยุทธ์และศักยภาพด้านการวางแผนมากขึ้นในการเผชิญหน้ากับอังการา

เพื่อยุติปัญหานี้อย่างสงบ รัฐบาลตุรกีได้เข้าเจรจากับทางการกับผู้นำทางการเมืองของรัฐบาลเคอร์ดิสถานตั้งแต่ช่วงกลางปีที่ 2000 และได้บรรลุข้อตกลงกับ Massoud Barzani ในการต่อสู้กับกลุ่มนี้  แม้จะมีการตีความเหล่านี้ทั้งหมดแต่ในสถานการณ์ปัจจุบัน ผู้ก่อการร้าย PKK ในเคอร์ดิสถานอิรักมีสถานะพิเศษในเทือกเขา Qandil และสถานการณ์เช่นนี้ หากพื้นที่ทางเหนือแห่งนี้ถูกแบ่งแยกออกจากอิรักอย่างเป็นทางการก็ยิ่งสร้างความแข็งแกร่งขึ้นสำหรับชาวเคิร์ด

ในความเป็นจริงแล้ว เคอร์ดิสถานที่เป็นรัฐเอกราชทางตอนเหนือของอิรัก ก็จะกลายเป็ฐานทัพอย่างเป็นทางการของ PKK และไม่อาจเข้าไปก้าวกายได้อย่างแน่นอน  ดังนั้นภัยคุกคามที่อันตรายที่สุดของรัฐเคิร์ดก็คือการเป็นสถานที่หลบซ่อนอย่างถาวรสำหรับกลุ่ม PKK บนเทือกเขา Qandil ในภาคเหนือของอิรัก  ในที่สุด ชาวเติร์กกังวลว่าพื้นที่ดังกล่าว จะกลายเป็นฐานสำหรับนักรบของ PKK ใน การขยายปฏิบัติการทางทหารต่ออังการา

กระตุ้นความต้องการแบ่งแยกดินแดนต่อชาวเคิร์ดตุรกี

ความเสี่ยงอีกประการหนึ่งของการมีรัฐเคิร์ดบนแนวพรมแดนของตุรกี คือ ความเป็นไปได้ที่ชาวเคิร์ดของตุรกีก็ต้องการที่จะแสวงหาเอกราช ไม่มีประเทศใดในภูมิภาคที่กลัวเรื่องนี้มากไปกว่าตุรกี ช่องว่างระหว่างอัตลักษณ์ของตุรกี-เคิร์ด ยังคงมีบทบาทมาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งรัฐตุรกีในปี 1924 อันที่จริง เคิร์ดของตุรกีพร้อมที่จะตอบโต้รัฐบาลกลางตลอดเวลา มีชาวเคิร์ด อยู่ในตุรกีประมาณ 15 ถึง 18 ล้านคน ซึ่งเป็นประชากรชาวเคิร์ดจำนวนมากที่สุด จากที่มีอยู่ในประเทศต่างๆ ในแถบเอเชียตะวันตก

หากชาวเคิร์ดอิรัก สามารถเป็นรัฐเอกราชได้ ผลที่ตามมาคือ มีสองปัจจัยที่สำคัญที่อาจทำให้เกิดแนวโน้มการแบ่งแยกดินแดนของพรรคเคิร์ดที่มีประชากรอยู่ในตุรกีประมาณ 18 ล้านคนที่มีแนวทางการเมืองที่รุนแรงในตุรกี แสวงหาเอกราช และการจัดตั้งรัฐเคอร์ดิสถานอิรัก ดังนั้นอังการาจึงมีความอ่อนไหวต่อปัญหาของชาวเคิร์ดภายในประเทศ

ความเสี่ยงที่อาจมีการขยายพื้นที่รัฐเคอร์ดิสถานเข้าไปยังตุรกี

ความท้าทายอีกอย่างหนึ่งคือ รัฐเอกราชเคอร์ดิสถานอาจจะให้การสนับสนุนชาวเคิร์ดที่อาศัยอยู่ในตุรกี แม้ว่านายมัสอูด บาซาร์นี ผู้นำรัฐเคอร์ดิสถานในอิรักจะได้ย้ำถึงความมุ่งมั่นที่จะหลีกเลี่ยงการแทรกแซง เพื่อสนับสนุนชาวเคิร์ดในประเทศอื่นๆ ทว่าในความเป็นจริงก็คือ บรรดาผู้นำชาวเคิร์ด ต่างฝันถึงรัฐเคอร์ดิสถานที่ “ยิ่งใหญ่กว่า”

ในหลายวาระที่พวกเขาได้พูดคุยเกี่ยวกับการสร้างประเทศเคิร์ดที่ครอบคลุม ทุกชนกลุ่มน้อยชาวเคิร์ดในประเทศต่างๆในภูมิภาคนี้ ในสถานการณ์เช่นนี้ การจัดตั้งรัฐเคอร์ดิสถานในทางเหนือของอิรักในอนาคตอันใกล้นี้จะกลายเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของประเทศตุรกี

หากชาวเคิร์ดอิรักผลักดันให้ชาวเคิร์ดตุรกีมาเข้าร่วมกับภูมิรัฐศาสตร์ของรัฐที่เพิ่งจัดตั้งขึ้นใหม่ เงื่อนไขต่างๆ อาจจะขยับไปสู่ความซับซ้อนตามกฎหมายระหว่างประเทศนั้น ตุรกีอาจไม่สามารถละเมิดอธิปไตยของชาติเอกราชได้ นั้นหมายความว่า หากเกิดการจัดตั้งรัฐใหม่ขึ้นมาด้วยชื่อเคอร์ดิสถานในภูมิภาคนี้แล้ว ทางผู้นำและเจ้าหน้าที่ของเคอร์ดิสถานที่ปราศจากพันธมิตรระดับภูมิภาคที่ใกล้ชิดก็จะหันไปเป็นพันธมิตรกับอิสราเอลและสหรัฐฯ และลงนามสนธิสัญญาด้านการทหารและการรักษาความปลอดภัยร่วมกัน และจะมีการอนุญาตให้จัดตั้งฐานทัพทหารของประเทศเหล่านี้ในอาณาเขตของตน

เมื่อเป็นไปตามขั้นตอนเหล่านี้แล้ว อำนาจทางการทหารของอังการาก็จะถูกปลด เมื่อต้องเผชิญหน้าเออร์บิล ดังนั้น รัฐเคอร์ดิสถานที่ยิ่งใหญ่จึงเป็นภัยอย่างมาก และที่แท้จริงต่อรัฐบาลตุรกี

ในภาพรวม เมื่อคำนึงถึงทั้งสามปัจจัยข้างต้นแล้ว สามารถกล่าวได้ว่า การประกาศเอกราชของเคอร์ดิสถานเป็นความเสี่ยงอย่างร้ายแรงต่อความมั่นคงและผลประโยชน์ของประเทศตุรกี นี่จึงเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้ผู้นำตุรกีรู้สึกกังวลมากกว่าประเทศอื่นๆ เกี่ยวกับเหตุการณ์แบ่งแยกประเทศของชาวเคิร์ดในอิรัก ภัยคุกคามที่อันตรายในสายตาของอังการา คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์ระยะสั้นของตุรกี จากการค้ากับ KRG และด้วยการรับรู้ถึงผลกระทบที่เป็นอันตรายจากการเป็นรัฐเอกราชของเคิร์ด ท่าทีของตุรกีจึงแข็งแกร่งมากขึ้นในการต่อต้านการลงประชามตินี้

همه‌ پرسی کردستان عراق و گسل فعال کردی در ترکیه